Kairo ในยุคอดีต จะนำหินมาเผาไฟให้ร้อนพอประมาณแล้วห่อด้วยผ้า หรือบางทีก็ใช้หินคั่วกับเกลือ หรือเกลือกับรำข้าวให้ร้อนแล้วห่อด้วยผ้า นำมาซุกในอกเสื้อให้ร่างกายอบอุ่น ไคโระแบบดั้งเดิมนี้ใช้กันมาจนถึงยุคเอโดะ
ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นอกเหนือจากผ้าพันคอ ถุงมือ ถุงเท้า และเสื้อผ้า heat tech เทคโนโลยีล้ำหน้าที่เก็บกักความร้อนในเนื้อผ้า สร้างความอบอุ่นให้ร่างกายแล้ว สิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้เลยนั่นก็คือแผ่นความร้อนไคโระ (Kairo) สำหรับติดที่เสื้อผ้าหรือใส่ไว้ในกระเป๋าเพื่อความอบอุ่น (懐炉 : ถ้าแปลตามตัวคันจิตรงตัวจะแปลประมาณว่า เตาพกพาฉบับกระเป๋า ในปัจจุบันจะใช้เป็นตัวคาตาคานะว่า カイロ มากกว่า )
ไคโระในยุคอดีต จะนำหินมาเผาไฟให้ร้อนพอประมาณแล้วห่อด้วยผ้า หรือบางทีก็ใช้หินคั่วกับเกลือ หรือเกลือกับรำข้าวให้ร้อนแล้วห่อด้วยผ้า นำมาซุกในอกเสื้อให้ร่างกายอบอุ่น ไคโระแบบดั้งเดิมนี้ใช้กันมาจนถึงยุคเอโดะ หลังจากนั้นเริ่มมีพัฒนาการใช้วัสดุอื่นๆ เช่นถ่านหิน น้ำมัน แต่ยังคงหลักการเดิมคือ ใช้วัสดุที่สร้างความอบอุ่นมาพกติดตัว
สำหรับ 使い捨てカイロ หรือไคโระแบบใช้แล้วทิ้งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นค่ะ โดยบริษัทที่ดูแล้วไม่น่าจะมาเกี่ยวกันได้เลย นั่นคือ บริษัททำขนม ลูกอม หมากฝรั่งที่เรารู้จักกันดีในนามว่า ลอตเต้ ( Lotte) ซึ่งบริษัทลอตเต้นี้ก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่นโดยนาย Shin Kyuk-Ho หรือชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า Takeo Shigemitsu นักธุรกิจเกาหลีที่มาศึกษาในญี่ปุ่น
แล้วทำไมอยู่ดีๆ บริษัททำขนมถึงหันมาผลิตแผ่นความร้อนซึ่งไม่เห็นจะเกี่ยวกันตรงไหน เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อประมาณปีค.ศ. 1978 บริษัทลอตเต้ได้มีแผนการที่จะพัฒนา Oxygen absorber หรือสารดูดออกซิเจนซึ่งมีคุณสมบัติในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม โดยการใช้ผงเหล็กผสมกับถ่านกัมมันต์ (activated carbon) แต่ดั๊นเกิดอุบัติเหตุในการทดลองคือมีน้ำเข้าไปผสมโดยบังเอิญ เกิดเป็นปฏิกริยาเคมีคายความร้อนออกมา จริงๆ แล้วในทางการทดลองถือว่าเป็นความล้มเหลวค่ะ แต่ทางบริษัทฯ ก็ฉวยโอกาสจากความผิดพลาดครั้งนี้ ผลิตเป็นแผ่นความร้อนออกมาและเปิดตัวสินค้าในชื่อว่า hokaron ホカロン ซึ่งกลายเป็นชื่อที่คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยใช้เรียกไคโระแบบใช้แล้วทิ้งว่า hokaron ประมาณแบบเดียวกับที่ในอดีตเราเรียกผงซักฟอกว่า แฟ้บ นั่นล่ะค่ะ

พอช่วงที่อากาศเริ่มเย็นขึ้น ร้านค้าต่างๆ จะเริ่มนำไคโระออกมาวางจำหน่าย สามารถหาซื้อได้ไม่ยากตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อมากมายให้เลือกซื้อ ในการซื้อต้องเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์หน่อยนะคะ เพราะโดยหลักๆ จะมีอยู่สองแบบ ให้สังเกตุที่ซองจะมีเขียนไว้คือ


