วงการหนังสือญี่ปุ่นในปัจจุบันกำลังค่อยๆ มีชื่อเสียงไปยังหลากหลายประเทศทั่วโลก หากแต่ว่าในประเทศญี่ปุ่นเอง วงการกลับไม่ได้เติบโตอย่างที่คิด ดังนั้นวันนี้ผมจะมาอธิบายสถานการณ์หนังสือประเทศญี่ปุ่นให้ฟังกันครับ
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสทำงานกับสำนักพิมพ์จากประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางมาร่วมงานบุ๊คแฟร์ที่บ้านเราครับ ในโอกาสนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับสำนักพิมพ์ชื่อดังมากมายถึงสถานการณ์ของ วงการหนังสือญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันกำลังค่อยๆ มีชื่อเสียงไปยังหลากหลายประเทศทั่วโลก หากแต่ว่าในประเทศญี่ปุ่นเอง วงการกลับไม่ได้เติบโตอย่างที่คิด ดังนั้นวันนี้ผมจะมาอธิบายสถานการณ์หนังสือประเทศญี่ปุ่นให้ฟังกันครับ

– คนอ่านหนังสือน้อยลง
กล่าวคือคนอ่านหนังสือที่เป็นหนังสือเลยน่ะน้อยลง เพราะคนหันไปรับสื่อตามสิ่งต่างๆ มากยิ่งขึ้น ตรงนี้สิ่งที่น่ากังวลคือการอ่านอะไรบางอย่างที่เป็นเพียง “ข้อความที่ทำให้เราเข้าใจได้ในระยะสั้น” เมื่ออ่านไปนานๆ เข้าทำให้เราไม่อยากที่จะอ่านอะไรยาวๆ และนำไปสู่กระบวนความคิด วิเคราะห์ที่ไม่สมบูรณ์ เรียกง่ายๆ ว่าสมาธิจะสั้นลงมากครับ สถิติคนอ่านของญี่ปุ่นไม่ได้น้อยลง ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีสัญลักษณ์ มีคำบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ให้คนได้อ่านมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ “หนังสือเป็นเล่มๆ” นี่สิ ที่ทางสนพ.ต่างๆ กำลังพยายามให้คนญี่ปุ่นหันกลับมาสนใจอย่างที่เคยเป็น

– ร้านหนังสือใหญ่ๆ มีมากขึ้น
อันนี้เป็นสิ่งที่ตอนแรกผมดีใจนะว่า “นี่ไง! ไหนบอกคนญี่ปุ่นอ่านหนังสือน้อยลง ก็เห็นมีร้านใหญ่ๆเปิดขึ้นตั้งเยอะนี่นา!?” นี่คือความเข้าใจผิดอย่างมากครับ เพราะอะไร? จริงๆ แล้วการเปิดร้านหนังสือใหญ่ๆ คือการพยายามดิ้นรนของวงการที่ต้องการรักษาสถานการณ์เอาไว้ เขาบอกกันว่ายิ่งเรามีร้านหนังสือใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมากขึ้นเท่าไหร่ หมายความว่าเราต้องต่อสู้มากขึ้นเท่านั้น นั่นเพราะว่าสาเหตุจริงๆ ของการเปิดร้านใหญ่ๆ (และเอาอย่างอื่นมายัดเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นซีดี เครื่องเขียน หรือกระทั่งเอาร้านร้อยเยนมาผสม) ก็เพราะ “ร้านเล็กๆ ต้องปิดตัวไปมากมาย” เปรียบง่ายๆ เหมือนร้านขายหนังสือแบบรถเข็นที่เมื่อก่อนเราเห็นได้บ่อยๆ ตามกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้ก็หาได้น้อยมาก ดังนั้นถ้าเราจะภูมิใจกับการมีคิโนะคุนิยะสาขาใหม่ที่ใหญ่โคตรๆ มาเปิดในกรุงเทพ ถึงแม้มันจะน่าดีใจ แต่อีกมุมหนึ่งมันก็มีอะไรที่หายไปนะครับ ทั้งที่มันน่าจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดประชาชนในระดับที่ต่างออกไปได้มากกว่าแท้ๆ นี่คือสิ่งที่ญี่ปุ่นกำลังกังวล เขากลัวว่าธุรกิจร้านหนังสือกำลังจะตายและมันจะส่งผลต่อวงการหนังสือในภาพ รวม

