นวนิยายญี่ปุ่นสมัยเอโดะที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายลึกลับของจีน เรื่องราวจุดจบของชายหนุ่มเจ้าชู้จะเป็นเช่นไร…..
เรื่อง คิบิท์ซุ โนะ กะมะที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นนวนิยายสมัยเอโดะของญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายลึกลับของจีน เป็น 1 ในเรื่องสั้น 9 เรื่องของอุเอะดะ อะกินะริ นักเขียนที่มีชื่อในสมัยนั้นในผลงานที่มีชื่อว่า อุเกะท์ซุโมะโนะงะตะริ(雨月物語, Ugetsu monogatari)


นานมาแล้วได้มีงานหมั้นหมายระหว่างลูกสาวของพระในศาลเจ้าคิบิท์ซุ นามว่า “อิโซะระ” กับ “โฌตะโร” ชายหนุ่มเจ้าชู้จากครอบครัวเกษตรกร ก่อนงานแต่งงานบิดาของอิโซระซึ่งเป็นพระได้ทำพิธีทำนายด้วยวิธี คิบิท์ซุ โนะ กะมะ(吉備津の釜)* (อธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง) หากหม้อหุงมีเสียงออกมาจะหมายถึงลางดี แต่หากไม่มีเสียงออกมาจากหม้อหุงจะหมายถึงลางร้าย ปรากฏว่าไม่มีเสียงเล็ดลอดออกมาจากหม้อหุงแม้เพียงสักนิดบ่งบอกได้ว่าเป็น ลางร้าย บิดาของอิโซะระจึงไม่ยินดีกับงานแต่งงานเสียเท่าไหร่ แต่ท้ายสุดก็ต้องยอมรับงานแต่งงานตามคำขอของลูกสาว

เมื่อแต่งงานออกเรือนไปแล้ว โฌตะโรก็ไม่ทิ้งลายความเจ้าชู้ยังคงมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่เสมอ แต่อิโซะระก็พยายามเป็นภรรยาที่ดีโดยหวังว่าสักวัน โฌตะโรจะหันมามองแค่ตน ทว่าโฌตะโรหาได้รู้สำนึกไม่ซ้ำยังหลอกขอเงินอิโซะระโดยอ้างว่าจะเข้าเมืองหลวงเพื่อไปฝึกตนแล้วจะกลับมาหาอิโซะระอย่างแน่นอน

อิโซะระที่หลงเชื่อยอมขายกิโมโน กระจกทรัพย์สินส่วนตัวเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินให้สามีที่รัก แต่แล้วโฌตะโรก็นำเงินนั้นหนีไปกับหญิงซึ่งเป็นชู้รักแล้วไม่หวนกลับมาอีก อิโซะระแค้นใจจนป่วยตายจากโลกไป และการล้างแค้นของวิญญาณอาฆาตก็ได้เริ่มต้นขึ้น…….

วิญญาณแค้นของอิโซะระได้เข้าสิงหญิงชู้รักชองโฌตะโรจนล้มป่วยตายไป โฌตะโรซึ่งถูกหมายเอาวิญญาณเช่นเดียวกันได้หนีสุดชีวิตและได้พบกับนักบวชรูปหนึ่งซึ่งให้คำแนะนำว่าโฌตะโรจะต้องสวดมนต์ติดต่อกันเป็นเวลา 49 วันในกระท่อมหลังหนึ่งซึ่งได้แปะยันต์กันวิญญาณร้ายเอาไว้โดยห้ามออกมาจาก กระท่อมจนกว่าจะครบ 49 วันเป็นอันขาด



”ท่านโฌตะโรเจ้าคะ…เปิดประตูให้ข้าได้เห็นหน้าท่านด้วยเถิด…ข้าอิโซะระภรรยาของท่านอย่างไรเล่าเจ้าคะ…”

หญิงสาวที่อีกฝั่งของประตูตอบกลับมาด้วยเสียงอันปวดร้าว
“ท่าน…ช่างโหดร้ายเหลือเกิน…ทั้งๆ ที่ข้าเดินทางตามหาท่านที่รักยิ่งมาไกลถึงขนาดนี้…..”

“ข้าเฝ้ารอคอยการกลับมาของท่านมาตลอด!!! ”
แต่อิโซะระก็ไม่สามารถเข้าไปในกระท่อมที่โฌตะโรอยู่ได้เนื่องจากยันต์ที่นักบวชได้ติดเอาไว้

“อ๊ากกก!!!” เสียงโหยหวนอย่างทรมานดังขึ้นและนั่นคือเสียงสุดท้ายที่หลุดออกจากปากของชายหนุ่ม…

เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับชื่อเรื่อง “ คิบิท์ซุ โนะ กะมะ(吉備津の釜)”


กะมะ(釜) คือหม้อหุงข้าวแบบที่คนญี่ปุ่นใช้หุงข้าวแต่โบรา�

คิบิท์ซุ โนะ กะมะ(吉備津の釜)ที่ปรากฏในตอนต้นเรื่องก็คือ พิธีเสี่ยงทายที่อาศัยเสียงตอนหุงข้าวหลังการสวดเป็นเครื่องบอกลางดีและลางร้าย โดยจะใช้หม้อหุงที่มีลักษณะพิเศษดังรูปด้านบน ใส่ข้าวและหุงให้เดือดเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นก็จะมีเสียงตามธรรมชาติ หากยกหม้อหุงเดินไปยังผู้คนหรือบริเวณบ้านแล้วเสียงหยุดลงแค่ตรงจุดใดจุด หนึ่งและเมื่อเดินห่างออกมาจากจุดนั้นกลับมีเสียงดังตามเดิม นั่นแปลว่าคนๆ นั้นหรือบริเวณพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่บริเวณนั้นจะเกิดเรื่องไม่ดีอย่าง เจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ในทางกลับกันหากเสียงดังและยาวนานเท่าไหร่นั้นก็ยิ่งหมายถึงเรื่องดีมากขึ้น เท่านั้น
และแรงบันดาลใจที่ทำให้ AME.dama หยิบเรื่องนี้มาหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วเรียบเรียงเขียนบทความก็คือหนังสือ เล่มนี้ค่ะ “ประวัติวรรณคดีญี่ปุ่น” เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถยา สุวรรณระดา ใครที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีของประเทศญี่ปุ่นขอแนะนำค่ะเนื้อหา ครอบคลุมประวัติวรรณคดีญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณก่อนมีตัวอักษรใช้จนถึงยุคเอโดะเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก :
-อรรถยา สุวรรณระดา. ประวัติวรรณคดีญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
-https://www.youtube.com/watch?v=jyqxbGgikVw
-http://www.mitomori.co.jp/best38_2.html
-http://www.jiiya.com/meidouoke.JPG
-http://www.ueda-houi-butsugu.com/shop_shukendouyouhin-horagai/main-photo/p112-15.jpg
-http://www.hirahaku.jp/hakubutsukan_archive/minzoku/00000065/image/00011315.jpg
-http://pds.exblog.jp/pds/1/201009/04/09/a0157609_16175365.jpg
-http://goo.gl/CeTam4
#คิบิท์ซุ โนะ กะมะ