หากคุณมีอาการเหล่านี้…. ติดผงกหัวขณะที่อีกฝ่ายกำลังพูด….มีส่งเสียงออกมาระหว่างสนทนาตลอด อย่าง “อื้อๆ” “อ๋อๆ” “อย่างนั้นสินะ” “อย่างนี้เอง” แปลว่าคุณเริ่มถูกภาษาญี่ปุ่นครอบงำแล้ว!
หากคุณมีอาการเหล่านี้….

• ติดผงกหัวขณะที่อีกฝ่ายกำลังพูด
• มีส่งเสียงออกมาระหว่างสนทนาตลอด อย่าง “อื้อๆ” “อ๋อๆ” “อย่างนั้นสินะ” “อย่างนี้เอง”
แปลว่าคุณเริ่มถูกภาษาญี่ปุ่นครอบงำแล้ว!
อาการสองข้อข้างต้นคือลักษณะเฉพาะการพูดคุยของคนญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่า “ไอสึจิ” (相槌)ซึ่ง จะปรากฏออกมาบ่อยมากในระหว่างการสนทนา การผงกหัวหรือพูดอือออไปขณะที่อีกฝ่ายพูดเป็นการแสดงออกว่า ฉันตั้งใจฟังคุณพูดอยู่นะ หรือแสดงว่าเรารับรู้เรื่องที่อีกฝ่ายกำลังพูดอยู่ ซึ่งจุดนี้จะค่อนข้างผิดกับของไทยหน่อยตรงที่ไทยเราจะเงียบเพื่อให้อีกฝ่าย พูด แต่ถ้าญี่ปุ่นเจอเราเงียบใส่นี่จะคิดไปหลายเลยค่ะ บ้างก็คิดว่า “ฟังเราอยู่รึเปล่านะ?” “เข้าใจที่เราพูดรึเปล่านะ?” เพราะฉะนั้นคนเรียนภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ AME.dama เจอจะมีพฤติกรรมแบบนี้กัน (ไปโดยไม่รู้ตัว) เยอะค่ะ โดยเฉพาะตัวเองนี่อาการหนักค่ะ บางทีเผลอผงกหัวจนกลับบ้านมาปวดคอเลย เพราะขี้เม้าท์ค่ะ คุยทีนาน ฮ่าๆ
ไอสึจิโดยทั่วไปที่คนญี่ปุ่นใช้กัน
• “ไฮ่” “เอ” “อื้ม” อารมณ์ ค่ะ ครับ อื้ม บ้านเรา
• “โซ่เดสเน้” = นั่นสินะ
• “โซ่เดสก๊ะ” = อย่างนั้นเหรอคะ
• “ฮนโตนิ” = จริงเหรอ
• “นารุโฮโดะ” = งี้นี่เอง
ใครที่คุยกับคนญี่ปุ่นบ่อยๆ ต้องเคยได้ยินคำพวกนี้แน่นอน!
นอกจากนี้คือ…..ใช้ภาษาไทยแปลกขึ้น

ลักษณะอาการคือเกิดความรู้สึกอยากใช้คำหรือวลีบางคำที่ใช้บ่อยในภาษาญี่ปุ่นแต่คนไทยไม่พูดกัน อย่างคำว่า
“ฝากตัว ด้วยนะ” หรือ “ฝากด้วยนะคะ” ซึ่งมาจากคำว่า “โยโรชิขุ” ที่คนญี่ปุ่นพูดกันบ่อยเหลือเกินไม่ว่าจะตอนแนะนำตัวอารมณ์ว่า “ฝากตัวด้วยนะ” หรือตอนที่จะให้คนทำอะไรให้แล้วจะพูดคำนี้ในความหมายที่ว่า “ฝากด้วยนะคะ”
คือส่วนตัว AME.dama ก่อนเรียนภาษาญี่ปุ่นไม่ได้พูดคำแบบนี้เลย แต่หลังจากขลุกอยู่ในวงการนี้นานหลายปีเข้า อาการก็เริ่มสำแดง จะอยากพูดคำนี้ขึ้นมาในสถานการณ์ตามด้านบน ซึ่งโดยปกติคนไทยจะไม่ค่อยพูดกัน อันนี้ถามเพื่อนที่เรียนญี่ปุ่นหลายคนก็เป็นเหมือนกัน หรือบางทีก็นึกคำไทยไม่ออกดื้อๆ ซะงั้น แต่ภาษาญี่ปุ่นดันโผล่แว๊บเข้ามาในสมอง
และที่ต้องระวังคือ….ภาษาอังกฤษก็จะแปลกขึ้นเช่นกัน

