…ได้อ่านหนังสือญี่ปุ่น เกี่ยวกับการวิเคราะห์บริษัทญี่ปุ่นที่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ ซึ่งบริษัทเหล่านั้นอาจจะมีธุรกิจสืบต่อมาหลายชั่วรุ่น ซึ่งในหนังสือได้กล่าวถึงข้อดี ลักษณะพฤติกรรมของธุรกิจครอบครัวเอาไว้
“ที่บ้านมีธุรกิจ”
อาจจะมีใครสักคนบอกไว้ อาจจะเป็นเพื่อนเรา หรือตัวคุณเอง
แต่ชีวิตพวกเขาก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป
กลับมีขวากหนามแทน
ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ การวิเคราะห์บริษัทญี่ปุ่นที่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ
หนังสือชื่อแปลเป็นไทยได้ว่า
“ความสุโก้ยของบริษัทครอบครัวนั้น”*
บริษัทเหล่านั้นอาจจะมีธุรกิจสืบต่อมาหลายชั่วรุ่น ซึ่งในหนังสือได้กล่าวถึงข้อดี ลักษณะพฤติกรรมของธุรกิจครอบครัวเอาไว้
ครอบครัวมีธุรกิจเป็นสิ่งดี
เพราะครอบครัวเจ้าของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะสู้ตาย ไม่หนีไปไหน เพื่อคงรักษาธุรกิจของครอบครัวไว้ได้ ด้วยความรู้สึกที่ไม่อยากให้กิจการสิ้นสุดที่รุ่นของตนเอง
Challenge
เราอาจจะแยกครอบครัวกับงานไม่ได้ ที่บริษัทเราอาจมีพ่อเป็นเจ้านาย ซึ่งความคิดอาจจะไม่ตรงกันกับเรา ทะเลาะกัน พอกลับมาอยู่ในบ้านอาจจะมองหน้ากันไม่ติด และการที่ทายาทเจ้าของขึ้นมาเป็นหัวคนใหม่ อาจจะได้รับความกดดันเพราะมีคนคาดหวัง ประสบกับการเมืองในองค์กร และต้องรับมือกับคนเก่าแก่ที่อยู่มาก่อน
ผลประกอบการเป็นอย่างไร
มีการเปรียบเทียบบริษัทที่ผู้รับช่วงเป็นคนในตระกูลกับคนนอก
ในกรณีที่คนรับช่วงกิจการต่อเป็นคนนอก มีแนวโน้มที่ผลประกอบการมีการเติบโตในทางยอดขายที่สูง ที่แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของธุรกิจ
ในกรณีที่ผู้รับช่วงเป็นคนในวงตระกูลมีแนวโน้มจะมี Return of asset (ROA) สูง ซึ่งแสดงถึงความพยายามต้องการให้บริษัทมีธุรกิจที่มั่นคง
สิ่งที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวอยู่ต่อไป
ธุรกิจครอบครัวที่อยู่รอดต่อไปได้ ก็คือธุรกิจที่มีการปรับตัวตามกาลเวลายุคสมัย ซึ่งอยากที่บอกว่าอุปสรรคใหญ่หลวงอย่างหนึ่งอาจจะเป็นผู้บริหารคนเก่าที่เป็นทั้ง “พ่อแม่” ของเขา
โดยรวม
ในหนังสือเล่มนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในวงตระกูลรับช่วงธุรกิจต่อนั้น ก็มีปัจจัยที่น่าสนใจจะพยายามรักษาธุรกิจให้อยู่รอดไปได้ในระยะยาว แม้ช่วงการรับช่วงกิจการอาจต้องเผชิญความขัดแย้งกับคนใกล้ตัวอย่างพ่อแม่ แต่ก็เป็นหนทางที่จำต้องเดินผ่านไปให้ได้
*หนังสือชื่อ
あの同族企業はなぜすごい
โดย 長沢康彦 (Nagasawa Yasuhiko : บรรณาธิการอาวุโสของหนังสือพิมพ์ Nihonkeizai)
เล่าโดย วสุ มารุมุระ
ทักทายพูดคุยกับ Wasu ได้ที่ >>> Facebook Wasu’s thought on Japan
เรื่องแนะนำ :
– “เข้าฝัน” ในภาษาญี่ปุ่นพูดยังไง
– บทรำพึง : ความหนาวที่แสนเข้มงวดในญี่ปุ่น
– หนังสือ Underground : สถานที่ในคำสัญญา ..สัมภาษณ์ผู้ต้องหาเหตุการณ์แก๊ซซาริน
– เกร็ดเรื่องส้มของญี่ปุ่น
– หนังสือ Underground : เสียงจากผู้ประสบภัยแก๊ซพิษซารินในรถไฟใต้ดินญี่ปุ่น
#หนังสือญี่ปุ่น