จะติดแผ่นความร้อนที่ไหนดี
สำหรับแบบที่มีกาวติดเสื้อ ควรจะติดบริเวณไหนดี เพราะตามหลักการเค้าบอกว่าต้องติดให้ถูกจุด จึงจะมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความอบอุ่นได้ทั้งร่ายกาย โดยหลักการคือควรติดในจุดที่มีเลือดไหลเวียนได้ดี เนื่องจากร่างกายเรามีระบบประสาทที่ดูแลอุณหภูมิให้ร่างกายอบอุ่น คอยควบคุมให้เลือดไหลเวียนไปตามจุดต่างๆ มากน้อยตามความจำเป็น เช่นในเวลาที่หนาวจัดๆ จะสั่งให้เลือดไหลเวียนไปที่หัวใจ อวัยวะสำคัญๆ มากกว่าที่จะไหลเวียนไปตามมือและเท้า เราจึงรู้สึกหนาวที่มือและเท้ามากที่สุด
บริเวณที่ควรติดหลักๆ จะมีอยู่ 4 จุดได้แก่
1. กระดูกสะบักตรงหัวไหล่ ตามข้อมูลที่อ่านมาบอกว่าเป็นจุดรวมของเส้นเลือด นอกจากนั้นเลือดที่ไหลเวียนมาจากหัวใจจะผ่านจุดนี้และไหลเวียนไปที่ส่วนท้อง จะติดข้างซ้ายหรือขวาก็ตามแต่ที่สบายใจค่ะ บางทฤษฎีบอกว่าติดตรงกลางระหว่างสะบักสองข้างก็ได้
2. กระดูกกระเบนเหน็บ เหนือก้นกบขึ้นมาหน่อยนึง ตามเว็บเค้าบอกว่าจะช่วยคลายความหนาวเย็นไปถึงส่วนเท้าได้อีกด้วย
3. ท้องน้อย ต่ำกว่าสะดือลงมาประมาณ 5 ซม. สำหรับคุณสาวๆ โดยเฉพาะช่วงที่ปวดท้องประจำเดือน จะได้ประสิทธิผลช่วยบรรเทาอาการปวดไปด้วยเลย
4. เท้า เลือกแบบที่ใช้สำหรับติดที่ถุงเท้า หรือติดที่รองเท้าก็มีจำหน่าย
อ้อ…. ไม่จำเป็นต้องติดทุกจุดนะคะ เลือกเอาตามที่รู้สึกว่าโอเค ส่วนใหญ่เจ๊จะติดที่กระดูกกระเบนเหน็บด้านหลังแผ่นเดียว หรือถ้าหนาวมากก็จะติดเพิ่มที่ท้องน้อยอีกหนึ่งแผ่น
ข้อควรระวังคือ
หลีกเลี่ยงไม่ติดไคโระบริเวณที่ใกล้หัวใจ
ไม่ติดที่ผิวหนังโดยตรง ยกเว้นแต่ประเภทที่ใช้สำหรับติดบนผิวหนังได้
ไม่ใช้ตอนนอน โดยเฉพาะอยู่ในฟุตง (ที่นอนแบบญี่ปุ่น) หรือในผ้าห่ม เพราะอุณหภูมิจะร้อนเกินไป
หลังจากติดไปประมาณหนึ่งชั่วโมง ควรสังเกตุที่ผิวหนังส่วนที่อยู่ใต้เสื้อดู ถ้ามีอาการผิดปรกติเช่นเป็นผื่นแดงให้แกะออกทันที
ใช้ไคโระแล้วจะทิ้งยังไงดี
วิถีการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น เรื่องสำคัญที่สุดคือการแยกขยะ ไคโระ (Kairo) จะถือว่าเป็นขยะประเภทไหน เจ๊เองก็เคยอึ้งๆ ว่าควรจะทิ้งใส่ถุงขยะประเภทไหนดี เผาได้ เผาไม่ได้ หรือดูท่าทางก็น่าจะนำไปรีไซเคิลได้ คำตอบคือ ไคโระจะถือว่าเป็นขยะประเภทไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละเขต ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวค่ะ
พบปะ “เจ๊เอ๊ด” และ #ทีมเจ๊เอ๊ด ได้ที่ >>> www.facebook.com/jeducationfan
ข้อมูลเรียนต่อญี่ปุ่น-เรียนภาษาญี่ปุ่น >>> www.jeducation.com
เรื่องแนะนำ :
– ตามรอยคู่ฮันนีมูนคู่แรกของญี่ปุ่น ไปอาบน้ำแร่แช่น้ำโคลนที่ Kirishima
– สาขาวิชาแปลกๆ ในญี่ปุ่น
– ในวันที่ก๊งเหล้ากับพระ….ญี่ปุ่น
– เกาะกระแสกีฬาสีญี่ปุ่น สามัคคีชุมนุม
– บริจาคเลือดที่ญี่ปุ่น
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
http://matome.naver.jp/odai/2141638223305305101/2141646549913156503
http://www.aliexpress.com