ในญี่ปุ่นเริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรมมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้ง 2 ช่วงฟื้นฟูประเทศ พนักงานต้องร่วมมือร่วมใจกันทำงานหนัก อะไรน๊าที่เป็นเคล็ดลับสุขภาพดีของคนญี่ปุ่น มาดูกันต่อเลยค่ะ ^^
อย่างที่กล่าวไว้ใน “เคล็ดลับสุขภาพดีของคนญี่ปุ่น ตอนที่ 1” ว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ มีนิสัยทุ่มเทให้กับการทำงานมาก จนมีคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อยเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว แต่ปัจจุบันพวกเขาก็หันมาใส่ใจกับสาเหตุ รวมทั้งเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดจากการคุกคามของออฟฟิศซินโดรมกันเยอะขึ้นแล้วนะ
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ถือเป็นอาการยอดฮิตของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะ ในญี่ปุ่นเริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรมในเห็นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้ง 2 ช่วงที่ญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศ พนักงานต้องร่วมมือร่วมใจกันทำงานหนัก 12 ช.ม./วันหรือมากกว่านั้น… 6 หรือ 7 วันต่อสัปดาห์… จนคำว่า Karoshi (過労死) เกิดขึ้น แปลตรงๆ ว่า “ความตายจากการทำงานหนักเกินไป” เป็นคำที่ใช้เรียกการเสียชีวิตจากการทำงานหนักนั่นเอง (คงตายกันไม่น้อย) ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าทำงานหนักปานนั้น ร่างกายก็พังน่ะสิ พนักงานยุคนั้นคงเพลียกาย เพลียใจกันสุดๆ อ่ะเนอะ
แม้การทำงานหนักเว่อร์อย่างนั้นจะเริ่มผ่อนคลายลงไปในช่วงฟองสบู่แตก ช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่จริงๆ …แต่คนญี่ปุ่นก็ยังทำงานหนักเป็นบ้าเป็นหลังอยู่ดี อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั่นแหล่ะ แล้วอะไรน๊าที่เป็นเคล็ดลับสุขภาพดีของคนญี่ปุ่น…
อาการเบื้องต้นของออฟฟิศซินโดรม เริ่มจาก.. ปวดเมื่อยตามเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ เคล็ด ขัด ยอกบริเวณคอ บ่า หลัง ไหล่ ถ้าเป็นมากขึ้น อาจจะนอนไม่ค่อยหลับไปเลยก็มี และแม้จะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หลักๆ แล้วเกิดจากพฤติกรรมของเราเองทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง เดิน ยืน นอน เราอาจจะคิดว่านั่น! เป็นท่าทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะเรารู้สึกสบายกับท่านั้นๆ แต่ที่จริง เราอาจกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัวก็ได้ …
แล้วถ้าต้องอยู่ในท่าผิดๆ แบบนั้นนานๆ ทุกวัน ออฟฟิศซินโดรมถามหาอย่างแน่นอน!! โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนญี่ปุ่นผู้ที่ทำงานล่วงเวลาเป็นอาชีพหลัก ทำงานในวันหยุดเป็นอาชีพเสริม นั่งหลังขดทุกวันนี่แหล่ะ ใช่เลย!! รอดยาก!! เหอ เหอ
อ้อ! คนไทยสมัยนี้ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นนะ นอกจากท่านั่งผิดๆ แล้ว การเล่น Smart Phone หรือ Tablet นานๆ ก็มีอาการได้เหมือนกัน คงเพราะเราต้องขยับนิ้ว ขยับข้อมือซ้ำๆ ใช้กล้ามเนื้อเดิมๆ ความเมื่อยล้าก็เลยเกิดละมั้ง
แล้วจะทำยังไงถึงจะรอดจากอาการออฟฟิศซินโดรมล่ะ …
ยังไม่สายเกินแก้ค่าาาา ฝึกท่านั่งใหม่ เอาให้เหมาะกับการนั่งโต๊ะทำงานจริงๆ จะได้นั่งได้นานๆ โดยไม่ทำร้ายตัวเอง แล้วก็หัดพักสายตาซะบ้าง เดินเล่นยืดกล้ามเนื้อนิด คลายกล้ามเนื้อหน่อย หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอัดวิตามินเข้าไปบ้าง มันช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะเจ้าวิตามินบี 1 … บอกเลยว่า! อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดง่าย หายได้ (ไม่ยาก..ถ้าเรามีวินัย) แต่ก็กลับมาเป็นอีกได้เรื่อยๆ ถ้าเราลืมที่จะดูแลตัวเอง

