เขาก็เปิดโอกาสให้ผมถามคำถามอะไรก็ได้ที่คิดว่าตัวเองกำลังกังวลมากที่สุด สิ่งที่ผมถามไปในตอนนั้นคือ “ทำงานอย่างไรไม่ให้พลาด” มันเป็นคำถามที่ค่อนข้างยากครับ แต่หัวหน้าชาวญี่ปุ่นก็อธิบายให้ผมฟังได้อย่างน่าสนใจซึ่งผมขอหยิบยกมาให้ผู้อ่านได้สัมผัสกัน
การทำงานกับคนญี่ปุ่นมีแนวคิดอย่างหนึ่ง ที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งผมได้เรียนรู้มาในระหว่างที่มีการสัมมนาหรือการพูดคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ ในวงการธุรกิจญี่ปุ่นตามสายงานบันเทิงที่ผมทำอยู่
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ผมเดินทางไปพบหัวหน้าชาวญี่ปุ่นครั้งแรกที่โตเกียว ตอนนั้นผมยังเป็นเด็กใหม่มากๆ ในวงการ และเขาก็เปิดโอกาสให้ผมถามคำถามอะไรก็ได้ที่คิดว่าตัวเองกำลังกังวลมาก ที่สุด
สิ่งที่ผมถามไปในตอนนั้นคือ “ทำงานอย่างไรไม่ให้พลาด” มันเป็นคำถามที่ค่อนข้างยากครับ แต่หัวหน้าชาวญี่ปุ่นก็อธิบายให้ผมฟังได้อย่างน่าสนใจซึ่งผมขอหยิบยกมาให้ผู้อ่านได้สัมผัสกัน

การทำงานยิ่งมากขึ้น ยิ่งสูงขึ้น เส้นทางย่อมเปิดมากขึ้น หรือเอาเข้าจริงไม่ต้องรอถึงตอนที่เราตำแหน่งสูงขึ้นหรอกครับ แม้แต่ตอนที่เราย่ำแย่ผิดพลาด มันก็จะมีอีกเส้นทางหนึ่งที่เปิดออกมาให้เราเลือกเดินแล้วอาจจะสบายขึ้น โดยที่ทำให้คุณภาพในการทำงานลดลง
ตรงนี้หัวหน้าสอนผมว่า เราต้องเดินให้ตรง เราต้องเอาเป้าหมายไว้เป็นหลัก เราสามารถหาบางสิ่งบางอย่างมาเติมความสุขให้กับเส้นทางนั้น “แต่คุณจะต้องไม่เลี้ยวอย่างเด็ดขาด” เขาบอกว่าคนญี่ปุ่นค่อนข้างเครียด เพราะเขาจะยึดถึงเป้าหมายตลอดเวลาจนบางครั้งอาจกลายเป็นความก้าวร้าวและไร้ หัวใจ (อย่างเช่นกรณีญาติป่วยญาติเสีย คนญี่ปุ่นบางคนถือว่าเป็นเรื่องรองจากการทำงานนะครับ เหตุผลนี้บางทีไปบอกที่ทำงานยังโดนต่อว่ากลับมาเลย) คนไทยหลายคนติดแนวคิดที่ว่า “ขอเลี้ยวสักนิดหนึ่ง แต่เดี๋ยวจะวกกลับมาทางเดิม” ตรงนี้แหละคนญี่ปุ่นมองว่าเป็นปัญหาหลักเลยที่ทำให้เราอาจจะเสพติดความสบาย ไปโดยไม่รู้ตัวและทำให้ดึงตัวเองกลับเข้าสู่เส้นทางที่ถูกต้องได้ยากครับ

