เมื่อพูดถึงวงการหนังสือญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน เชื่อว่าแทบทุกคนต้องรู้จัก “มูราคามิ” ผู้เป็นเสมือน “กระจกสะท้อนสังคม” ที่แนบเนียนและน่าหลงใหลที่สุด เพียงแต่ผมจะไม่มานั่งเล่าประวัติที่ทุกคนน่าจะรู้ กลับกันผมจะพูดถึงมุมมองที่ผมสัมผัสผ่านบริบทของมูราคามิแทน
โดยส่วนตัวผมเกิดและเติบโตในครอบครัวนักเขียน จึงใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางตัวอักษรโดยคุ้นชิ้นมาตั้งแต่เด็กเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันตนเองก็ยังคงอยู่ในวงการหนังสือ ดังนั้นจึงคิดว่าหากเราได้พูดถึงมุมทางด้าน “การอ่าน” ของฝั่งญี่ปุ่นบ้างก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นประโยชน์
และเมื่อพูดถึงวงการหนังสือญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน เชื่อว่าแทบทุกคนต้องรู้จัก “มูราคามิ” ผู้เป็นเสมือน “กระจกสะท้อนสังคม” ที่แนบเนียนและน่าหลงใหลที่สุด เพียงแต่ผมจะไม่มานั่งเล่าประวัติที่ทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้ว กลับกันผมจะพูดถึงมุมมองที่ผมสัมผัสผ่านบริบทของมูราคามิแทนแล้วกันครับ

“ถ้าคุณอ่านหนังสือเหมือนคนอื่น คุณก็จะคิดได้เพียงแต่สิ่งที่คนอื่นคิดเท่านั้น”
ผมขอเริ่มข้อเขียนด้วยประโยคสำคัญประโยคนี้ ถึงแม้จะเป็นประโยคสั้นๆ แต่นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง
“ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น (อาจรวมถึงสากลโลก) กำลังกลายเป็นผู้เรียนรู้เพียงแค่ความคิดของคนอื่น”
นั่นเพราะถึงแม้โลกจะเติบโตขึ้นในมุมกว้างและแต่ละคนมีอิสระ (Individual) แต่สุดท้ายแล้ว ชีวิตใน “โลกแห่งทุนนิยม” กลับถูกกำหนดด้วยค่านิยม (Value) บางอย่างที่ทำให้หลงระเริง หรือปิดกั้นความคิดของตนไปอย่างไม่รู้ตัว
[ad id=”61″]งานเขียนส่วนใหญ่ของมูราคามิ มุ่งเน้นไปเรื่องการตกต่ำของคุณค่าในตัวมนุษย์ ตลอดจนความไม่เข้าใจที่เหมือนจะเข้าใจ การแปลค่าสิ่งต่างๆ ที่ผิดพลาด (Lost in Translation) กล่าวคือปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีมากมายทำให้คนติดต่อกันง่ายขึ้น ง่ายจนบางคนกลับมองว่าการไม่ติดต่อคือความตั้งใจ บริบทเหล่านี้เองทำให้เกิดปัญหามากมายตามมาอย่างไม่น่าเชื่อ มูราคามิสอนให้มนุษย์หันมามองคุณค่าในตัวเองเสมอ นั่นเพราะนอกจากคนเราจะไม่ให้ค่ากับตัวเอง เรายังเป็น “ผู้ทำลายตนเอง” เสียด้วยซ้ำ