โดย ไม่รู้ตัวสำนวนการพูดแบบญี่ปุ่นจะแทรกซึมเข้าไปในทักษะภาษาอังกฤษของคุณด้วย ถ้าใครโดนแดแมจหนักๆ นี่ การออกเสียงก็จะไปตามญี่ปุ่นเช่นกัน
นอกจากนั้น…..นิสัยคุณอาจโดนภาษาญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่รู้ตัว
จากการสังเกตของ AME.dama พบว่าเพื่อนๆ ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะมีนิสัยบางอย่างที่เปลี่ยนไป….
• กลายเป็นคนตรงต่อเวลามากขึ้น

เนื่องจาก ถูกปลูกฝังตั้งแต่ในชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะมีอาจารย์คนญี่ปุ่นซึ่งเข้มงวดเรื่องเวลามากตอนปี 1 นี่จะกลัวมากเพราะอาจารย์คนนี้จะมีประโยคประจำตัวคือ “ไมนัส!” ใครมาสายหักคะแนน หลังจากนั้นอีกหลายปีที่ชีวิตวนเวียนอยู่กับชั้นเรียนญี่ปุ่นถึงแม้จะมี อาจารย์ญี่ปุ่นหลายคนผ่านเข้ามา แต่สิ่งที่ทุกคนเหมือนกันคือให้ความสำคัญกับการ “ตรงต่อเวลา” หลังจากจบภาคชีวิตนักเรียนเข้าภาคทำงาน เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานก็จะตรงต่อเวลา ถ้ารู้ว่าจะไปสายนี่จะอึดอัดใจมาก เลยกลายเป็นจะชอบไปก่อนเวลา ซึ่งผิดกับเวลานัดกับคนไทยซึ่งเวลาดีเลย์ตลอดดดดด
• กลายเป็นคนที่ขี้เกรงใจหรือพูดขอโทษมากขึ้น

อัน นี้จะว่าดีก็ดี แต่ถ้ามากเกินไปก็ทำให้อีกฝ่ายอึดอัดได้ ซึ่งเป็นลักษณะที่คนญี่ปุ่นเองก็อยากให้เปลี่ยนจากการพูดคำว่า “ขอโทษ” เป็น “ขอบคุณ” จะดีกว่า ด้วยลักษณะที่ชาวญี่ปุ่นจะขี้เกรงใจเอะอะอะไรก็ขอโทษไว้ก่อน…
“ขอโทษที่ทักมารบกวนในระหว่างที่ยุ่ง”
“ขอโทษที่ทำให้ลำบาก”
“ขอโทษที่อยู่ดีๆ ก็ทักมา”
กลายเป็นว่าเพื่อนของ AME.dama บางคนที่เผลอรับอิทธิพลจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมบทสนทนาที่เต็มไปด้วยการ ขอโทษ ก็ได้กลายเป็นขอโทษบ่อยไปโดยไม่รู้ตัว จนเราต้องแทบทักเลยว่า ไม่ต้องขอโทษก็ได้แกกก
ใครที่มีนิสัยหรืออาการแปลกๆ จากการเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างอื่นนอกจากนี้แวะมาแชร์กันที่เพจได้นะคะ ^^
ใครที่กำลังสนใจจะเรียนภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน ก็มาเรียนเป็นเพื่อนกันได้ที่ J-Center นะจ้ะ สนุกมากกกก เซนเซใจดี สต๊าฟก็น่ารัก ^^
ทักทายพูดคุยกับ AME.dama ได้ที่ >>> Facebook AME.dama
เรื่องแนะนำ :
– นิฮงโกะ ไดอารี่… ยกย่องก็ไม่ได้ ถ่อมตนก็ไม่เป็น
– นิฮงโกะ ไดอารี่… เรียนภาษากรุบกริบในอาหารญี่ปุ่น
– นิฮงโกะ ไดอารี่… ภาษาญี่ปุ่นเรียนออนไลน์ก็ได้ เรียนออฟไลน์ก็ดี
– นิฮงโกะ ไดอารี่… ตัวอักษรญี่ปุ่นวุ่นวายนัก
– นิฮงโกะ ไดอารี่… สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
#ภาษาญี่ปุ่น #เรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ #นิสัยที่ติดมา (โดยไม่รู้ตัว) ของคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น