– เรื่องของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e book)
หากใครได้ตามข่าวในปีก่อนๆหรือบทความที่ผมเคยเขียนเรื่องตลาดของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่าในตอนเริ่มแรกนั้นตลาดเขาแย่มาก ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่งgoogle, rakuten, kobo หรือกระทั่ง kindle สาเหตุเขาบอกว่าคนยังนิยมอ่านหนังสือแบบเล่มๆ มากกว่า (แต่แบบเล่มๆ ก็ประสบปัญหาอยู่บ้างตามที่แจ้งไป) แต่ตอนนี้สถานการณ์ของe book ดีขึ้นครับ มีคนสนใจอย่างมากมาย แม้ทางญี่ปุ่นจะมองว่า “มันยังไม่ดีแบบที่เราคาดหวัง” แต่อย่างน้อยตลาดที่ทางหลายๆ บริษัทออกปากว่าเกือบจะถอดใจ มันก็กระเตื้องขึ้นมาบ้าง จนปัจจุบันมันกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการถัวเฉลี่ยยอดขายให้กับหนังสือแต่ละ เล่มได้เป็นอย่างดี ถือเป็นมิติใหม่ของสงการหนังสือญี่ปุ่นครับ
– อ่านอะไร?
ในช่วงหลังๆ มานี้สิ่งที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น (หากตัดเรื่องกระแสต่างๆ ทิ้งไป) ก็ยังคงเป็นทริลเลอร์ครับ เราอาจจะมองว่าเห้ย หนังสือทริลเลอร๋ญี่ปุ่นที่ไม่ได้ยินมาสักพักใหญ่ๆ แล้วนะ คือในขณะที่โลกของผู้ใหญ่ขึ้นมาจะยังหลงใหลในมูราคามิหรือคนอื่นๆ แต่โลกของเด็กที่เขาไม่ได้มาเปิดเผยหรือมาบอกออกสื่อว่าเขาอ่านอะไร เขาก็ยังซื้อหนังสือทริลเลอร์อ่านอยู่เรื่อยๆ นั่นเองครับ

– Personal Branding หนังสือเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของคนญี่ปุ่น
เชื่อไหมครับว่าปัจจุบันนี้ประเทศญี่ปุ่นที่โดยปกติแล้วจะขึ้นชื่อเรื่องการให้เกียรติรุ่นพี่ในที่ทำงานหรือการทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอนตามระบบ จะสนใจหนังสือแนวที่เรียกว่า “การสร้างชื่อให้ตนเอง” อย่างมาก เราเรียกหนังสือแบบนี้ว่าหมวด Personal Branding โดยเป้าหมายของหนังสือแบบนี้มาจากการตั้งคำถามของคนญี่ปุ่นในใจว่า “ทำไมเราต้องเห็นคนกระจอกๆ ได้รับเลือกให้มีตำแหน่งดีๆ ทั้งๆ ที่เราเก่งกว่าวะ?” นำไปสู่คำตอบที่ว่า “ก็เขาพรีเซนต์ตัวเองเก่งกว่าไง!!!” เหตุนี้คนญี่ปุ่นเลยพยายามหาหนังสือแบบนี้มาอ่านเพื่อปรับปรุงตัวเองแบบ เนียนๆ (แน่นอน… คนญี่ปุ่นไม่มีทางเลียแข้งเลียขาแบบน่าเกลียดหรือใช้ patronage system แบบไม่ลืมหูลืมตาแน่ๆ) นี่คือเรื่องใหม่มากของญี่ปุ่นนะครับ ต่างจากในไทยมากที่ต่างคนพยายามพรีเซนต์ตัวเองกันสุดๆ เป็นแบบนี้มานานแล้วด้วย (น้ำไว้ก่อนว่าไม่ใช่เรื่องผิดเลยนะครับ มันเป็นเรื่องปกติของการทำงานเพียงแต่เราต้องเป็นคนที่ไม่โตขึ้นโดยการ เหยียบหัวใคร ทำอะไรให้สุจริตเท่านั้นเอง”

