การละเล่นนี้ต้องมีผู้เล่นสองฝ่ายและใช้มือในการเสี่ยงทาย ทำให้เกิดความสนุกสนาน ซึ่งประกอบไปด้วย (ค้อน-กรรไกร-กระดาษ)
เรียบเรียงโดย : ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น Jat

ทุกคนทั่วโลกย่อมเคยผ่านช่วงชีวิตวัยเด็กกันมาแล้ว แต่ละประเทศก็มีการคิดค้นรูปแบบการละเล่นที่ทำให้ช่วยฝึกสมองและออกกำลังกายไปพร้อมกัน นอกจากนี้ยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนฝูงอีกด้วย การละเล่นนี้ต้องมีผู้เล่นสองฝ่ายและใช้มือในการเสี่ยงทาย ทำให้เกิดความสนุกสนาน ซึ่งประกอบไปด้วย (ค้อน-กรรไกร-กระดาษ) แต่ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นเค้าจะเรียกว่าอะไรกันนะ…

หิน (กำปั้น) ชนะ กรรไกร
ภาษาญี่ปุ่น หิน 石(i-shi) เรียกว่า グー (guu)

กรรไกร ( ชูนิ้วชี้และนิ้วกลาง) ชนะ กระดาษ
ภาษาญี่ปุ่น กรรไกร 鋏 (ha-sa-mi) เรียกว่า チョキ (chok-ki)

กระดาษ (แบบมือออกไปทั้งหมด) ชนะ หิน
ภาษาญี่ปุ่น กระดาษ 紙 (ka-mi) เรียกว่า パー (paa)
เป่ายิ้งฉุบ เรียกย่อๆ ว่า じゃんけん (Jan-ken) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนซึ่งเรียกว่า ぼけん (Bo-ken) และเริ่มเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในราว ค.ศ.1690 ซึ่งมีลักษณะการเล่นคล้ายๆ กับของประเทศอิตาลีซึ่งก็นำเข้ามาจากจีน โดยการผ่านทางเปอร์เซีย ซึ่งเรียกว่า มอร์ร่า (Morra)*
มาลองเล่นเกมเป่ายิ้งฉุบแบบญี่ปุ่นกันเถอะค่ะ~~

กติกาการเล่น あっちむいてほい!(ac-chi-mui-te-hoi!)
1. | ต้องมีผู้เล่น 2 คน (สมมุติให้เป็น A กับ B)ทั้งสองจะพูดว่า さいしょグー(sai-sho-guu) เพื่อเรียกความพร้อมก่อน |
2. | ผู้เล่นจะต้องยื่นมือออกมาพร้อมกัน และทุกคนจะพูดว่า じゃん- けん – ポン (Jan-ken-pon) พร้อมกัน และเมื่อพูดคำว่า ポン(pon) ก็ต้องยื่นมือออกมาว่าจะเป็น หิน กรรไกร หรือกระดาษ |
3. | ถ้าสมมุติว่า A ชนะ ก็จะพูดว่า あっちむいてほい (ac-chi-mui-te-hoi!) จงหันไปทางนั้น! |
4. | พร้อมกับชี้นิ้วชี้ไปข้างบนหรือข้างล่าง หรือจะชี้นิ้วไปทางซ้ายหรือขวา ขณะเดียวกันผู้เล่น B จะต้องหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งใน 4 ด้านนั้น |
5. | ถ้าผู้เล่น B หันหน้าไปทางเดียวกับทางที่ผู้เล่น A ชี้นิ้ว ก็จะถือว่าแพ้ ถ้าหันไปคนละทาง เกมนั้นจะเสมอกัน |
6. | ถ้าในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองเล่นเป่ายิ้งฉุบออกมาเสมอกัน เช่น (ค้อน-ค้อน) (กรรไกร-กรรไกร) (กระดาษ-กระดาษ) จะพูดว่า あいこ でしょ!(ai-ko-de-sho) เสมอใช่ไหม |
7. | เล่นเกมซ้ำหลายๆ ครั้ง โดยเล่นให้เร็วขึ้นๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน |
บางที่จะมีกฎกติกาการลงโทษสำหรับผู้ที่แพ้ (เป็นที่นิยมเล่นสำหรับผู้ชาย)
1. | しっぺ (shippe) การใช้นิ้วดีดไปที่ข้อมือของผู้แพ้ |
2. | でこぴん (dekopin) การใช้นิ้วดีดไปที่หน้าผากของผู้แพ้ |
3. | ばばチョップ (babachoppu) การใช้สันมือสับไปที่หน้าผากของผู้แพ้ ลักษณะคล้ายคาราเต้# |
การเล่นเกมนี้เหมาะสำหรับการจับฉลากเพื่อเลือกผู้ที่แพ้หรือชนะเป็นวิธีที่ง่ายและยุติธรรมสำหรับการตัดสิน ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็สามารถเล่นได้ ได้ทั้งความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และยังได้มิตรภาพอีกด้วย ลองเล่นกันดูนะค่ะ รับรองสนุกแน่นอน แล้วพบกันใหม่กับเกร็ดความรู้ดีๆมีสาระเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นค่ะ (じゃね。แล้วเจอกันใหม่ค่ะ)
บทความโดย : Azu’Nyan Prae
เรียบเรียงโดย : ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น เจ.เอ.ที. (JAT)
เอื้อเฟื้อโดย :
โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นแจ๊ท Jat (JAT Japanese language school)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
* | หมายถึง ที่มาจากหนังสือ วัฒนธรรมญี่ปุ่น โอคะโมะโทะ โทะมิ (ผู้แต่ง), แสวง จงสุจริตธรรม (ผู้แปล), รศ.ปราณี จงสุจริตธรรม (ผู้แปล). วัฒนธรรมญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม, 2547 |
# | หมายถึง ที่มาจาก http://preeya.japankiku.com/show.php?id=1177
|
http://www.hitsplay.com
http://forum-games.blogspot.com
http://iadth.com/index.php/level1000/slw-9782.html
http://chuymaster.exteen.com/category/Review/page/7
http://www.duckload.us
http://gangtoondaily.blogspot.com/2012/02/blog-post_8900.html
http://twitpaint.com/graffiti/modgiez?page=2