“ฉันยอมรับความเจ็บปวด ตราบใดที่มันยังมีความหมาย”
“มนุษย์ส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะรัก ผ่านความรักของผู้ที่รักตน”
โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่หลงรักถ้อยคำสวยๆ แบบนี้ครับ และมูราคามิก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้คำพูดเล่าเรื่องราวได้อย่างน่าติดตามเสมอ ว่ากันว่านักเขียนที่ดี คือผู้ที่ชี้ในสิ่งที่เราไม่เคยมองเห็น แต่รู้อยู่แก่ใจว่ามันมี ผมชอบคำถามที่เขาตั้งว่าทำไมคนเราถึงต้องเหงาขนาดนี้ เหงาจนเขาคิดว่าโลกถูกสร้างมาเพื่อสิ่งนั้น ตรงนี้ผมขอยกตัวอย่างไปถึงเรื่องที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นเคยเล่าให้ผมฟังสัก หน่อย เขาเป็นเพื่อนที่มาอยู่เมืองไทยด้วยกันสักพักใหญ่ๆ และเมื่อถึงวันที่จะต้องกลับญี่ปุ่น เขาก็ดูร้อนรนอย่างประหลาด ผมก็ถามถึงสาเหตุว่ามันเป็นเพราะอะไร? คำตอบที่ได้รับนั้น เป็นเหมือนบริบทที่เอาไว้อธิบายเรื่องราวในหนังสือของมูราคามิเลยล่ะครับ เขาบอกว่า…
“ฉันยอมรับว่าบางทีก็รู้สึกหงุดหงิดกับความไร้ ระเบียบ ไร้แบบแผน รักสนุกของคนไทย แต่สิ่งหนึ่งที่เขาสัมผัสได้อย่างชัดเจนก็คือมันเป็นความรักที่สัมผัสได้ มากกว่า แน่นอนว่าเขาไม่ได้กล่าวโทษวัฒนธรรมในสังคมญี่ปุ่น เด็กญี่ปุ่นรับผิดชอบตัวเองได้เร็วกว่าคนไทยตามความคิดของเขา แต่บางทีคนญี่ปุ่นก็แสวงหาความรักที่สัมผัสได้ง่ายๆ เหมือนกัน”
ตอนนี้เพื่อนผมก็กลับญี่ปุ่นไปแล้ว แต่ผมก็ยังคงคิดถึงสิ่งที่เขาพูดอยู่เสมอ เพราะถ้ามองลึกลงไปเราก็จะเห็นว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีบุคคลหลากหลายประ เภทมากๆ ทั้งคนที่เป็นโอตาคุ วันๆ หลงรักตัวการ์ตูนในทีวี หรือบางคนก็เป็นพวกเก็บตัวอยู่ในห้องเงียบๆ นั่นคือสิ่งที่น่าสงสัยว่า
แท้จริงเขาค้นหาอะไร? แท้จริงเขาต้องการอะไร? และที่สำคัญที่สุด “สิ่งที่เขากำลังทำ จะให้คำตอบเขาได้รึเปล่า”

จะด้วยบริบทของสังคมหรืออะไรก็แล้วแต่ ถือเป็นความโชคดีของคนญี่ปุ่นที่ยังมีเวลาว่างพอให้อ่านหนังสือ อย่างน้อยก็ระหว่างการเดินทางบนรถไฟ (หวังว่าเรื่องนี้จะไม่ถูกทำลายไปด้วยการเติบโตของสมาร์ทโฟน) ธุรกิจหนังสือของญี่ปุ่นยังคงใหญ่มากๆ และก็พยายามหาพรีเซนเตอร์มาให้เด็กๆ ซื้อหามา ไม่ว่าจะเป็นหนังสือการ์ตูนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังโดดเด่นในเรื่องหนังสือ Self-Help เพื่อการพัฒนาตัวเอง และที่โดดเด่นที่สุดคือเรื่องของ “หนังสือการเลี้ยงลูก” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะแค่เด็กอ่อนเท่านั้น แต่หมายถึงการจะเลี้ยงลูกอย่างไรให้เขาเติบโตไปในทางที่ไม่เปลี่ยวเหงาและ งดงาม หนังสือญี่ปุ่นจึงเป็นบริบทใหญ่ที่สำคัญมากๆ ในการต่อสู้กับการเติบโของโลกทุนนิยม
จริงๆ แล้วมุมมองของหนังสือญี่ปุ่นยังมีอีกมาก ไว้มีโอกาสจะนำมาเล่าให้ฟังครับ
ติดต่อผมได้โดยตรงทางทวิตเตอร์ @pumiiiiiiiiii ครับ