วันที่หรูอี้เขียนบทความนี้ เป็นวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทยเราพอดี ก็เลยนึกถึงเรื่องการลอยกระทงขึ้นมา แล้วก็พบว่าหลายชาติในเอเชียมีประเพณีลอยกระทงหรือลอยโคมที่คล้ายกันอยู่
วันที่หรูอี้เขียนบทความนี้ เป็นวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทยเราพอดี ก็เลยนึกถึงเรื่องการลอยกระทงขึ้นมา แล้วก็พบว่าหลายชาติในเอเชียมีประเพณีลอยกระทงหรือลอยโคมที่คล้ายกันอยู่
อย่างในไทยเรา อ้างว่าประเพณีลอยกระทงมีมาช้านาน แต่นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่าประเพณีลอยกระทงของไทยเรา แท้จริงเพิ่งเกิดมาไม่นาน แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญอะไร

เพราะสิ่งที่ประเพณีนี้ต้องการจะสื่อ คือการแสดงออกซึ่งความรัก หวงแหนและรู้คุณค่าธรรมชาติรอบตัว โดยยกพระแม่คงคาขึ้นมาเป็นบุคลาธิษฐาน เป็นตัวแทนของสายน้ำที่ผูกพันกับชีวิตคนไทยมาช้านาน
อย่างในประเทศญี่ปุ่น ในจังหวัดกุนมะก็มีเทศกาลลอยโคมเช่นกัน แม้ว่าประเพณีนี้จะเป็นประเพณีเฉพาะท้องถิ่น แต่ก็ได้รับความนิยมจากคนในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่ชื่นชอบประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยเฉพาะถ้าได้ถ่ายรูปออกมา รับรองไม่ต้องพูดถึง แสงจากเทียนหลายร้อยหลายพันเล่มในโคมลอยที่ตัดกับแม่น้ำสีดำในยามราตรี ไม่ต้องบรรยายก็รู้ว่าสวยมากแค่ไหน
ที่มาของประเพณีนี้ เกิดขึ้นจากเรื่องเล่าในอดีต ว่ากันว่า ยังมีร้านขายเต้าหู้แห่งนึงชื่อในหมู่บ้านอะคิวะ (ปัจจุบันคื อAkaiwa, Oaza, Chiyoda-cho) มีคนงานคนหนึ่งชื่อว่า คุโรโยชิ นายคนนี้เป็นที่คนขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ทุกสิ่ง ถ้าเป็นปัจจุบันคงจะได้รางวัลพนักงานดีเด่นเป็นแน่ แล้ววันหนึ่งเขาก็ได้ไปจับปลาในแม่น้ำโทเนะ แต่ดันมาจมน้ำตาย
พอเจ้าของร้านได้รู้ข่าวก็ตกใจมาก รีบไปปรึกษากับเจ้าอาวาสที่วัด และในที่สุดก็ได้จัดงานนี้ขึ้นมา เพื่อจะส่งวิญญาณของคุโรโยชิพนักงานดีเด่นให้ไปสู่สุขคติ จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของง Chiyoda Kawasegaki Festival หรือเทศกาลลอยโคมที่จัดเป็นประจำมาจนถึงปัจจุบัน โดยจะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี

การลอยโคมในลักษณะนี้ เป็นเสมือนการจุดไฟส่องทางในกับวิญญาณที่เพิ่งล่วงลับไป จุดนี้สอดคล้องกับเทศกาลลอยโคม ของจีนอีกเช่นกัน เทศกาลลอยโคมของจีนสมัยโบราณ จะถูกจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจีน หรือที่บ้านเราเรียกว่าวันสารทจีน
การลอยโคมของชาวจีน มีที่มาจากลัทธิเต๋า ที่เชื่อว่าในวัน 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันเกิดของเทพผู้ดูแลพื้นดิน ในวันนั้นบรรดาวิญญาณจะได้รับการอภัยโทษและได้รับอนุญาตให้ขึ้นมายังพื้นโลก บรรดาผู้มีชีวิตหรือลูกหลานจึงพากันไปจุดประทีบหรือโคมไฟลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อส่องแสงสว่างให้กับเหล่าดวงวิญญาณได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี

เราจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นการลอยกระทง ลอยโคมหรือลอยประทีป ในไทย-ญี่ปุ่น-จีน ล้วนเกิดขึ้นมาจาก “ความเมตตา” และ “ความกตัญญู” ทั้งสิ้น สิ่งนี้น่าจะเป็นหัวใจสำคัญของประเพณีที่คนโบราณต้องการสื่อถึงคนรุ่นหลังสุดท้ายก็ขึ้นอยู่ที่เราทุกคน ว่าจะเข้าใจและนำมาปฏิบัติให้เข้ากับยุคสมัยได้เหมาะสมแค่ไหนนั่นเอง
เรื่องแนะนำ :
– สัตว์เทพแห่งโอกินาว่า
– พระเจ้าหลวง – ไดโจ เทนโน
– Inkan บริการทุกระดับประทับตรา
– ทำความรู้จัก Omikuji เซียมซีในแบบฉบับของญี่ปุ่น
– ประกาศเปิดตัวรายการ PRODUCE 101 JAPAN ค้นหากลุ่มไอดอลชาย เจาะตลาดเพลงญี่ปุ่นเตรียมเดบิวต์ปี 2020 นี้!!
ขอบคุณภาพประกอบจาก:
-https://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4551.html
-https://www.facebook.com/284932631556418/posts/2051544504895213?d=n&sfns=mo
-https://www.pearvideo.com/video_1427311