สามีที่ทำงานบ้าน 家事をやる夫 [คะจิ โอะ ยะรุ อตโตะ]
รูปประกอบโดย WALK on CLOUD
วันนี้ผมก็จู่ๆ นึกขึ้นว่า ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีคำศัพท์เฉพาะสำหรับสามีที่ทำงานบ้านหรือไม่
เรื่องนี้มีพื้นฐานมาจากสังคมญี่ปุ่นสมัยก่อน อาจจะเป็นช่วงยุคโชวะ ที่คู่สามีภรรยานั้น สามีเป็นคนออกไปทำงานนอกบ้างหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว ส่วนงานบ้านตกเป็นหน้าที่ของภรรยา พอเป็นวันเสาร์อาทิตย์แล้ว สามีก็พักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ช่วยภรรยาทำงานบ้าน
แต่ด้วยเนื่องสังคมปัจจุบันที่รายได้ของผู้ชายคนเดียวอาจจะไม่เพียงพอ หรือเป็นเพราะว่าผู้หญิงก็อยากออกไปทำงานนอกบ้านเช่นกัน พอเป็นเช่นนี้แล้ว งานบ้านเป็นหน้าที่ของใครละ?
ด้วยภาพลักษณ์ว่า “งานบ้าน” เป็นหน้าที่ของผู้หญิง เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้เติบโตมาแต่เด็กเห็นพ่อแม่ตัวเองว่าเป็นอย่างไร เห็นพ่อที่นอนพักผ่อนในวันเสาร์อาทิตย์ เห็นแม่ที่ทำงานบ้านภาพจำเหล่านี้ก็อาจส่งผลให้ ผู้หญิงที่แม้จะออกไปทำงานนอกบ้าน พอวันเสาร์อาทิตย์ก็ยังต้องกลับมาทำงานบ้านอยู่ดี
แต่แน่นอนว่า มันก็มีสามี ที่ช่วยทำงานบ้าน เพราะสามีก็เห็นว่าภรรยาก็ออกไปทำงานบ้านเช่นกัน จะปล่อยให้ภรรยาทำงานบ้านอยู่คนเดียวก็กระไรอยู่
งานบ้าน ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า
家事
かじ
[คะจิ]
งานบ้าน
Housework
ซึ่งมาจากคันจิสองตัวคือ
家
いえ
[อิเอะ]บ้าน
事
こと
[โคะโตะ]เรื่อง
รวมกันคันจิสองตัวนี้ 家事 [คะจิ] จึงแปลได้ว่า “เรื่องของที่บ้าน” คือ “งานบ้าน” นั่นเอง
สามี ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า
夫
おっと
[อตโตะ]สามี
Husband
สามีที่ทำงานบ้านเลยใช้คำว่า
家事をやる夫
かし を やる おっと
[คะจิ โอะ ยะรุ อตโตะ]สามีที่ทำงานบ้าน
จากผลการ Google ด้วยคีย์เวิร์ดนี้ ก็มีบทความมุมมองของคนญี่ปุ่น เรื่องของสามีที่ทำงานบ้านว่าคนที่เป็นภรรยาคิดอย่างไรกัน
ระหว่างสามีกับภรรยาที่ทำงานด้วยกันทั้งคู่ ก็แบ่งงานบ้านทำกันในเสาร์อาทิตย์ บางคนทำอาหาร บางคนล้างจาน บางคนซักผ้า
ซึ่งแน่นอนว่า แม้นสามีทำงานบ้าน แต่ก็มีสิ่งที่ฝั่งภรรยาไม่พอใจเช่นกัน อย่างเช่น สามีอาจจะทำงานบ้านไม่เรียบร้อยไม่ได้ดั่งใจ ยกตัวอย่างเช่น ล้างจานไม่สะอาดเท่าที่ควร จนภรรยารู้สึกว่าให้สามีอยู่เฉยๆและให้ตัวเองลงมือทำน่าจะดีกว่า
หรือบางวันสามีกลับบ้านเร็ว เลยทำให้อาหารให้ภรรยาเห็นก็ดีใจ กินอาหารอร่อย แต่มาพบภายหลังว่า กระทะที่ใช้ทำอาหารถูกวางไว้ในอ่างล้างจานในสภาพแบบที่ใช้เสร็จมา ไม่มีการเทน้ำทิ้งไว้ คนเป็นภรรยาเห็นก็รู้สึกหงุดหงิดว่าทำไมไม่ทำให้เรียบร้อย ส่วนสามีก็บอกว่า “แค่ลืมเอง ก็บอกสิเดี๋ยวทำให้ ไม่เห็นต้องโกรธเลย”
