เสาคอนกรีตที่รายเรียงกันบนผืนคอนกรีตใต้ดิน ผู้คนต่างขับขานสถานที่แห่งนี้กันว่า “วิหารใต้พิภพ” ดินแดนกว้างแห่งนี้เป็นอุโมงค์น้ำยักษ์ที่ใช้ระบายน้ำที่ไหลเข้ามาท่วมเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น
เสาคอนกรีตที่รายเรียงกันบนผืนคอนกรีตใต้ดิน ผู้คนต่างขับขานสถานที่แห่งนี้กันว่า “วิหารใต้พิภพ” ดินแดนกว้างแห่งนี้เป็นอุโมงค์น้ำยักษ์ที่ใช้ระบายน้ำที่ไหลเข้ามาท่วมเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น
อุโมงค์น้ำยักษ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดไซตามะ เมืองคาสุคาเบะ อยู่ใต้ลึกลงไปจากผืนดินที่ระดับ 50 เมตร มีระยะทางความยาวจากเมือง คะสุคะเบะ คามิคานาซากิ ไปยัง โอะบุจิ ที่ 6.3 กิโลเมตร สถานที่ตรงนี้มีระดับพื้นที่ที่ต่ำ มีโอกาสสูงมากที่น้ำจะท่วมขัง พื้นที่แห่งนี้อยู่ทางตอนเหนือของโตเกียวยากที่น้ำจะระบายไหลลงทะเล
พื้นที่แห่งนี้ที่ผู้อยู่อาศัยเคยประสบปัญหาน้ำท่วม แต่เนื่องด้วยอุโมงค์น้ำยักษ์แห่งนี้ ทำให้ระดับพื้นที่น้ำที่ขังลดลงไปอย่างมาก
ในทวีตเตอร์หนึ่งที่ได้รับการกดไลค์ 20,000 ครั้งได้กล่าวเกี่ยวกับวิหารใต้พิภพนี้ไว้หลังจากพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 19 (ฮากิบิส) พัดผ่านไป
“หลังจากพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 19 ได้พัดผ่านไปในวันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ไปทัศนศึกษา ในอดีตที่ผ่านมาเคยไปทัศนศึกษามาแล้วสองครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้เห็นมันทำงานจริงๆ ปล่องน้ำที่มีความลึกถึง 70 เมตรนั้นปัจจุบันมีปริมาณระดับน้ำสูงถึง 55 เมตร ถ้าหากเราไม่มีสถานที่แห่งนี้แล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไงนะ อาริกาโต้ จิคะชินเดน (ขอขอบคุณ วิหารใต้พิภพ)”


โครงสร้างของวิหารใต้พิภพเป็นดั่งรูปประกอบ มีปล่องน้ำ 5 ปล่องที่เชื่อมต่อกันด้วยอุโมงค์ ทุกปล่องจะรับน้ำที่ล้นมาจากแม่น้ำเล็กๆ ไหลมาสะสมที่ปล่องสุดท้ายแล้วสูบน้ำออกแม่น้ำใหญ่ข้างนอก
สถานที่แห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เส้นทางระบายน้ำเขตรอบนอกเมืองหลวง” Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel 首都圏外郭放水路(しゅとけんがいかくほうすいろ)[ชุโตะเคนไกคะคุโฮซุยโระ]
หรืออีกชื่อหนึ่งในสมญานามว่า “วิหารใต้พิภพ”
地下神殿 (ちかしんでん) [จิคะชินเดน]
ทางเข้าของวิหารใต้พิภพแห่งนี้นั้นแลดูไม่เด่น มองผ่านๆ เหมือนทางเข้าสถานีรถไฟใต้ดินที่ตั้งอยู่ริมสนามฟุตบอล
เมื่อย่างก้าวเข้าไปที่แห่งนั้น โลกที่เราเคยอยู่กันมาก็เปลี่ยนไปเป็นอีกโลกหนึ่ง บรรยากาศเย็นยะเยือกก็ล่องลอยมาสัมผัสตัว
บันไดที่ก้าวลงไปทีละขั้น ราวบันไดเหล็กชื้นไปด้วยความหนาวเย็น เมื่อก้าวลงไปสุดที่ 116 ขั้น เราก็มาถึงวิหารกันสักที ภาพที่เห็นนั้นแลดูยิ่งใหญ่สมกับที่ได้สมญานามว่า “วิหารใต้ดิน” เสาคอนกรีตที่สูงถึงเพดาน ฐานของเสาเป็นรูปวงรีมีความกว้างอยู่ที่ 2 เมตร ความลึกอยู่ที่ 7 เมตร จำนวนเสามีอยู่ที่ 59 เสา แต่ละต้นหนัก 500 ตัน
แต่ผิดกับที่คิดไว้ตรงพื้นกลับแลดูไม่มั่นคงเท่าใด ด้วยเหตุว่ามีน้ำบาดาลอยู่ข้างใต้ เลยมีแรงดันน้ำจากข้างล่าง ต่อให้เป็นถังน้ำขนาดยักษ์ก็ตาม หากทิ้งไว้อย่างนั้นก็อาจถูกน้ำบาดาลดันให้ลอยขึ้นมาได้ เพื่อเป็นการป้องกันเลยต้องถูกตรึงไว้ด้วยเสาคอนกรีตที่หนักขนาด 500 ตัน
แม้แต่สถานีโตเกียวหรือสถานีอุเอะโนะ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ส่วนที่อยู่ใต้ดินลอยขึ้นมา ถึงต้องใช้เสาขนาด 100 ตันหลายๆ ต้นคอยตรึงไว้กับผืนดิน
