วันนี้ก็เลยจะพาทุกคนมารู้จักเกี่ยวกับเรื่อง “เรตติ้งของละครญี่ปุ่น” ค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างมาดูกันเลยยย
ในประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่นิยมรับชมสื่อโทรทัศน์มากๆ เลยค่ะ ดังจากสถิติของสถานีโทรทัศน์ NHK ที่เคยทำไว้เมื่อปี 2000 ว่า มีผู้รับชมโทรทัศน์ทุกวันมากถึง 95% โทรทัศน์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้มีอยู่ 86% และโทรทัศน์มีความสำคัญเทียบเท่ากับหนังสือพิมพ์อีก 68% จากสถิตินี้ชี้ให้เห็นว่าสื่อโทรทัศน์เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมแบบสุดๆ ในญี่ปุ่นค่ะ และถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีสื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็ตาม
การทำละครนั้น “เรตติ้ง” ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้จัดและทางช่องมีความคาดหวัง และด้วยความน่าสนใจของเรตติ้ง วันนี้ก็เลยจะพาทุกคนมารู้จักเกี่ยวกับเรื่อง “เรตติ้งของละครญี่ปุ่น” ค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างมาดูกันเลยยย
ระบบการนับเรตติ้ง
ที่ญี่ปุ่นเวลาวัดเรตติ้งจะแบ่งเป็น 2 เขตใหญ่ๆ ค่ะ คือ เขตคันโต (ตะวันออก) ประกอบด้วย โตเกียว ชิบะ อิบารากิ ไซตามะ กุนมะ โทชิกิ และ คานางาว่า อีกเขตคือ คันไซ ประกอบด้วย โอซาก้า เกียวโต เฮียวโง นารา ชิงะ และ วากายามะ
ส่วนหน่วยงานที่มารับผิดชอบด้านการสำรวจเรตติ้งก็มีหลายบริษัทค่ะ แต่บริษัทที่น่าเชื่อถือสุดๆ ในตอนนี้ก็คือ Video Research Ltd
เรตติ้งละครญี่ปุ่นมีความสำคัญไฉน
เรตติ้งละครญี่ปุ่นมีความสำคัญค่ะ เพราะยิ่งเรตติ้งแรง ก็จะยิ่งได้ค่าโฆษณาดี รวมถึงตัวดาราเองก็จะได้รับผลประโยชน์ในหน้าที่การงานของตัวเองไปด้วย ทำให้มีโอกาสรับงานได้มากขึ้น รวมถึงพวกละครช่วง Prime Time ก็มักจะคัดเลือกนักแสดงจากเรตติ้งที่ได้รับในเรื่องก่อนๆ ด้วย และเมื่อมีการแข่งขันเรื่องเรตติ้งสูงอีกคนที่จะได้รับผลประโยชน์ก็คือ “คนดู” ค่ะ คนดูก็จะมีโอกาสได้รับชมละครดีๆ มีความแปลกใหม่ และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
กลยุทธ์เรื่องเรตติ้ง
“เรต ติ้ง” ก็เป็นสิ่งที่ทางช่องและผู้จัดให้ความคาดหวังมากใช่ไหมคะ เพื่อที่จะได้มา มันก็ต้องมีกลยุทธ์เรียกเรตติ้งซะหน่อย ซึ่งแต่ละสถานีโทรทัศน์ก็จะมีกลยุทธ์ที่ต่างกันค่ะ ก็ขึ้นอยู่กับจุดยืนทางช่องด้วยว่ามักจะนำเสนอละครแนวไหนในการเรียกคนดู อย่างเช่น

