หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จังหวัดเอะฮิเมะ เขาจงใจใส่ข้อความคำว่า “คุมะโมะโตะ” ลงไปที่หน้าข่าวกีฬาในวันที่ 17 เมษา เพื่อส่ง message ให้กำลังใจ และให้ทุกคนทั่วจังหวัดเอะฮิเมะไม่นิ่งนอนใจที่จะขยับตัวเพื่อช่วยเหลือผองเพื่อนของเขาที่กำลังลำบาก
ทุกสายธารน้ำใจ ทุกโพสต์ ทุกความสามารถ ไหลไปทางเดียวกันที่เมืองอาโซะ หนึ่งในเมืองที่บอบช้ำที่สุดจากแผ่นดินไหวที่คุมาโมะโตะ
อย่าง เช่นผมได้อ่านเจอว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จังหวัดเอะฮิเมะ เขาจงใจใส่ข้อความคำว่า “คุมะโมะโตะ” ลงไปที่หน้าข่าวกีฬาในวันที่ 17 เมษา เพื่อส่ง message ให้กำลังใจ และให้ทุกคนทั่วจังหวัดเอะฮิเมะไม่นิ่งนอนใจที่จะขยับตัวเพื่อช่วยเหลือผองเพื่อนของเขาที่กำลังลำบาก

ไม่ใช่แค่นั้น เหล่าวัยรุ่น ในสถานพักพิงชั่วคราว ออกไปนอนข้างนอก ตามข้างสนามฟุตบอลโดยไม่ได้มีใครขอ เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้บาดเจ็บพักในที่อุ่นกว่าและสบายกว่า ทั้งๆ ที่ชาวญี่ปุ่นรุ่นเก่า ค่อนข้างไม่เชื่อมั่นกับวัยรุ่นสมัยนี้ของชาติตัวเอง เพราะคิดว่าพวกเขาไม่จริงจัง ไม่สู้เพื่อชาติเหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่การกระทำของวัยรุ่นกลุ่มนี้ ทำให้คนญี่ปุ่นรุ่นสร้างชาติ คงยังพออุ่นใจได้บ้าง
เหมือนอีกหนึ่งไอเดีย ที่โดยส่วนตัวผมชอบเป็นพิเศษคือ “ที่พักพิงชั่วคราว” ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ผู้อ่านลองดูรูปสิครับ

เดิมที คนญี่ปุ่นเองก็ตามจะคุ้นเคยกับสภาพที่พักพิง หลบภัย “ชั่วคราว” แบบสไตล์รูปซ้าย
เพราะในวันที่แผ่นดินไม่เป็นใจ มันไม่แปลกใจเลยที่คนเราจะแก้ปัญหาเฉพาะตรงหน้าโดยทำสิ่งที่เรียกว่า “ขอไปที” หรือ “เอาที่จำเป็น…”
เพิ่มให้อีกหน่อย ถึงแม้คนญี่ปุ่นจะเป็นชนชาติที่ต้องเป๊ะ ต้องสะอาด มีระเบียบ แต่ไม่เคยรู้สึกเลยว่าการนอนหรือการอยู่ในสถานพักพิงชั่วคราวแบบนี้มันจะแย่อะไรใครจะมาเสียเวลา เสียเงิน คิดหาอะไรมาแต่ง หรือมา
เติมอะไรกับสิ่งของชั่วคราว แต่กับมีสถาปนิกคนนึงที่ชื่อ คุณชิเงรุ บัน ที่ตั้งคำถามอีกอย่าง “สิ่งที่เรียกว่าชั่วคราว คือสิ่งที่ทำแบบผ่านๆ ? คือสิ่งที่ไม่ต้องใส่ใจกับมันมากเหรอ ?”
คือมันมีที่มาว่า ชิเงรุซัง เห็นทั้งความสกปรกไม่เป็นระเบียบ รวมถึงความไม่เป็นส่วนตัว เขาจึงคิดไอเดียบางอย่างที่ตอบโจทย์ให้ผู้หลบภัยได้จริงๆ
คิดไม่ถึงจริงๆ ว่าสถาปัตยกรรมที่เขาทำคือ “กระดาษ!!” ใช่ครับที่ท่านผู้อ่านเห็น ตัวเสาคือท่อกระดาษ ส่วนที่พาดก็คือผ้าดิบที่หาไม่ได้ยากอะไร หรือจะใช้กระดาษแข็งแทนก็ได้ ชิเงรุซังบอกว่า ส่วนที่เป็นห้องน้ำ หากใครมีปัญหาฉุกเฉินตอนถ่ายหนัก ก็ฉีกออกไปใช้ได้เลย (เขาพูดไปหัวเราะไป) !!
ถึงแม้วงการสถาปนิกญี่ปุ่นจะสุโก้ยมาก เพราะต้องออกแบบตึกรามบ้านช่องอยู่บนแผ่นดินที่ไม่เสถียรที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ชิเงรุซังบอกว่าสถาปนิกญี่ปุ่นถูกตราหน้ามาเสมอว่า เป็นตัวการทำให้ตึกแพงแล้วก็ชอบทำอะไรประหลาดๆ เพื่อโฆษณาตัวเองเป็นหลัก ในขณะที่อาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ หรือ ทนายความ เขาก็มีทั้งกลุ่มที่ทำงานเพื่อเงิน และกลุ่มที่เน้นทำงานเพือสังคม ควบคู่กันไป แต่สำหรับสถาปนิกญี่ปุ่น เรื่องงานเพื่อสังคมสถาปนิกญี่ปุ่นแทบไม่ยุ่งเลย… ดังนั้นชิเงรุซังจึงไม่ลังเลที่จะทำสิ่งนี้ เพื่อสังคม และผลงานสไตล์ชั่วคราวของเขานี่แหล่ะทำให้ชิเงรุซังได้รางวัล Pritzker รางวัลที่เทียบเท่าโนเบล ในวงการสถาปัตยกรรม
ผมชอบไอเดียนี้ เพราะว่าใครจะรู้ล่ะว่าสิ่งที่เรากำลังอยู่กับสิ่งที่เรียกว่างานชั่วคราว แฟนชั่วคราว มันอาจจะเปลี่ยนชีวิตของเราไปถาวรเลยก็ได้!! ส่วนตัวผมเอง อยากจะบอกว่า นอกจากเขียนแชร์เรื่องราวจากเหตุการณ์คุมาโมะโตะแล้ว จริงๆ ผมเลียนแบบ ที่หนังสือพิมพ์ เอะฮิเมะทำอย่างนึง โดยแอบซ่อนข้อความในบทความนี้เช่นกัน… คนที่หาเจอและคอมเม้นท์มาเป็นคนแรก ทางผู้เขียนจะมีของรางวัลให้ หาเจอไหมครับ ^^
เรื่องแนะนำ :
– สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “ทหารของญี่ปุ่น”
– สามเรื่องดีๆ ที่เราเรียนรู้ได้จาก Nadeshiko Japan….
– มีนาคม…. Season Change
– วันที่หัวใจโตเกียวรวมเป็นหนึ่ง
– ว่าด้วยเรื่องสมอง