– การห่อปกหนังสือ
ปกหนังสือญี่ปุ่นแน่นอนว่าบางทีเราอาจจะแทบไม่เคยเห็นเพราะมันมักจะถูกห่อหุ้มด้วยปกกระดาษของแต่ละร้านค้าเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้อ่าน ในที่นี้นั่นเรามาดูรายละเอียดกันสักนิดหนึ่งครับ… ตอนนี้นั้นกระแสของการห่อปกมีน้อยลงบ้าง เพราะแต่ละคนพบว่าการห่อปก แน่นอนว่ามันจะช่วยทำให้ปกจริงๆ ไม่เปื้อนและยังปิดไม่ให้คนอื่นรู้ด้วยว่าตนอ่านอะไร แต่หลายเจ้าที่พอเปิดออกมาก็พบว่า อ้าว…! ปกเละ !!! แน่นอนว่าศาตร์โอริกามิทำให้การพับปกดูเท่มากที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวยึดเลย แม้แต่นิดเดียว แต่หากมันมีช่องว่างเพียงน้ดเดียว หรือปกบางส่วนขาด สำหรับหนังสือในยุคปัจจุบันนี้ มีโอกาสปกเสียขึ้นมาก! เพราะอะไร ไปดูหัวข้อต่อไปกันเลยครับ!
– “ปกหนังสือ” คือส่วนที่ได้งบประมาณน้อยที่สุด
ในการทำหนังสือใครจะเชื่อล่ะครับว่าปกคือส่วนที่ได้รับงบน้อยที่สุด เขาให้เวลาและให้ทุนไปกับการหาข้อมูลเนื้อหาภายในกันมากกว่า ทีนี้หากเราสังเกตกัน คือคนทำปกกับคนทำตัวเล่มเนี่ยมันแยกกัน (ปกญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษปกครอบตัวเล่มอีกทีนึง) ทีนี้พวกหนังสือแบบนี้เนี่ยถ้าเราแกะปกกระดาษออก จะพบว่าปกที่ติดกับตัวเล่มผลิตอย่างโคตรลงทุนเลยล่ะ!! ยกตัวอย่างล่าสุดมีเล่มนึงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ปกนอกแบบเชยมากสีแดงๆ มีรูปวัดวาอารามดอกซากุระ แต่พอแกะปกออกมาดูเท่านั้นแหละ ข้างในเป็นลายตารางสีขาว-แดง สุดชิค ให้อารมณ์เหมือนพิมพ์ประชดคนทำปกกระดาษ 555 เล่มอื่นๆ ก็เหมือนกัน ลองไปแกะมาดูกันได้นะครับ
– “สายคาดปก” มีไว้ทำอะไร?
หากคุณอ่านหนังสือญี่ปุ่น จะพบว่าบนปกนั้นก็จะมีสายคาดปกอีกทีหนึ่ง อันนี้เอาไว้ต่อยอดจากหน้าปกที่แน่นอนว่าทุนไม่เยอะ เขาอาจมีข้อมูลที่ต้องการนำเสนอไม่ครบ อาจจะอยากอัพเดท อาจจะอยากแก้ปกหากหนังสือเกิดได้รับรางวัลขึ้นมา หรืออยากจะใส่คอมเมนต์จากดาราชื่อดังที่บังเอิญชอบหนังสือและชื่นชมผ่านทาง สื่อ ฯลฯ สายคาดนี้คือคือคำตอบครับ เขาจะส่งสายคาดเหล่านี้ไปทางร้านจำหน่ายต่างๆ ให้เอาไปคาดและเปลี่ยนได้ตลอด คือหากมีอะไรอัพเดทก็ไม่ต้องเปลี่ยนปกใหม่เลย เอาสายไปคาดเฉยๆ
ที่สำคัญมันยังหลอกติ่งได้ด้วย กล่าวคือมีช่วงนึงเขาจ้าง AKB48 เป็นพรีเซนเตอร์ให้เลือกหนังสือที่ชอบ แล้วมันจะมีสายคาดของเมมเบอร์ที่เลือกหนังสือคาดไว้ เขียนประมาณว่า “เล่มนี้หนูอ่านนะคะ” เป็นต้น แล้วไงครับ? จากหนังสือที่เราไม่เคยแล พอมาเจอสายคาดรูปดาราคนโปรด เราก็คว้าไปจ่ายเงินทันที โดยที่จนป่านนี้เรายังไม่ได้อ่านหนังสือเลย (บางคนนี่ไล่เก็บสายคาดทุกอันเลย) สายคาดนี่มันเป็นกลยุทธ์ที่ฉลาดจริงๆ !

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจของวงการหนังส่อญี่ปุ่นครับ วงการนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่มากมาย ไว้จะมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ
พบกันใหม่โอกาสหน้าหรือทางทวิตเตอร์ @pumiiiiiiiiii ครับ 🙂