การละเล่นของเด็กญี่ปุ่นเองก็มีหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นกัน คือคนที่เล่นเป็นฝ่ายที่มีอำนาจหรือเป็นฝ่ายไล่ล่าผู้เล่นคนอื่น จะถูกเรียกว่า 鬼 (โอนิ) ซึ่งแปลว่า ‘ยักษ์’ ในวันนี้จะขอยกตัวอย่างเกมที่เล่นง่ายๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดๆ เผื่อชาว marumura จะได้เอาไปเล่นกับน้องๆ ลูกๆ หลานๆ ให้ลองเป็นเด็กญี่ปุ่นกันดูบ้าง
ไม่ว่าชาติไหนๆ ก็มีการละเล่นทั้งของเด็กและผู้ใหญ่เพื่อความบันเทิงและการผ่อนคลาย การละเล่นของเด็กญี่ปุ่นเองก็มีหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นกัน คือคนที่เล่นเป็นฝ่ายที่มีอำนาจหรือเป็นฝ่ายไล่ล่าผู้เล่นคนอื่น จะถูกเรียกว่า 鬼 (โอนิ) ซึ่งแปลว่า ‘ยักษ์’ ในวันนี้จะขอยกตัวอย่างเกมที่เล่นง่ายๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดๆ เผื่อชาว marumura จะได้เอาไปเล่นกับน้องๆ ลูกๆ หลานๆ ให้ลองเป็นเด็กญี่ปุ่นกันดูบ้าง

เกมนี้เป็นภาคต่อจากเกมเป่ายิ้งฉุบ เมื่อผู้เล่นสองคนเป่ายิ้งฉุบกันแล้ว ผู้ชนะจะมีสิทธิ์เลือกชี้นิ้วไปทิศใดทิศหนึ่งใน 4 ทิศ คือ บน ล่าง ซ้าย และขวา โดยระหว่างที่ลากนิ้วลอยไปมาอยู่หน้าผู้แพ้ก็จะพูดไปพลางว่า“อัจจิ มุยเทะ…” (หันไปทาง…) และเมื่อพูดว่า “โฮ่ย!” (โน้น!) ก็จะชี้นิ้วไปที่ทิศหนึ่งใน 4 ทิศที่กล่าวมา ถ้าหากผู้แพ้หันไปตามทิศที่นิ้วชี้ไปก็จะแพ้และโดนลงโทษ แต่ถ้าหากหันไปทิศอื่นที่ไม่ใช่ทิศที่นิ้วชี้ไปก็จะรอดจากบทลงโทษ

เกมนี้คล้ายๆ กับเกม “เอ อี ไอ โอ ยู หยุดดดด!” หรือ “โอออออ เล่!” ของบ้านเรา วิธีการเล่นก็คือ ต้องเลือกคนที่จะเป็นยักษ์ก่อนด้วยวิธีเป่ายิ้งฉุบหรือจับไม้สั้นไม้ยาว เป็นต้น หลังจากนั้นจะให้คนที่เป็นยักษ์ยืนหันหน้าเข้าหาต้นไม้ ผนังกำแพง หรือเสา ในขณะที่ผู้เล่นคนอื่นถอยห่างทิ้งระยะ (แล้วแต่กำหนด) ออกมาจากยักษ์

หลังจากนั้นยักษ์จะพูด 10 ตัวอักษร (ไม่เชื่อนับเป็นตัวๆ ได้เลย 10 ตัวจริงๆนะคะ) だ-る-ま-さ-ん-が-こ-ろ-ん-だ ช่วงที่พูดนี้ผู้เล่นคนอื่นก็จะต้องรีบวิ่งเข้าไปแตะตัวยักษ์ให้ได้ แต่เมื่อยักษ์พูดจบ 10 ตัวอักษรแล้วหันกลับมา ผู้เล่นทุกคนจะต้องหยุดวิ่งและค้างอยู่ในอิริยาบถนั้นจนกว่ายักษ์จะหันกลับไปพูดต่อ ผู้เล่นคนแรกที่สามารถเข้าไปแตะตัวยักษ์จะได้เล่นเป็นยักษ์ในเกมถัดไป เห็นเด็กๆ ยืนตัวแข็งกันอย่างตั้งอกตั้งใจแล้ว ดูน่ารักดีนะคะ
เกมนี้มีที่มาจาก สมัยก่อนกลุ่มเด็กของชาวญี่ปุ่นจะมีทั้งเด็กเล็กและเด็กโต มีหลายอายุดังนั้นการนับเลข 1 – 10 สำหรับเด็กเล็กที่เล่นเป็นยักษ์อาจยากเกินไป จึงใช้วิธีพูดเป็นตัวอักษร 10 ตัวแทน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็จะมีวลี 10 ตัวอักษรที่แตกต่างกันไป เช่น แถบคันโตจะพูดว่า イ-ン-ディ-ア-ン-の-ふ-ん-ど-し (อินเดียน โนะ ฟุนโดชิ) ซึ่งแปลว่า ผ้าเตี่ยวของอินเดียนแดง หรือที่น่าประหลาดใจแบบว่าอย่างนี้ก็มีด้วย ก็คือวลีหนึ่งของโตเกียวคือ ウ-ル-ト-ラ-マ-ン-が-負-け-た (อุรุตารุมาน กะ มาเคตะ) ซึ่งแปลว่า อุลตร้าแมนแพ้แล้ว เป็นต้น

ใครที่สนใจวลี 10 ตัวอักษรของการละเล่นนี้ในแต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่นสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากงานเขียนของคุณ おまとめマンさん นะคะ ตามลิ้งค์นี้ http://matome.naver.jp/odai/2125488338854755267
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สองเกมนี้เข้าใจง่ายและเล่นไม่ยากด้วย เพื่อนๆ ชาว marumura ลองนำไปเล่นกันดูนะคะ ขอให้สนุกค่ะ
ทักทายพูดคุยกับ AME.dama ได้ที่ >>> Facebook AME.dama
เรื่องแนะนำ :
– บันทึกการอ่านแบบใหม่ด้วยสมุดบัญชี!
– ทำนายรักจากการเป่ายิ้งฉุบ
– รูปแบบความรักฉบับภาษาญี่ปุ่น
– มุมน่ารักแอบฮาวาเลนไทน์ญี่ปุ่น
– วิธีมอบช็อคโกแลตวาเลนไทน์ให้เธอรู้ความในใจ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
http://matome.naver.jp/odai/2125488338854755267
http://www.ja.wikipedia.org/
http://nextsociety.blog102.fc2.com/blog-entry-1474.html
http://d.hatena.ne.jp/oimoya/200704
http://www.moj.go.jp/jinkennet/kanagawa/kako/17_photcon/22.html
http://www.h-kodomonoie.com/