– สถานีโทรทัศน์ Fuji TV ใน ช่วงเวลา Prime time ก็มักจะนำเสนอละครแนวความรักเรียกเรตติ้ง สมัยก่อนเราจะเห็นได้ชัดเลยค่ะว่า ในเวลา 3 ทุ่ม ทุกวันจันทร์ ช่อง Fuji จะเป็นละครรักโรแมนติกค่ะ แต่ปัจจุบันนี้ก็เริ่มหลากหลายแนวแล้ว อาจเป็นเพราะว่าละครรักนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าไร แต่หันมาใช้นักแสดงที่ได้รับความนิยมแทน
– สถานี NTV เน้นแนวครอบครัว ละครวัยรุ่น ที่ให้ความรู้สึกดี อบอุ่นใจ เพิ่มพลังในการดำเนินชีวิต
– สถานี TV Asahi เน้นแนวสืบสวนสอบสวน
– สถานี TBS สถานีนี้จะเน้นละครแนวหนักๆ หน่อยค่ะ มีทั้งสืบสวน และละครชีวิต เป็นเจ้าตำรับที่นำนวนิยายมาสร้างเป็นละคร
– สถานี NHK เจ้านี้มีละครไทกะหรือละครแนวประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นจุดขาย
นอกจากเรื่องของแนวละครก็จะมีปัจจัยอื่นๆ อีกค่ะ เช่น เรื่องของเพลงประกอบละคร บางทีดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกันมาก แต่ก็มีผลเช่นกันค่ะ ถ้าเรื่องไหนมีเพลงประกอบที่ดัง ติดหู ร้องโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ก็จะส่งผลให้ละครเรื่องนั้นเป็นที่รู้จัก และถ้าละครดัง ก็ส่งผลให้เพลงนั้นขายดีได้เช่นกันค่ะ เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าเลยทีเดียว ซึ่งมีละครเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจค่ะ ก็คือเรื่อง “oshi Densetsu no Onna” ได้ศิลปินสาว PERFUME มาร้องเพลงประกอบให้

และมีอยู่ตอนหนึ่ง ในช่วงเพลงตอนจบละครก็ทำเป็นมิวสิควิดีโอให้สาว PERFUME มาปรากฏตัวร่วมกับนักแสดงในเรื่อง และให้นักแสดงของเรื่องมาเต้นตามเพลงประกอบเหมือนกับสาวๆ PERFUME ดูไปดูมาก็น่ารักดีเหมือนกัน สร้างความสนใจได้ไม่น้อยเลยค่ะ
หรือจะเป็นเรื่องสินค้าจากละครค่ะ ละครญี่ปุ่นในแต่ละเรื่องจะมีสินค้ากิ๊ฟเซ็ทค่ะ ก็จะมีทั้งแก้วกาแฟ พวงกุญแจ อะไรพวกนี้ค่ะ ของเล็กๆ น้อยๆ น่ารักๆ แล้วสกรีนสัญลักษณ์ของละครเรื่องนั้นๆ เหมือนเป็นของที่ระลึกให้กับแฟนละคร อีกทั้งยังทำให้ชื่อละครเข้าถึงคนได้มากขึ้นค่ะ หรือจะเป็นวิธีการโปรโมตต่างๆ ค่ะ ก็จะมีทั้งป้ายโฆษณา หรือการไปโปรโมตตามรายการต่างๆ เป็นต้น

ซึ่งในเรื่องตัวละครเอกจะชอบกินโดนัท
และใช้โดนัทในการไขคดี ถือว่าเป็นสัญลักษณ์เด่นๆ ของละครเรื่องนี้เลย