ในญี่ปุ่นก็มีบทความออนไลน์ที่ยกถึงเรื่องนี้ขึ้นมา ต่างคนต่างความคิด นานาจิตตัง และพยายามอธิบายว่าให้สามีภรรยาคุยกันและหาจุดที่ลงตัว
นอกเหนือจากงานบ้านแล้ว มันมีคำศัพท์ที่กล่าวถึง ผู้ชายที่ดูแลลูก เลี้ยงลูกว่า
イク
いくメン
[อิคุเมง]ผู้ชายที่เลี้ยงดูลูก
ซึ่งคำว่า イク [อิคุ] นี้มาจากคันจิ育 [อิคุ] ที่มาจากกิริยาคำว่า
育つ
そだつ
[โซดะซึ]เลี้ยงดู
メン [เมง] มาจากภาษาอังกฤษคำว่า men = ผู้ชาย
เลยรวมกันสองคำนี้ได้คำว่า イクメン [อิคุเมง] ผู้ชายที่เลี้ยงดูลูก
คำๆนี้เกิดขึ้นมาเพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ใหม่ๆของผู้ชาย เป็นคนดูแลลูก เพราะเมื่อก่อนสังคมจะมีภาพลักษณ์ว่า ผู้หญิงเป็นคนเลี้ยงลูก
และคำว่า イクメン[อิคุเมง] นี้ก็เป็นการเล่นคำของศัพท์อีกคำหนึ่งคำว่า
イケメン
[อิเคเมน]ผู้ชายเท่
คำว่า イケ [อิเคะ] มาจาก 行ける [อิเคะรุ] ที่แปลว่า “สามารถไปได้”
ซึ่งคำว่า 行ける [อิเคะรุ] “สามารถไปได้” เป็นคำกิริยาในรูป “สามารถ”
ของคำว่า 行く[อิคุ] ที่แปลว่า “ไป”
行ける [อิเคะรุ] ที่แปลว่า “สามารถไปได้” นี้ยังมีเป็นศัพท์แสลงที่หมายถึง “เจ๋ง” “แบบนี้ไปได้เว้ย” “แบบนี้เจ๋งไปวัดไปวาได้ ไม่อายใคร”
ด้วยเหตนี้ イケメン [อิเคะเมง] จึงแปลได้ว่า “ผู้ชายเท่ๆ”
คำว่า イケメン [อิเคะเมง] นั้นเป็นศัพท์เกิดใหม่มาสักพักใหญ่ๆมีใช้มาก่อนนานพอควร
แต่ช่วงระยะเวลาๆหลังที่มีผู้ชายญี่ปุ่นหันมาช่วยเลี้ยงดูลูกมากขึ้น จึงทำให้เกิดศัพท์คำใหม่คำว่า イクメン [อิคุเมง]
ซึ่งคำว่า イクメン [อิคุเมง] ได้ติด Top 10 รางวัลคำศัพท์เกิดใหม่เมื่อปี 2010
แต่พอปี 10 ปีผ่านไปในปี 2020 ก็มีการทำแบบสอบถามว่า ผู้ชายที่เลี้ยงลูกนี้ไม่ชอบให้ใครมาเรียกตัวเองว่า イクメン [อิคุเมง] ซึ่งผลการตอบแบบสอบถามมีคนเกลียดคำนี้ถึง 70% ด้วยเหตุผลว่า “รู้สึกกดดัน” “หลายๆคนดูชื่นชอบกับคำนี้กลับทำให้รู้สึกเกลียด” “ก็ทำงานกันทั้งสามีภรรยา แล้วทำไมต้องให้ความสำคัญกับผมคนเดียวด้วย”
ก็พอจะเข้าใจได้ แค่ชมว่า “สามีช่วยทำงานบ้าน” “สามีช่วยเลี้ยงลูก” ก็เพียงพอ ไม่ต้องถึงขั้นมีบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ เพราะที่ผ่านมาผู้หญิงก็เป็นคนทำงานบ้าน เลี้ยงลูก มาตลอดด้วยเช่นกัน
รูปประกอบโดย WALK on CLOUD
เรื่องแนะนำ :
– 自由 [จิยู] อิสระ, เสรี
– 酔い[โยะอิ] เมาเหล้า หรือ เมารัก
– 雲 [คุโมะ] เมฆ และ ปรัชญาของเมฆ
– 悲しみ [คะนะชิมิ] ความเศร้าโศก
– ก่อนเป็นโอะกินะวะโดยสังเขป
อ้างอิง
– https://mamari.jp
– https://diamond.jp
#สามีที่ทำงานบ้าน 家事をやる夫 [คะจิ โอะ ยะรุ อตโตะ]