ณ จุดนี้ … เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ หันมามองวิตามินบี 1 กันมากขึ้นก็ดีนะ ปัจจุบันนี้คนญี่ปุ่นก็หันมาโดฟกันเยอะ เพราะมันมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูความเมื่อยล้าให้กับร่างกายที่ผ่านการกรำศึก (ทำงานๆ อย่าคิดเยอะ) มาอย่างหนัก และพอมีเจ้าอนุพันธ์ของวิตามินบี 1 ที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าวิตามินบีปกติ ยิ่งดีใหญ่… ถ้ากินอย่างต่อเนื่อง เหนื่อยหนักมาจากไหน วันรุ่งขึ้นร่างกายก็จะไม่ย่ำแย่ ฟื้นตัวได้เร็ว ความเมื่อยล้าก็จะบรรเทาเบาบาง พร้อมทำงานต่อได้ … ซุปเปอร์ ซาลารี่มัง มาแล้ว!!

นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยของประเทศญี่ปุ่นเรื่อง “Clinical effects of VB-11 tablets on asthenopia, stiffness in shoulders, lumbago, etc.” ที่ถูกตีพิมพ์ใน Sinryo to Shinyaku (Medical Consultation & New Remedies) เมื่อเดือนมกราคม ปี 1996 ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของ “อนุพันธ์วิตามินบี 1” ไว้หลายอย่างทีเดียว ก็ไม่น่าแปลกใจนะ หากคนญี่ปุ่นจะนิยมกินเจ้าอนุพันธ์ของวิตามินบี 1 นี้กันมากโดยเฉพาะในหมู่คนทำงานที่ต้องทำงานหนัก เครียด และอยู่กับโต๊ะทำงาน อยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นวันๆ ก็เจ้าอนุพันธ์นี้สามารถช่วยฟื้นฟูความเมื่อยล้าให้กับดวงตา ผ่อนคลายความปวดเมื่อยให้กับช่วงต้นคอ บ่า และไหล่ ส่วนผู้ที่ต้องทนกับการเจ็บปวดที่บริเวณบั้นเอวเพราะต้องนั่งเกร็งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอด ว่ากันว่าเจ้าอนุพันธ์ของวิตามินบี 1 นี่ก็สามารถบรรเทาได้อย่างเห็นผลล่ะจ้า … โชคดีของพวกเราที่วิตามินบี 1 ที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 จากประเทศญี่ปุ่นเริ่มวางขายที่ไทยแล้ว ไม่ต้องไปรอช้อปที่ญี่ปุ่นอย่างเดียว

ประสิทธิภาพขั้นเทพในการทำงานจะบังเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้จักดูแลตัวเองก่อนนะคร้าาาา เราเตือนคุณแล้ว!! 😉
ขอบคุณข้อมูล :
-http://en.wikipedia.org/wiki/Kar%C5%8Dshi
-http://aje.oxfordjournals.org/content/154/9/803.long
-https://www.jstage.jst.go.jp/article/indhealth/43/2/43_2_341/_pdf
-http://www.thaihealth.or.th/Content/25788-10%20อาการออฟฟิศซินโดรม.html
-http://jglobal.jst.go.jp/public/20090422/200902146537065270#jgid200902146537065270
-http://www.msdbangkok.go.th/healthconner_Office%20syndrome.htm