การทิ้งขยะในญี่ปุ่น : ในชีวิตประจำวันของพวกเรานั้น ทิ้งขยะวันหนึ่งๆ เท่าไรกันคะ ที่ญี่ปุ่นมีปริมาณขยะทั้งหมดปีๆ หนึ่งกว่า 45 ล้านตัน (ปี2011) นึกภาพไม่ออกเลยว่ามันมีปริมาณมากแค่ไหน ขยะนี่เป็นอะไรที่ทิ้งเท่าไรก็ไม่หมดมีมาเรื่อยๆ
เรียบเรียงโดย : ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น Jat
ในชีวิตประจำวันของพวกเรานั้น ทิ้งขยะวันหนึ่งๆ เท่าไรกันคะ ที่ญี่ปุ่นมีปริมาณขยะทั้งหมดปีๆ หนึ่งกว่า 45 ล้านตัน (ปี2011) นึกภาพไม่ออกเลยว่ามันมีปริมาณมากแค่ไหน ขยะนี่เป็นอะไรที่ทิ้งเท่าไรก็ไม่หมดมีมาเรื่อยๆ

ที่ญี่ปุ่นเวลาทิ้งขยะแต่ละที ต้องแยกประเภทวุ่นวายหลายสิ่ง ก็เลยแอบคิดเหมือนกันนะคะว่า ทิ้งขยะที่เมืองไทยสบายจัง เพราะที่เมืองไทยเราสามารถทิ้งขยะโดยที่ไม่ต้องแยกประเภทเลย อารมณ์ประมาณว่าหน้าที่แยกเป็นของคนเก็บขยะ… ทั้งขยะเผาได้ ขวด กระป๋องสารพัด ก็ทิ้งๆ ไปโดยที่คิดว่า “ไม่ต้องแยกหรอ…” ในประเทศญี่ปุ่นเรามีการแบ่งขยะออกเป็นประเภทหลักๆ คือ ขยะที่เผาได้ ขยะที่เผาไม่ได้ ขยะรีไซเคิล ขวดพลาสติก และขยะขนาดใหญ่
ขยะเผาได้ | ขยะสด กระดาษ พลาสติก ยาง เสื้อผ้า เป็นต้น |
ขยะเผาไม่ได้ | เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก เช่น โลหะ ผลิตภัณฑ์แก้ว ถ้วยชาม เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นต้น |
ขยะรีไซเคิล | กระดาษ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ขวด กระป๋อง |
ขวดพลาสติก | |
ขยะขนาดใหญ่ | สิ่งที่มีขนาดเกิน 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร |
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่รีไซเคิลได้ | โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องเป่าผ้า |

วันและเวลาที่ทิ้งในแต่ละเขตก็มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนค่ะ เช่น ขยะเผาได้ทิ้งได้สัปดาห์ละสองครั้ง ขยะเผาไม่ได้เดือนละสองครั้ง และต้องนำไปวางไว้ ณ ที่ๆ กำหนดไว้เท่านั้นค่ะ สำหรับตามแมนชั่นมักจะมีสถานที่สำหรับวางขยะจัดเตรียมไว้แล้ว ผู้อยู่อาศัยสามารถนำขยะออกมาทิ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง แล้วผู้ดูแลของแมนชั่นก็จะนำออกวางขางนอกตามวันที่เก็บขยะ แต่สำหรับคนที่อยู่บ้านทั่วไปก็ต้องเก็บขยะไว้ในบ้าน จนกว่าจะถึงวันที่ทิ้งได้ การนำขยะผิดประเภทออกมาทิ้ง จะไม่ได้รับการจัดเก็บจากเจ้าหน้าที่ จึงมีความจำเป็นมากที่ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อขยะของตัวเอง เพราะบางพื้นที่ก็มีการกำหนดให้ใช้ถุงที่ต้องจ่ายเงิน หรือต้องมีการเขียนชื่อเจ้าของขยะถุงนั้นๆ ด้วย เห็นไหมคะว่าการทิ้งขยะที่ญี่ปุ่นมีเรื่องให้ต้องระวังมากมายเลย


