サラリーマン社長 [ซาลารี่มังฉะโจ] ท่านประธานซาลารี่แมน
รูปประกอบโดย WALK on CLOUD
มีคำๆ นึงว่า
サラリーマン社長
サラリーマンしゃちょう
[ซาลารี่มังฉะโจ]
ประธานซาลารี่แมน
ซึ่งมาจากคำว่า
サラリーマン
[ซาลารี่มัง]Salary man
พนักงานกินเงินเดือน
คำว่า Salary man เป็นคำที่ถูกประดิษฐ์โดยคนญี่ปุ่นนะครับ
คำในภาษาอังกฤษจริงๆ จะใช้คำว่า “Employee” = ผู้ถูกจ้าง สะมากกว่า
社長
しゃちょう
[ฉะโจ]ประธานบริษัท
President
ที่หมายถึงประธานบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท
แต่เป็นประธานบริษัทที่มาจากพนักงานกินเงินเดือนปีนบันไดองค์กรขึ้นมาอยู่บนจุดสูงสุด
ประธานบริษัทคนนี้ถูกรับเลือกมาจากบอร์ดผู้บริหารให้เป็น “หน้าตา” ของบริษัท
แต่จริงๆ แล้ว สิทธิ์อำนาจในการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่ตัวประธานบริษัท อำนาจการตัดสินใจเกินจากเกมการเมืองในบอร์ดผู้บริหาร มาจากการโหวตลงคะแนนเสียง
ท่านประธานบริษัทคนนี้ไม่ได้ถือหุ้นถึง 51% เพียงเขาคนเดียวเพียงลำพังไม่มีอำนาจเพียงพอในการลงมติให้ชนะโวตได้
หลายต่อหลายครั้งที่ “ประธาน” ก็เหมือนหุ่นเชิด เล่นไปตามเกม ทำงานรับเงินเดือนไป เพราะ”ตัวเองไม่ใช่เจ้าของบริษัท” จริงๆ
ถ้าประธานทำอะไรไม่ถูกใจ ก็อาจจะถูกปลดออก หรือ บีบให้ลาออกถอยออกไป อย่างน้อยตัวเองก็ได้เงินเดือนก้อนโตแล้ว ก็เอาตัวออกจากความกดดันภาระหน้าที่อันใหญ่หลวงออกไปแล้วตำแหน่งประธานนั้นถูกเอาไปให้คนอื่นผู้โชคดีคนใหม่ที่บอร์ดบริหารจะเลือกขึ้นมาสวมหัวโขน
เพียงเพราะท่าน “ประธานซาลารี่แมน” คนนี้มีพื้นเพสตาร์ทมาจาก พนักงานกินเงินเดือนคนนึ่ง
เขาไม่ได้เป็นคนเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทนี้
แน่นอนว่า “ประธานซาลารี่แมน” หลายๆ คนเขาก็อาจจะภูมิใจในงานที่ตนเองทำ แม้นจะมีอำนาจที่ใหญ่หลวง เขาก็ตระหนักถึงภารกิจอันใหญ่หลวงที่ตามมา
แต่ก็อาจจะมีท่านประธานบางคนที่เล่นตามเกมการเมืองในองค์กร พอถึงทางตันแล้ว ก็ต้องออกจากองค์กรไป ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น
นั้นก็อาจเป็นเพราะว่า บริษัทไม่ได้ผูกอยู่กับ ”ประธานผู้ก่อตั้งบริษัท”
แต่บริษัทกลายเป็น “นิติบุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่แยกอิสระจากตัวประธานบริษัท”
นี้เป็นลักษณะพิเศษของ サラリーマン社長 [ซาลารี่มังฉะโจ] ที่มีเสียงค่อนแคะว่า ท่านประธานซาลารี่แมน จะไม่ทุ่มเทให้กับบริษัทเพียงพอ
หาก Steve Jobs ตอนก่อตั้งบริษัท เขาเป็น “ประธานผู้ก่อตั้งบริษัท”
วันนึงที่ Jobs ดึงประธานเป๊ปซี่ John Sculley มาช่วยบริหารแอปเปิลแทน
Jobs เป็นหน้าเป็นตาให้กับแอปเปิล ด้วยโฆษณาแอปเปิลแมคอินทอช “1984” ยอดขายแมคอินทอชพุ่งกระฉูด ทำให้ Jobs เหมือนอยู่ในสถานะที่ “แตะต้องไม่ได้”
แต่พอผลิตภัณฑ์ แมคอินทอช ยอดขายเริ่มตก Jobs มีปากเสียงกับ John Sculley
บอร์ดบริหารเข้าข้าง John Sculley ทำให้ Jobs โดนบีบให้ออกจากแอปเปิล วันนั้นแอปเปิลก็เปรียบเสมือนนิติบุคคลที่แยกตัวออกจาก Jobs
Steve Jobs แม้นไม่ใช่ประธานแต่เสมือนเป็น “ท่านประธานซาลารี่แมน” แม้นจะไม่เต็มใจก็ตามแต่โครงสร้างองค์กรบีบให้ Jobs ต้องออกจากบริษัทที่ตนเองก่อตั้ง
หลายปีต่อมา Jobs กลับมาที่แอปเปิลอีกครั้ง แม้นจะเป็น “ท่านประธานซาลารี่แมน”
แต่ด้วยผลงานยอดฮิตอย่าง iMac iPod iPhone ก็ทำให้ Jobs ก็กลับมาอยู่ในสถานะ “แตะต้องไม่ได้” อีกครั้ง
ด้วยโรคร้ายทำให้ Jobs จากไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้ Tim cook กลายเป็นผู้บริหารแอปเปิลคนใหม่
Tim cook กลายเป็น “ท่านประธานซาลารี่แมน” ของแอปเปิลคนปัจจุบัน
สุดท้ายนี้ ในแง่มุมภาษาญี่ปุ่นคำว่า サラリーマン社長 [ซาลารี่มังฉะโจ] อาจจะฟังดูไม่ดี แต่เข้าใจว่า บริษัทไม่อาจผูกอยู่กับคนหนึ่งคนมากเกินไป บริษัทควรต้องดำรงอยู่ได้ในฐานะนิติบุคคล เพราะบริษัทเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ให้คนหนึ่งกลุ่มด้วยกันเป็นชะตากรรมที่ฟ้าลิขิตให้อยู่ด้วยกัน
จนกว่าจะมีใครบางคนออกจากกลุ่มไป เช่นเดียวกัน サラリーマン社長 [ซาลารี่มังฉะโจ] คนๆ นั้น
รูปประกอบโดย WALK on CLOUD
เรื่องแนะนำ :
– บริษัทสีดำ ブラック企業 [บุรัคคุคิเกียว]
– ‘ร้อนแทบตาย” ในภาษาญี่ปุ่น
– ความหมายของคันจิคำว่าดนตรี 音楽 [องกะคุ]
– ผิดหวัง(失望 ) สิ้นหวัง(絶望) ความหวัง(希望)
– 感謝 [คันฉะ] ความรู้สึกขอบคุณ
#サラリーマン社長 [ซาลารี่มังฉะโจ] ท่านประธานซาลารี่แมน