รีวิวหนังสือวัฒนธรรมเบสบอล ในวงการเบสบอลญี่ปุ่น ก็มีประมาณศึกวันแดงเดือด เหมือนวงการฟุตบอลอังกฤษ (ลิเวอร์พูล vs แมนยู) อยู่เหมือนกันนะ ไปรู้จักกับสองทีมนี้กัน!
หากใครดูบอล คงพอทราบว่า ทีมหงษ์แดง ลิเวอร์พูล และ ปีศาจแดง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นเสมือนคู่ปรับ ในวันที่พวกเขาเตะบอลแข่งกัน ต้องเรียกกันว่า “วันแดงเดือด” เลยทีเดียว
ในญี่ปุ่นนั้น ก็มีอะไรที่เป็นลักษณะคล้ายๆ กัน ซึ่งก็คือทีมเบสบอล ฮันชินไทเกอร์ (Hanshin Tigers) และ โยมิอุริไจแอ้นท์ (Yomiuri Giants)
ผู้คนต่างเรียกชื่อทีมเหล่านี้กันย่อๆ ว่า ฮันชิน และ เคียวจิ้น (巨人 แปลว่า ยักษ์ หรือ Giants จากชื่อทีม โยมิอุริ ไจแอ้นท์)
ข้าพเจ้าเพิ่งได้อ่านหนังสือที่เขียนขึ้นมาจากบทสนทนาของอดีตนักกีฬาของสองทีมนี้ คะเคะฟุ และ เอะกะวะ

เอะกะวะ ซุกุรุ (江川卓) เป็นอดีตพิชเชอร์ทีมเคียวจิ้น ได้ชื่อว่าเป็น เอส ของทีม ซึ่ง “เอสของทีม” ซึ่งหมายความว่าเป็นพิชเชอร์ที่เก่งที่สุดของทีม

คะเคะฟุ มะซะยุคิ (掛布雅之) เป็นบัตเตอร์ (batter) ของทีมฮันชิน และเป็น บัตเตอร์ลำดับ 4 ของทีม ซึ่ง “บัตเตอร์ลำดับ 4” ซึ่งหมายความว่าเป็นบัตเตอร์ที่ตีเก่งที่สุดของทีม
ทั้งคู่เสวนากัน และกลั่นกรองว่า ทำไมสองทีมนี้เปรียบเสมือนคู่ปรับกันมาตลอด
หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า …
巨人-阪神論
[เคียวจิ้น ฮันชิน รน] หรือ
บทเสวนาเคียวจิ้น ฮันชิน
การมีหนังสือที่ถกเถียงเรื่องของเบสบอลออกมานั้นได้แสดงถึงวัฒนธรรมเบสบอลอันยาวนานในญี่ปุ่น …เท่าที่อ่านหนังสือเล่มนี้ก็มีการอธิบายเหตุการณ์ในอดีตที่น่าสนใจ กล่าวคือ ฮันชินมีสนามบ้านเป็นสนามโคชิเอ็งที่เปรียบเสมือน ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของเบสบอล ม.ปลายญี่ปุ่น นักกีฬาหลายคนที่มาแข่งที่โคชิเอ็งก็จะเกร็งหน่อยๆ ส่วนเคียวจิ้น เป็นทีมในอดีตที่มีโอกาสได้ฉายถ่ายทอดสดเบสบอลออกรายการทีวีทั่วประเทศ จากสถานีโยมิอุริของเจ้าของทีม ทำให้ได้มีโอกาสสร้างแฟนๆ ของทีมทั่วประเทศ
การต่อสู้ของสองทีมนี้จึงให้มีความรู้สึกของการต่อกรระหว่างภูมิภาค Kanto – โตเกียว (เคียวจิ้น) กับ ภูมิภาค Kansai – โอซาก้า (ฮันชิน)
ในการแข่งขันเบสบอลนั้นก็มีดราม่าเกิดขึ้นหลายครั้งระหว่างเอะกะวะกับคะเคะฟุ โดยพวกเขาพร้อมจะดวลเบสบอลกันตรงๆ ใน Stirke zone พร้อมเข้าแลกกันเลยทีเดียว เพื่อความสนุกของคนดู ซึ่งในเวลาที่สองคนดวลกัน คะเคะฟุบอกว่าเขาจะไม่หวดลูกแรก บอกว่าหากรีบตีจนฮิตไป เดี๋ยวคนดูเบสบอลไม่ทันได้สนุก พวกเขาอุตส่าห์มาดูกัน
คะเคะฟุตีโฮมรันจากเอะกะวะได้ หลงเหลือเป็นความทรงจำอันแสนขมขื่นของเอะกะวะ
ในบางครั้ง เมื่อเอะกะวะขว้างลูกเบสบอลดวลกับคะเคะฟุ จนคะเคะฟุเองหวดวืดไป 3 ครั้งกลายเป็นทรีไสตร์คแบตเตอร์เอ้าท์ แต่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ค่อยได้หลงเหลือในความทรงจำของคะเคะฟุสักเท่าไร โดยคะเคะฟุบอกว่า บัตเตอร์จะมักจำได้เฉพาะเวลาที่ตัวเองตีลูกได้ แต่เวลาตีวืดจะไม่จำ
ส่วนเอะกะวะบอกว่า เขามักจะจำได้เมื่อเวลาโดนคนอื่นตีลูกได้ แต่เวลาที่ตัวเองขว้างได้ดีคนอื่นตีไม่โดน เขากลับไม่มีความทรงจำหลงเหลืออยู่ ดังนั้นเมื่อครั้งที่ผู้จัดการทีมบอกให้เอะกะวะขว้างโฟร์บอลหลบผู้ตีเก่งๆ คนอื่น เอะกะวะรู้สึกโมโหจนต้องขว้างลูกเร็วๆ ให้แคชเชอร์รับ
ในสมัยที่ เอะกะวะ และ คะเคะฟุ ยังเล่นเบสบอลอยู่นั้น นักกีฬาเบสบอลจะไม่พูดคุยกับคนทีมอื่นสักเท่าไร เพราะเกรงว่าหากอีกฝ่ายรู้จักตัวเองมากไป จะถูกอ่านเกมจิตวิทยาจากอีกฝ่ายได้ เมื่อทั้งคู่เลิกเล่นและได้มาพูดคุยกัน ทั้งเอะกะวะและคะเคะฟุจึงพบว่าทั้งสองคนมีอะไรคล้ายกันในแง่เบสบอล ที่พร้อมดวลกันซึ่งๆ หน้า
แม้เวลาผ่านมายุคปัจจุบัน เบสบอลก็ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่นี้ก็คือสิ่งที่สังคมเสวนาและมองย้อนกลับไปญี่ปุ่นในยุคสมัยนึง
เรื่องแนะนำ :
– มุราคามิสามคนมุราคามิสามคน
– ธุรกิจสร้างสุข (The Business for Happiness: Japanese Style)
– Kochi Ice ไอศกรีมซอร์เบท อันดับหนึ่งที่ผลิตจากวัตถุดิบโคจิสู่ตลาดโลก
– Ikigai ของจิโร่ เทพแห่งซูชิ
– Kodawari มุ่งมั่น ตั้งใจ ทำให้ดีที่สุด
– แค่ใช้คำให้เป็น พูดไม่ต้องเก่งก็พลิกสถานการณ์ได้