ส่วนเวลาจะทิ้งขยะชิ้นใหญ่ (ที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 30 ลบซม.) ก็ต้องมีการแจ้งทางการล่วงหน้าก่อน และมีค่าใช้จ่ายด้วยค่ะ หลังจากนั้นก็ต้องไปหาซื้อสติกเกอร์สำหรับแปะไว้บนขยะชิ้นใหญ่ก่อนทิ้งด้วย ทิ้งขยะก็ต้องเสียตังค์ด้วย…เฮ้อ… ทุกๆ คนคะ ถ้าต้องไปอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็อย่าลืมระมัดระวังเรื่องการทิ้งขยะด้วยนะคะ



แล้วทุกคนล่ะคะ เวลาทิ้งขยะแยกกันบ้างไหมค่ะ แล้วทราบกันบ้างไหมคะว่าขยะต้องทิ้งช่วงไหน เจ้าหน้าที่จะมาเก็บช่วงไหน? ตอนที่ดิฉันอยู่ที่เมืองไทยก็ไม่ทราบหรอกค่ะ คิดอยู่เหมือนกันนะคะ ว่าแต่ละคนควรแยกขยะของตัวเองให้เรียบร้อยก่อนทิ้งจะดีกว่า แต่ว่าถึงพวกเราจะทิ้งรวมๆ กันไป พี่ๆ เจ้าหน้าที่เก็บขยะเค้าก็สามารถนำขวด แก้ว กระป๋อง ไปขายเป็นเงินได้อีก ก็เลยกลายเป็นว่า ไม่เป็นไรมั้ง 555 แต่พักหลังดูเหมือนว่าถังขยะที่มีระบบให้คัดแยกขยะก่อนทิ้งจะมีเพิ่มมากขึ้น ถ้าพูดถึงเรื่องการแยกขยะ เวลาทุกคนทิ้งกล่องน้ำผลไม้ หรือ ถ้วยมาม่าที่ยังมีน้ำอยู่ไม่รู้สึกแปลกๆ เหรอคะ? ว่ามันเลอะเทอะเละเทะ… ทุกคนคิดว่ามันโอเคหรือเปล่าคะ?

ที่ญี่ปุ่น อัตราการรีไซเคิลขยะเพิ่มขึ้นจากปี 2002 ที่ 15.9% มาเป็น 20.4% ในปี 2011 แต่ดูเหมือนว่าที่ประเทศไทย มีอัตราการรีไซเคิลขยะมากกว่าที่ญี่ปุ่นอีกแถมยังมีฝีมือด้านการนำของเก่าของไม่ใช้แล้วกลับมาประดิษฐ์ประดอยเป็นของสวยงาม ที่ประเทศญี่ปุ่นอาจจะเข้มงวดเรื่องการทิ้งขยะมากก็จริง


แต่ดิฉันคิดว่า เราอาจจะต้องหันมาใส่ใจเรื่องการแปรรูป ของที่ไม่ใช้แล้วให้ใช้ได้นานยิ่งขึ้น ลดปริมาณขยะ และหาวิธีการจัดการกับขยะที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปด้วยนะคะ
เรียบเรียงโดย : ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น Jat
เอื้อเฟื้อโดย :
โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นแจ๊ท Jat (JAT Japanese language school)
http://www.jatschool.com
ขอบคุณรูปภาพประกอบ
http://www.misaki.rdy.jp/illust/jinbutu/bika/3/sozaitext/403.htm
http://www.city.taito.lg.jp/index/kurashi/gomi/wakekata/gomiinfo/sodaigomi/sodaigomi.html
http://www.city.itabashi.tokyo.jp/c_kurashi/000/images/img_226_1_1.jpg.html
http://www2.jica.go.jp/hotangle/asia/thailand/000740.html” target=”_blank
http://otakuv2.exteen.com/20100526/24-2553-ctw-13-40
http://gomi-tabi.com/category/9290569-2.html” target=”_blank
http://www.press.in.th/
http://www.env.go.jp/recycle/waste_tech/ippan/h23/index.html
http://www.city.nayoro.lg.jp/www/contents/1276844514084/index.html