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเรตติ้งก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยในเรื่องของเวลาด้วย เช่น ละครตอนเช้ามักจะมีเรตติ้งที่ไม่ค่อยแรงมากนัก เนื่องจากว่าเป็นช่วงเวลาที่คนต้องออกไปทำงาน แต่ก็ไม่เสมอไปค่ะ เพราะมีละครตอนเช้าบางเรื่องที่ได้เรตติ้งสูงเช่นกัน ถ้าเป็นเรื่องที่พล็อตสนุก น่าสนใจ เช่น เรื่อง “Oshin” หรือจะเป็นเรื่อง “Amachan” เป็น ละครตอนเช้าที่ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่นค่ะ ส่วนละครตอน 3 ทุ่ม เป็นต้นไป มักจะได้รับความนิยม เพราะว่าเป็นช่วงที่คนกลับจากที่ทำงาน อาบน้ำ กินข้าว นั่งอยู่หน้าจอทีวี แล้วก็เรื่องของฤดูกาลก็มีผลค่ะ เขาว่ากันว่าฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาที่ละครทำเรตติ้งได้สูง เพราะอากาศหนาวเนี่ยแหละค่ะ ที่ทำให้ผู้คนเลือกที่จะนอนดูทีวีอยู่บ้านมากกว่าที่จะออกไปเที่ยวเล่นข้าง นอก
เกณฑ์การวัดเรตติ้ง
เพื่อนๆ บางคนคงเคยได้แวะเข้าไปดูเรตติ้งของละครตามเว็บละครญี่ปุ่นอย่างเช่น Dramawiki หรือไม่ก็ TokyoHive ที่มักจะรายงานผลเรตติ้งละครออกมาให้เราได้เห็นกันอย่างละเอียด ส่วนใหญ่จะคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ค่ะ แต่เคยสงสัยกันไหมว่า แล้วเรตติ้งระดับไหนถึงจะเรียกได้ว่าดีหรือไม่ดี งั้นมาดูกันเลยค่ะ
1-5 | น้อยไปนิด |
6-9 | ยังพอไหวอยู่ |
10-15 | ระดับเกณฑ์เฉลี่ย ละครญี่ปุ่นปกติทั่วไปจะอยู่ระดับนี้ค่ะ |
16-20 | ดีเลยทีเดียว |
21-25 | เยี่ยม |
26-29 | เลิศ |
30 ขึ้นไป | ล้ำ ละครที่มาถึงระดับนี้ถือได้ว่าไม่ธรรมดาเลยค่ะ |

ตัวอย่างละครที่มีเรตติ้งสูงเกินกว่า 30% ก็คือเรื่องนี้เลยค่ะ “Hanzawa Naoki” กวาด เรตติ้งตอนสุดท้ายได้ถึง 42.2% เลยทีเดียว ทั้งๆ ที่ฉายในวันอาทิตย์ เวลา 3 ทุ่มที่เขาว่ากันว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคนชมโทรทัศน์น้อยสุดๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ละครที่ขึ้นแท่นในระดับนี้ก็จะมี “Kaseifu no Mita” ที่ได้เรตติ้ง 40% ในตอนสุดท้าย หรือเรื่อง “HERO” ของทาคุยะ คิมูระ ที่เคยทำเรตติ้งตอนสุดท้ายได้ถึง 36.8%

และในละครฤดูร้อน ปี 2014 นี้ เขาก็ได้กลับมาอีกครั้งกับ HERO ภาค 2 ค่ะ และได้ลงฉายในเวลา Getsu9 หรือ เวลานาทีทองของเรตติ้งละคร ที่เขาว่ากันว่าเป็นช่วงเวลาที่กวาดเรตติ้งได้ดีทีเดียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่กำลังถูกจับตามองเป็นอย่างมากค่ะ
และนี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับเรตติ้งละครญี่ปุ่นค่ะ เป็นเกร็ดน่ารู้อีกอย่างที่แฟนละครญี่ปุ่นไม่ควรพลาด เรื่องเรตติ้งละครก็อาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของวัน-เวลาฉาย รวมถึงการโปรโมตต่างๆ แต่ที่แน่ๆ ละครจะได้รับความนิยมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพล็อตละครเป็นหลักค่ะ ถ้าเนื้อหาสนุก น่าสนใจ มีข้อคิด ได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะฉายเวลาไหน คนดูก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างแน่นอน อย่างเช่น เรื่อง “Hanzawa Naoki” ทั้งๆ ที่ฉายในเวลาที่ไม่ค่อยสวย แต่ก็เป็นละครที่กวาดเรตติ้งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของญี่ปุ่นมาแล้ว !
ก่อนที่จะเป็นละครเรตติ้งดีได้นั้น ต้องเป็นละครน้ำดีมาก่อนค่ะ !