โคโด (香道) เป็นศาสตร์เครื่องหอมของญี่ปุ่น ที่อาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในบ้านเรานัก ศาสตร์เรื่องเครื่องหอมนี้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ยุคมุโรมาจิ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่พิธีชงชาและอิเคบานะ เริ่มเป็นที่รู้จัก โคโดถือว่าเป็น1 ใน 3 ศาสตร์ที่ผู้หญิงญี่ปุ่นควรเรียนรู้ไว้
โคโด (香道) ศาสตร์เครื่องหอมของญี่ปุ่น นี้ อาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในบ้านเรา แต่หากวิเคราะห์ถึงชื่อของศาสตร์นี้ก็จะเข้าใจได้ง่ายมาก ตัวอักษรตัวแรก 香 นี้ แปลว่า กลิ่นหอม และ 道 ตัวที่สองก็แปลว่า วิถี หนทาง ดังนั้น “โคโด” จึงเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิถีแห่งกลิ่นหอม

ศาสตร์เรื่องเครื่องหอมนี้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ยุคมุโรมาจิ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่พิธีชงชาและอิเคบานะ เริ่มเป็นที่รู้จัก โคโดถือว่าเป็น1 ใน 3 ศาสตร์ที่ผู้หญิงญี่ปุ่นควรเรียนรู้ไว้ อันได้แก่ อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) ซาโด (พิธีชงชา) และ โคโด (หอมศิลป์ หรือเครื่องหอมแบบญี่ปุ่น)

โคโด เป็นศิลปะของการปรุงกลิ่นเครื่องหอมของญี่ปุ่น มีขั้นตอนหลายอย่าง และต้องอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่นเดียวกับพิธีชงชา โดยกลิ่นหอมที่ได้นั้นมาจากการเผาไม้หอมต่างๆ เครื่องหอมถูกแบ่งเป็น 6 ชนิด ได้แก่ กลิ่นหวาน ขม เค็ม เผ็ดร้อน เปรี้ยว และ ไร้กลิ่น (โคโดจึงมีเพียง 5 กลิ่น)

การสูดดมกลิ่นที่ได้จากความพิถีพิถันในการปรุงกลิ่นนั้น ถือเป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่ง ทำให้ในศาสตร์โคโดนี้เกิดมีการสร้างเกมชนิดหนึ่งขึ้นมาด้วย ชื่อว่า คุมิโกะ (組香) เกมดังกล่าวจะเล่นโดยให้ผู้เล่นร่วมทายกลิ่นที่ปรุงขึ้น โดยจะใช้มือป้องบริเวณขอบถ้วยแล้วดม เพื่อเลี่ยงการสูดดมกลิ่นที่แรงเกินไป และ ส่งวนไปรอบๆ ห้องจนครบ หลังจากนั้นก็ให้ทุกคนคิดและเขียนคำตอบว่า กลิ่นหอมที่ได้ดมไปนั้น เป็นกลิ่นของอะไร หรือเปรียบเทียบกับโคลง กลอน หรือวรรณคดีของญี่ปุ่น ว่ากลิ่นที่ได้ดมนั้นมีภาพลักษณ์เป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม การเล่นนี้ไม่ได้จริงจังกับผลแพ้หรือชนะ แต่หัวใจหลักคือ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและผ่อนคลายไปกับกลิ่นหอมต่างๆ ของธรรมชาติ



1. ขั้นแรกใส่ขี้เถ้าจากแกลบข้าวลงไปในถ้วยที่ใช้ในพิธี

2. ใช้ตะเกียบคนขี้เถ้าตามเข็มนาฬิกาเพื่อให้มีช่องว่างให้อากาศเข้าไปได้
3. หลังจากนั้นใช้ตะเกียบวนเป็นหลุมตรงกลางลึกประมาณ 2 เซนติเมตร เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับใส่ถ่าน
4. คีบถ่านที่ร้อนพอประมาณลงในหลุมที่ทำไว้เมื่อครู่
5. ใช้ตะเกียบทำเนินขี้เถ้ารอบก้อนถ่านเริ่มจากขอบวนทวนเข็มนาฬิกา

6. ใช้ Haioshi แท่งเหล็กที่มีรูปทรงปากแบนกดขี้เถ้าให้เรียบโดยมีหลักคือถือ Haioshi ในแนวขนานกับไหล่และกดแท่งเหล็กลงไปบนขี้เถ้าอย่างเบามือในขณะที่หมุนถ้วยทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ

