สิ่งหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยเข้าใจคนไทยคือการเปลี่ยนงานค่อนข้างบ่อย เพราะพนักงานบริษัทที่เป็นคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนงานและจะทำงานที่เดียวตลอดชีวิตโดยร่วมเป็นร่วมตายกับบริษัท เพราะหากเปลี่ยนงานอาจจะถูกคนอื่นมองว่าไม่มีความอดทน
สวัสดีอีกครั้งค่ะ อาทิตย์ที่ผ่านมาได้เจอรุ่นพี่ที่เป็นตัวแม่ในวงการฝ่ายบุคคลบริษัทญี่ปุ่น เลยได้มีโอกาสสอบถามถึงเทคนิคการสัมภาษณ์ให้ได้งาน แฟนๆ marumura สามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการมัดใจผู้สัมภาษณ์ได้เลยค่ะ
เริ่มกันตั้งแต่การเตรียมเรซูเม่หรือประวัติการทำงานค่ะ ควรจะเขียนให้กระชับได้ใจความ (เขียนแบบเรียงความไม่เอานะคะ) และก็ควรจะเขียนให้เป็นขั้นเป็นตอน อ่านเข้าใจง่าย มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง รุ่นพี่ดิฉันเล่าให้ฟังว่าเจ้านายชาวญี่ปุ่นมักจะให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ และจะไม่ชอบเลยหากเขียนช่วงเวลาสลับไปมาหรือผิดๆ ถูกๆ เช่น เรียนจบปี 2015 แต่เริ่มทำงานปี 2013 หรือบางคนอาจเขียนช่วงเวลาการทำงานสองแห่งที่ทับซ้อนกันซึ่งอาจสร้างความ งงงวยให้กับผู้สัมภาษณ์ และแสดงให้เห็นถึงความไม่รอบคอบในการให้ข้อมูล
ในการสัมภาษณ์ตำแหน่งที่สำคัญ ผู้บริหารมักสังเกตุผู้สมัครตั้งแต่การแต่งกาย กิริยามารยาท บุคลิกลักษณะ การแนะนำตัว เราจึงควรเรียนรู้มารยาทที่ดีตั้งแต่เริ่มก้าวเท้าเข้าประตูห้องสัมภาษณ์ การทักทายผู้สัมภาษณ์ด้วยความเคารพ
มีสิ่งหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยเข้าใจคนไทยคือการเปลี่ยนงานค่อนข้างบ่อย เพราะพนักงานบริษัทที่เป็นคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนงานและจะทำงานที่เดียวตลอดชีวิตโดยร่วมเป็นร่วมตายกับ บริษัท เพราะหากเปลี่ยนงานอาจจะถูกคนอื่นมองว่าไม่มีความอดทน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อลาออกจากบริษัทหนึ่ง บริษัทอื่นก็ไม่อยากรับเข้าทำงาน (แต่ในปัจจุบันคนญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มเปลี่ยนงานมากขึ้นเนื่องจากมีบริษัทต่าง ชาติมาเป็นตัวเลือกมากขึ้นค่ะ)
สำหรับบริษัทญี่ปุ่นเองก็มีระบบ เพื่อเอื้อต่อวัฒนธรรมดังกล่าวคือ ระบบจ้างงานตลอดชีวิต โดยปกติจะไม่มีการไล่พนักงานออกหากไม่ได้อยู่ในสถานการณ์เลวร้ายจริงๆ และระบบยิ่งอยู่นานจะยิ่งได้เงินเดือนเยอะ ดังนั้นการสัมภาษณ์จึงค่อนข้างโหด เพราะเขาคาดหวังว่าหากรับคนๆ นี้เข้ามาแล้ว นั่นหมายความว่าเขาจะต้องร่วมหัวจมท้ายกับคนๆ นี้ไปตลอด สำหรับท่านที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ควรเตรียมคำอธิบายไว้ให้ดีนะคะ เพื่อโน้มน้าวให้เข้าใจว่าสาเหตุการเปลี่ยนงานนั้นสำคัญจริงๆ