เรื่องต่อมาคือเราต้องเคารพในคนที่สูงกว่า นั่นเพราะคนญี่ปุ่นเชื่อมั่นว่าการมอบหมายตำแหน่งให้แต่ละคนนั้นหมายความว่า พวกเขามีหน้าที่ที่จะต้องกำกับดูแล รวมถึงปกป้องคนที่อยู่ด้านล่างในสายของตนลงไป
ดังนั้นการที่เราเชื่อหรือรับฟังความเห็นของพวกเขา ย่อมหมายถึงว่า “เราจะมีเกราะป้องกันตนเอง” ไปโดยปริยาย วิธีการทำงานตรงส่วนนี้จะไม่ยาก หากเราเปิดใจรับโดยไม่ต่อต้าน “แต่” ส่วนใหญ่แล้วปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก เราะจะเริ่มรู้สึกมั่นใจในตนเอง เราจะเริ่มรู้สึกว่าผู้ที่คอยดูแลเราเริ่มเจ้ากี้เจ้าการ เริ่มจู้จี้จุกจิก และเกิดความคิดที่ว่า “เราอยากทำเองดีกว่า” นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้เราเดินผิดทาง และมันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเพราะการทำสิ่งที่นอกเหนือจากหน้าที่ที่ตกลง กันนั้นย่อมผิดกฎของบริษัท
เหตุนี้การทำงานที่ “อาจจะถูกกว่าและดีกว่า” จึงจะถูกตีค่าเป็น “ผิด” ตั้งแต่เริ่ม และมันจะทำให้ “เกราะ” ที่คอยปกป้องเราอยู่ตลอดสั่นคลอนหรือหายไป เมื่อเป็นแบบนี้ โอกาสในการทำงานต่อในบริษัทนี้ก็จะลดน้อยลงไปอย่างน่ากังวลเลยครับ
สิ่งต่อมาซึ่งผมถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่อง “ความเชื่อใจ” อันนี้คือสิ่งที่จะคอยปกป้องและคุ้มครองเรามากที่สุด เป็นสิ่งที่อาจเปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นโอกาสหรือความเชื่อมั่นในอนาคต นี่คือสิ่งที่บริษัทญี่ปุ่นแทบทุกแห่งให้เป็นความสำคัญระดับแรกเลยครับ
ผมเคยเขียนในบทความก่อนๆ ว่าบริษัทญี่ปุ่นต้องการให้พนักงาน “เป็นส่วนหนึ่งของเพื่อนร่วมงาน” มากกว่าแค่ “เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร” นั่นเพราะพื้นฐานแล้ว การทำงานของคนเราคือการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อสร้างผลงาน ไม่ใช่เอาผลงานขององค์กรไปสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ทีนี้แนวคิดที่เราควรทำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรคืออะไรบ้างล่ะ?
เรื่องที่ต้องคิดและทำให้ได้เป็นอย่างแรกเลยคือ “การให้ในสิ่งที่เขาไม่คิดว่าจะได้” อันนี้รวมไปถึงการทำงานกับลูกค้าต่างๆ ด้วยนะครับ หัวหน้าของผมเป็นคนที่เก็บรายละเอียดมาก ยกตัวอย่างการไปรับประทานอาหารกับลูกค้า เขาจะสังเกตเลยว่าลูกค้าชอบสั่งอะไร หรือใช้เครื่องแต่งกายแบบไหน เพื่อที่คราวหน้าเราจะซื้อไปมอบให้หรือสั่งอาหารให้โดยที่ไม่ต้องถาม ตรงนี้เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สร้างความประทับใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ เปรียบง่ายๆ เหมือนเราพยายามยัดความรู้สึกดีๆ เข้าไว้ เพื่อหักลบกับความผิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมันก็จะทำให้ความผิดพลาดของเราเบาบางลงและยังทำงานต่อไปได้อย่างราบรื่น นั่นเอง

ความเชื่อใจเนี่ย คนญี่ปุ่นบอกว่าการรักษาทำงานได้ง่ายมากคือพยายามอยู่ในกรอบ อะไรที่ไม่แน่ใจก็ไม่ต้องทำ ยกตัวอย่างผมทำเรื่องมวยปล้ำครับ มวยปล้ำก็เหมือนกีฬาต่อสู้ทั่วไปคือพอแข่งเสร็จก็ยังมานั่งคุยกันได้ เป็นเพื่อน เป็นผู้ร่วมงานกัน
ดังนั้นสำคัญสุดคือความเชื่อใจเลย มวยปล้ำต้องเกิดการปะทะขึ้นอยู่บ่อยครั้งจนบางทีอาจจะถึงกับหัก หรือพิการก็ได้ ซึ่งถ้าไม่เชื่อใจล่ะก็ จะเป็นปัญหาใหญ่แน่นอนครับ
พบกันใหม่สัปดาห์หน้า หรือทวิตเตอร์ @pumiiiiiiiiii ครับ ☺