7. เมื่อได้ผิวขี้เถ้าที่เรียบแล้วก็จะวาดลวดลายขี้เถ้าโดยมี 3 แบบเรียงตามความนิยมมากไปน้อยได้แก่ Shin-kouro (Shin-bai), Gyou-kouro (Gyou-bai), และ Sou-bai (Sou-kouro)

8. หลังจากวาดลวดลายขี้เถ้าเสร็จให้ใช้ตะเกียบสร้างรูตรงกลางที่ตรงกับตำแหน่งของถ่านเพื่อให้มีช่องให้ความร้อนผ่านออกมาได้
9. ทำความสะอาดผงขี้เถ้าด้วย Habouki ที่มีปลายเป็นขนนก

10. วางแผ่นจานเล็กที่เรียกว่า Gin-you ลงตรงกลาง
11. คีบชั้นไม้หอมลงบนแผ่นจานเมื่อสักครู่

12. ใช้มือซ้ายรองถ้วยและปิดปากถ้วยด้วยมือขวา เหลือช่องว่างเพื่อใช้ในการ “ฟัง” เสียงจากกลิ่น ในศาสตร์โคโดนี้จะใช้ภาพของการสดับฟังเสียงจากกลิ่นไม่ใช่การดม เป็นศิลปะของการเพลิดเพลินไปกับกลิ่นหอมที่ต่างไปจากปกติค่ะ

คุณประโยชน์ของศาสตร์โคโดนี้ ได้มีการบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยมุโรมาจิ โดยเรียกว่า “คุณสิบประการของกลิ่นหอม” (香の十徳) ผู้ที่ศึกษาและฝึกฝนโคโดจะได้รับคุณต่างๆ ดังนี้
1. | ประสาทสัมผัสต่างๆ จะได้รับการขัดเกลา |
2. | ฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจให้ผ่องใส |
3. | ชำระสิ่งไม่บริสุทธิ์ออกไป |
4. | กระตุ้นความตื่นตัว |
5. | สร้างความเคยชิน และสงบในความสันโดษ |
6. | ในช่วงความวุ่นวาย โคโดจะมอบช่วงเวลาแห่งความสงบให้ |
7. | เมื่อมีกลิ่นมากมาย ก็ไม่รู้เบื่อ |
8. | เมื่อมีกลิ่นน้อย ก็ยังส่งกลิ่นให้เพียงพอ |
9. | เก็บรักษากลิ่นหอมไว้ได้ยาวนาน โดยคงสภาพกลิ่นเช่นเดิม |
10. | ใช้ได้ทุกวัน ไม่มีโทษ |
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับ โคโด อีกหนึ่งศาสตร์ที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นศาสตร์นี้สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ทั้งหญิงและชายนะคะ คลิปในบทความนี้เป็นบรรยากาศร้านเครื่องหอมที่มีชื่อแห่งหนึ่งของเกียวโตค่ะ ชื่อร้าน Yamada Matsu ผู้ที่สนใจหากไปในย่านเกียวโต เมืองแห่งวัฒนธรรม ลองมองร้านจำหน่ายเครื่องหอมสักร้าน และแวะไปเยี่ยมชมกันดูก็ไม่เลวนะคะ
ทักทายพูดคุยกับ AME.dama ได้ที่ >>> Facebook AME.dama
เรื่องแนะนำ :
– 6 ยาทาเล็บรุ่นนิยมจากร้านร้อยเยน
– กระแส “กะหล่ำปลีม้วน” จากภาพยนตร์ “ถ้าแมวตัวนั้น หายไปจากโลกนี้”
– CouCou สวยหวานในราคา 300 เยน
– นิสัย 5 ประเภท ในกลุ่มคุณมีประเภทไหนบ้าง!?
– 10 อันดับลักษณะคุณผู้หญิงที่ดูท่าจะโสดตลอดชีวิต
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาย
http://www.japanese-incense.com/
http://en.wikipedia.org/wiki/K%C5%8Dd%C5%8D
http://japanhouse.typepad.com/photos/uncategorized/2008/03/12/incense_utensils_2.jpg
http://dolphinseashore.blog.ocn.ne.jp/photos/uncategorized/2010/04/14/img_23801.jpg
http://www.kaoder.com/upload/attach/000/237/23778.jpg
http://www.aroma-taku.com/data/aroma-taku/image/fp/image183.jpg
http://wmp.wasou.com/?attachment_id=1834
http://yakushiji.cocolog-nifty.com/photos/uncategorized/2008/11/photo.jpg