คนญี่ปุ่นชอบคนที่มีลักษณะจริงใจ ไม่เสแสร้งและเป็นตัวของตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่ามั่นใจจนเกินงาม เพราะโดยธรรมชาติชาวญี่ปุ่นมักจะอ่อนโน้มถ่อมตน ผู้สัมภาษณ์ชาวญี่ปุ่นมักเปิดโอกาสให้แนะนำตัวเอง โดยเราสามารถนำเสนอความสามารถของเราอย่างชัดเจน แต่ไม่เว่อร์จนเกินไป สิ่งที่จะเพิ่มคะแนนในการสัมภาษณ์ให้ได้ก็คือ เราควรจะแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจจริงและความพยายามในการทำงานให้ผู้สัมภาษณ์ เห็น โดยส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นจะมองที่ความกระตือรือร้นของผู้สมัครและแรงบันดาลใจใน การทำงานมากกว่าความสามารถเฉพาะบุคคล เพราะชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าความสามารถในการทำงานสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ทัศนคติต่างหากเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หากทักษะและคุณสมบัติของคุณน่าสนใจแล้วรับรองว่ามีโอกาสได้งานอย่างแน่นอน ค่ะ
นอกจากนี้คำถามในการสัมภาษณ์มักมีการให้อธิบายบางอย่างที่เป็น ขั้นเป็นตอน เช่น ให้อธิบายขั้นตอนการนำเข้าส่งออกโดยละเอียด หรือให้อธิบายแผนผังองค์กรที่เคยทำมา หัวหน้างานคือตำแหน่งใด เราทำหน้าที่อะไร มีลูกน้องกี่คนเป็นต้น รวมถึงคำถามเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสียของคุณ หรือว่าให้เล่าเหตุการณ์ที่คุณประทับใจในการทำงานให้สำเร็จ หรือให้เล่าถึงความล้มเหลวที่คุณเคยผ่านมา และคุณข้ามผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร หากคุณแสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่ดีในการจัดการปัญหาแล้วละก็ โอกาสก็อยู่ไม่ไกล เราควรตอบคำถามอย่างชัดเจนและตรงประเด็น ไม่เบี่ยงเบียนไปมา
ชาวญี่ปุ่นจะภาคภูมิใจในบริษัทของตัวเองมาก ดังนั้นผู้สัมภาษณ์บางท่านยังอาจถามถึงสินค้าและบริการของบริษัท เพื่อจะตรวจสอบว่าผู้สมัครให้ความสนใจมากแค่ไหน เราจึงควรทำการบ้านโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของบริษัทไปล่วงหน้า ประสบการณ์ของตัวดิฉันเอง เคยถูกถามว่า “ทราบไหมว่าปรัชญาของบริษัทเราคืออะไร” ดีนะคะที่ดิฉันอ่านไปก่อน มิฉะนั้นอ่านจะไม่รอด
การทำงานกับชาวญี่ปุ่นนั้น อาจจะต้องเข้าใจไว้สักนิด เพราะคนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ดังนั้นในบางครั้งถึงแม้โอกาสความสำเร็จที่เรามองเห็นในการทำโปรเจ็คบางอ ย่างอาจดูริบหรี่ แต่คนญี่ปุ่นก็จะลงมือทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อะไรบางอย่าง เขาจะปรับเปลี่ยนวิธีการไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำสำเร็จ
สำหรับคนญี่ปุ่นความสามารถเฉพาะตัวอาจไม่ดีพอเท่ากับการตั้งใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ และพยายามลงมือทำอะไรสักอย่างโดยไม่เกี่ยง เรียกได้ว่าแบบ Mr. Yes นั่นแหละค่ะ ถูกใจคนญี่ปุ่นยิ่งนัก