ปัญหาร้ัวข้างบ้าน และเหตุการณ์โนมงฮัง
ปัญหาพิพาทชายแดน เป็นปัญหาคลาสสิคที่เราจะเห็นกันมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ดินแดนของใครพื้นที่ของใคร แม้นรั้วกั้นระหว่างบ้านสองบ้าน เราก็มีปัญหากัน และรั้วกั้นระหว่างประเทศแมงจูกับมองโกลเลียก็เฉกเช่นเดียวกัน
วันที่ 12 เดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 1935 ซึ่งตรงกับพ.ศ. 2478 เป็นปีที่ฮิตเลอร์ส่งทหารเข้าไปในแคว้นไรน์ ส่วนกองทัพมองโกลก็ข้ามแม่น้ำฮาลฮิน ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า แม่น้ำฮะรุฮะ (ハルハ川 : ฮะรุฮะกะวะ) เข้ามาใกล้หมู่บ้านโนมงฮัง ซึ่งมีกองทัพของประเทศแมงจูเฝ้ารักษาการอยู่จึงเกิดการปะทะกันขึ้น
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์โนมงฮัง
พลโทโคะมะซึบะระ มิจิทาโร่ (小松原道太郎中将) หัวหน้าหน่วยรบที่ 23 ประจำการมองโกลใน (Inner mongolia) ส่งกองกำลังออกไปขับไล่กองทัพมองโกล ณ จุดชายแดน
วันที่ 15 ของเดือนเดียวกัน กองทัพมองโกลถูกตีถอยร่นไปยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำฮะรุฮะ กองกำลังขับไล่จึงถอนกำลังกลับมาประจำหน่วยหลัก
แต่ทว่ากองทัพมองโกลและทหารโซเวียตที่ประจำการอยู่ก็เพิ่มกำลังพล ข้ามแม่น้ำฮะรุฮะมายังฝั่งตะวันออกอีกครั้ง สร้างค่ายกำลังพล
หน่วยรบที่ 23 จำเป็นต้องส่งกองพลขับไล่ออกมาอีกครั้ง แต่คราวนี้เผชิญหน้ากับ รถถัง ปืนใหญ่และเครื่องบิน ของกองทัพโซเวียต กลายเป็นว่าฝั่งญี่ปุ่นต้องแตกพ่ายกลับไป
หน่วยบัญชาการของกองทัพคันโต (เป็นกองทัพญี่ปุ่นที่ถูกส่งมายังฝั่งประเทศแมนจู) ต้องการที่จะกำจัดกองทัพโซเวียตจึงเล่นไม้แข็ง ส่งเครื่องบินไปทิ้งบอมบ์ตรงท้ายขบวนกองทัพมองโกลต่อจากนั้นวันที่ 2 เดือนกรกฏาคม หน่วยรบที่ 23 ก็เปิดฉากโจมตี
แต่ว่าหน่วยรบที่ 23 เผชิญหน้ากับการเล่นใหญ่ของกองทัพโซเวียต เอาตัวไม่รอด
เนื่องจากว่า ณ เวลานั้นอยู่ในช่วงสงครามระหว่างจีนญี่ปุ่น ศูนย์บัญชาการใหญ่บนแผ่นดินญี่ปุ่นเห็นว่าไม่อยากสร้างศัตรูเพิ่มกับโซเวียตจึงตัดสินใจที่จะไม่ขยายการต่อสู้ให้ใหญ่โตไปกว่านี้
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้การเจรจาทางการทูตเพื่อหาทางออกด้วยสันติวิธี
แต่ทว่ากองทัพคันโต กลับเพิกเฉยต่อคำสั่งของศูนย์บัญชาการใหญ่ และยังดำเนินการโจมตีขับไล่กองทัพโซเวียตอีกครั้ง
กลับกลายเป็นว่าหน่วยรบที่ 23 ถูกโจมตีจากรถถังของกองทัพโซเวียตจนสลายไปในวันที่ 20 เดือนสิงหาคม
หลังจากนั้นในวันที่ 23 สิงหาคม, เยอรมันกับโซเวียตทำสนธิสัญญาที่จะไม่บุกรุกดินแดนต่อกันวันที่ 1 กันยายน เยอรมันบุกรุกเข้าไปในโปแลนด์เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ศูนย์บัญชาการใหญ่ของญี่ปุ่นออกคำสั่งกองทัพคันโตให้หยุดปฏิบัติการสู้รบในวันที่ 3 กันยายน
ในขณะที่ขั้วอำนาจของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ญี่ปุ่นไม่มีเวลาพอที่จะมาต่อกรกับสหภาพโซเวียตตอนนั้น
วันที่ 9 กันยายน รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขอสงบศึกกับรัฐบาลของสหภาพโซเวียต และทำสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ณ กรุงมอสโก
และนี่คือจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์โนมงฮัน
พื้นที่ของใคร ดินแดนของใคร เป็นปัญหาคลาสสิคที่พบเห็นได้ในทุกหน้าประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ชีวิตประจำวันของพวกเรา
โซเวียตด้วยพื้นที่ของประเทศ และทรัพยาการที่มากกว่า สามารถที่จะระดมอาวุธอย่าง รถถังยิงโจมตีกองทัพคันโต และยิ่งกองทัพคันโตถูกส่งมาไกลจากแผ่นดินญี่ปุ่น ระยะทางความรู้สึกระหว่างกองทัพคันโตและศูนย์บัญชาการใหญ่ก็อาจจะมีได้ ซึ่งประเด็นนี้เป็นสาเหตุของความพ่ายแพ้ในปฏิบัติการโนมงฮันหรือไม่ ก็น่าเอามาขบคิด ในบทความคราวหน้าผมอาจจะมาดูรายละเอียดของความเสียหายของกองทัพคันโต และอาจจะย้อนไปดูว่าทำไม กองทัพคันโตถึงแข็งกร้าวต่อศูนย์บัญชาการใหญ่ในญี่ปุ่น
ผมระลึกถึงเหตุการณ์โนมงฮัน นึกถึงฮนดะซังในนวนิยายเรื่องบันทึกนกไขลาน และคิดว่าจะกลับไปอ่านต่ออีกครั้งเมื่อสบโอกาส
ทักทายพูดคุยกับวสุ ได้ที่ >>> Facebook Wasu’s thought on Japan
เรื่องแนะนำ :
– Nomonhan incident (เหตุการณ์โนมงฮัน) : จุดเริ่มต้น และผลลัพธ์
– ข้าชื่อ โยะริโตะโมะ โชกุนผู้บัญชาการสูงสุด
– Minamoto no Yoshitsune ตอนที่ 23 : จุดจบของโยะชิซึเนะ
– Minamoto no Yoshitsune ตอนที่ 22 : จดหมายจากโคะชิโกะเอะ
– Minamoto no Yoshitsune ตอนที่ 21 : รอยแตกร้าวระหว่างพี่น้อง
แปลจาก
– https://nihonsi-jiten.com/nomonhan-jiken/#i-9
#ปัญหาร้ัวข้างบ้าน และเหตุการณ์โนมงฮัง