เมื่อเราลองพิจารณาดูพื้นที่คอนกรีตทั้งหมดดู มีความกว้างอยู่ที่ 78 เมตร ความยาวอยู่ที่ 177 เมตร ความสูงอยู่ที่ 18 เมตร เมื่อคราใดที่มีฝนตกลงมาหนัก น้ำจะมาพักอยู่ที่เขื่อนใต้พิภพแห่งนี้
น้ำที่ไหลมานั้นเป็นน้ำจากแม่น้ำที่ปนเปื้อนด้วยโคลน และ เศษหิน จึงจำเป็นที่ต้องมีการทำความสะอาดเป็นระยะๆ บริเวณช่องทางที่น้ำไหลเข้ามาจะมีเครื่องจักรที่ดึงเอาขยะออกมา และมีโครงสร้างที่ทำให้ขยะขนาดใหญ่ไหลเข้ามาไม่ได้ ส่วนดินและทรายจะถูกทำความสะอาดปีละครั้ง โดยเปิดประตูใช้เครนยกรถ Bulldozer ลงมา
ณ ตรงถังน้ำปรับความดันมีช่องให้ปั้มน้ำออก มีเครื่องยนต์กังหันก๊าซสำหรับเครื่องบินที่ถูกดัดแปลงมาเพื่อใช้สูบน้ำออก ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 เครื่อง ใน 1 วินาทีสามารถสูบน้ำได้สูงสุด 200 ลูกบาศก์เมตรออกไปได้ หากพูดให้เข้าใจง่ายๆคือใน 1 วินาทีสามารถสูบน้ำขนาดสระว่ายน้ำขนาด 25 เมตรออกไปได้
น้ำที่ไหลเข้ามาจะถูกสะสมไว้ แล้วใช้เครื่องยนต์กังหันสูบน้ำออกไป แต่ถ้าหากต้องหยุดเครื่องกระทันหันแล้ว น้ำขนาด 200 ลูกบาศก์เมตรอาจจะไหลย้อนกลับมาซึ่งจะมีพลังพอๆ กับคลื่น Tsunami เพื่อที่จะสามารถต่อกรกับพลังขนาดนั้นได้เลยจำเป็นต้องมีพื้นที่ยาว 177 เมตร * กว้าง 78 เมตรเพื่อรองรับ
เชื้อเพลงสำหรับเครื่องยนต์กังหันเป็นน้ำมันเตา ซึ่งจะถูกเติมไว้ให้พอใช้สำหรับ 4 เครื่องทำงานเต็มที่ตลอด 3 วัน
ปล่องน้ำยักษ์
ปล่องน้ำยักษ์มีทั้งหมด 5 ปล่องทำหน้าที่ส่งน้ำไปยังถังน้ำปรับความดันผ่านอุโมงค์ ปล่องน้ำมีทั้งหมด 5 ปล่องแต่ละปล่องเชื่อมต่อกันด้วยอุโมงค์ ความลึกของปล่องน้ำอยู่ที่ 70 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 30 เมตร ความใหญ่ขนาดนี้เทพีเสรีภาพของอเมริกาสามารถลอดผ่านได้สบายๆ ปล่องน้ำยักษ์นี้นอกจากไว้เก็บกักน้ำแล้ว เวลาที่ต้องมีการซ่อมแซมบำรุงอุโมงค์ ก็จะใช้ปล่องน้ำนี้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์
สิ่งที่ต้องระวังสำหรับอุโมงค์น้ำแห่งนี้คือ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นคอนกรีต ซึ่งสักวันหนึ่งก็ต้องถึงเวลาเสื่อมโทรม ในสภาพแวดล้อมที่ชื้นแบบนี้ถือว่าเป็นปัญหาให้กับคอนกรีตอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีการซ่อมแซมปรับปรุงเป็นระยะ
สำหรับอุโมงค์ยักษ์แห่งนี้ใช้งบประมาณในการสร้างอยู่ที่ราว 230,000ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างถึง13ปีแล้วเสร็จในปี2006 ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อบรรเทาภัยจากฝนที่ตกลงมาจากฟากฟ้าญี่ปุ่น
สำหรับปัญหาโลกที่ร้อนขึ้น และไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ดั่งเช่น ฮากิบิส ซึ่งอาจจะมาเยือนญี่ปุ่นอยู่เรื่อยๆ มนุษย์เรากำลังเผชิญกับภัยธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ พวกเขากำลังใช้สติปัญญาเพื่อหาหนทางให้อยู่รอดบนโลกนี้ต่อไป ซึ่งวิหารใต้พิภพนี้ถือได้ว่าหนึ่งในเป็นความพยายามของมนุษยชาติที่จะต่อสู้กับภัยธรรมชาติอย่างเช่นที่เป็นเสมอมา
ทักทายพูดคุยกับ Wasu ได้ที่ >>> Facebook Wasu’s thought on Japan
เรื่องแนะนำ :
– เมื่อ ARASHI เพิ่งมี YouTube Official Channel
– การเปลี่ยนแปลงของตู้ ATM ในญี่ปุ่น (2019)
– อุตสาหกรรมเพื่ออนาคตของญี่ปุ่น
– ทำไมญี่ปุ่นต้องราดเบียร์ฉลองแชมป์
– Suzuki Ichiro : Let’s play baseball
– ศัพท์แสลงสำหรับการหางานในญี่ปุ่นปีนี้
อ้างอิง
https://business.nikkei.com/atcl/opinion/15/236296/102300067/
https://jbpress.ismedia.jp/articles/-/57932
https://sp.fnn.jp/posts/00048550HDK/201910162000_FNNjpeditorsroom_HDK
http://rayanbird.hatenablog.com/entry/2019/03/16/045800