ASCII ART (アスキーアート) คือ ศิลปะที่เกิดจากการใช้อักขระต่างๆ ทั้งตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นภาพๆ หนึ่ง นิยมใช้กันแพร่หลายในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ มีตัวอักษรย่อสำหรับ ASCII ART ว่า AA (เป็น KY語 คำหนึ่ง)
หลายๆ คนที่ใช้เวลาว่างบนโลกออนไลน์คงจะเคยเห็นสัญลักษณ์สื่ออารมณ์เหล่านี้กันบ่อยใช่ไหมคะ ตามคำเรียกแบบฝรั่ง เขาเรียกกันว่า Chat Emoticon หรือ Emoticon เฉยๆ ก็ได้ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์ระหว่างคุยกันผ่านโลกออนไลน์
เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเห็นหน้าหรือได้ยินเสียงซึ่งกันและกัน เลยทำให้ในบางกรณี Emoticon เป็นสิ่งเดียวที่สื่ออารมณ์ออกมาผ่านตัวหนังสือได้
แล้วถ้าเป็นแบบนี้ล่ะ
เราขอเดาว่าทุกคนคงเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว นี่คือ Emoticon สไตล์ญี่ปุ่น ในประเทศญี่ปุ่นเขาเรียกกันว่า顔文字 (kaomoji) หรือ Facemarks แปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า อักษรใบหน้า-สัญลักษณ์ใบหน้า อย่างที่เห็นจากตัวอย่างด้านบนค่ะ
ภาพใบหน้าสื่ออารมณ์ (ยาวๆ) เหล่านี้ แน่นอนว่ามันเกี่ยวข้องกับศิลปะรูปแบบหนึ่งที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไป เป็นการต่อยอดจากสัญลักษณ์แทนใบหน้าบรรทัดเดียวไปสู่ภาพที่ใหญ่กว่าและกินเนื้อที่หลายบรรทัด นั่นคือศิลปะรูปแบบที่เกิดจากแป้นพิมพ์ หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า “แอสกีอาร์ต アスキーアートASCII ART”นั่นเอง
ASCII แอสกี คืออะไร?
ถ้าไม่ใช่คนที่เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาโดยตรงอาจมีน้อยคนนักที่รู้จักคำนี้ ถ้าให้อธิบายอย่างง่ายๆ ASCII (เรียกกันโดยทั่วไปว่าแอสกี) ย่อมาจาก American Standard Code for Information Interchange แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยตัวอักษรละติน เลขอารบิค เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65(เลขฐานสิบ) แทนตัวอักษร A รหัส 97 (เลขฐานสิบ) แทน a เป็นต้น
ASCII ART (アスキーアート) คือ ศิลปะที่เกิดจากการใช้อักขระต่างๆ ทั้งตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นภาพๆ หนึ่ง นิยมใช้กันแพร่หลายในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ มีตัวอักษรย่อสำหรับ ASCII ART ว่า AA (เป็น KY語 คำหนึ่ง)
ที่เรียกกันว่า ASCII ART เพราะก่อนที่จะมาเป็นภาพแบบแปลกพิสดารซับซ้อน มันมาจากความเรียบง่ายคือใช้แค่รหัสแอสกีธรรมดาๆ ในการเขียน เช่น 🙂 (หน้ายิ้ม) 🙁 (หน้าบึ้ง) แต่หลังจากนั้นมา ก็เริ่มมีการใช้ภาษาอื่นๆ เข้ามาปะปน อย่างตัวอักษรของภาษาญี่ปุ่นก็จะเป็นโค้ดที่เรียกว่า Shift_JIS ซึ่งในบางทีก็มีคนญี่ปุ่นตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าเรียกเป็น Shift JIS ART(シフトJISアート) ไปเลยน่าจะถูกต้องกว่า แต่สุดท้ายแล้วคำว่า ASCII ART ก็ยังคงแพร่หลายที่สุดในสังคมญี่ปุ่นค่ะ เพราะการใช้รหัสแอสกีง่ายๆ นั้นคือจุดเริ่มต้นของการเกิดศิลปะแบบนี้นั่นเอง (และเพราะเรียกง่ายกว่าด้วย)
ความยากของศิลปะชนิดนี้คือ การนำสัญลักษณ์ ตัวอักษรต่างๆ มารวมกันเป็นภาพให้คนดูทั่วไปมองออกว่า“นี่คือภาพอะไร” ในการวาดภาพๆ หนึ่งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงเลยก็มี ซึ่งก็แล้วแต่ความละเอียด ความสมดุล ความสวยงามตามที่ผู้วาดต้องการ



จากภาพตัวอย่างเล็กน้อย เราก็คงจะพอเดาคอนเซปต์ของ ASCII ART กันได้แล้วนะคะ
ถ้าใครสนใจจะดูภาพศิลปะจากแป้นคีย์บอร์ดเหล่านี้เพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://kaomoji-cafe.jp/ (เน้นตรง Facemarks และมี ASCII ART อยู่บ้าง) และhttp://www.aadayo.com/ (รวมแอสกีอาร์ตหลายหมวดหมู่ทั้งคนมีชื่อเสียง การ์ตูน ฯลฯ)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ:
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://ja.wikipedia.org/wiki/
http://e-words.jp/w/
http://d.hatena.ne.jp/keyword/AA
http://dic.nicovideo.jp/a/