เราไม่เคยเห็นเด็กญี่ปุ่นชักดิ้นชักงอที่พื้นเวลาไม่พอใจ และเมื่อพวกเขาเข้ามหาวิทยาลัย ก็ไม่แบมือขอตังค์พ่อแม่ พวกเขาจะพยายามทำงานพิเศษเลี้ยงชีวิตตัวเอง… รบกวนคนอื่น (รวมถึงพ่อแม่ตัวเอง) ให้น้อยที่สุด ความคิดแบบนี้ทำให้พอกลายเป็นผู้ใหญ่… เขาก็จะพยายามรบกวนขอความช่วยเหลือคนให้น้อยที่สุด
ใกล้วันเด็กแล้วไม่นานมานี้ ผมฟังวิทยุไทยพูดถึงเด็กไทยกับการสร้างบุคลากรที่ยอดเยี่ยมโดยเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น เขาพูดได้น่าคิดครับ…
เขายกตัวอย่างไปที่วงการกีฬาว่าพักหลังมีนักกีฬาสุโก้ย ๆ ของไทยที่อายุน้อย ๆ เพิ่มขึ้นมากมายเช่น ปีโป้ นักเตะทีมชาติไทยดาวรุ่ง (ที่บางคนลือกันว่าจริง ๆ แล้วเป็นน้องชายบัวขาว ยอดนักมวย K1) หรือนักกอล์ฟโปรเม ที่ปีนี้กวาดเงินไปประมาณ 124 ล้านบาท กลายเป็นมนุษย์ต่างดาวไปแล้ว ซึ่งที่น่าสนใจคือ พวกเขาเหล่านี้ฝึกกีฬาตั้งแต่เด็กก็จริง แต่กลับไม่เลิกเล่นไปก่อน
ไม่ใช่แค่วงการกีฬาแต่การที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์บุคลากรชั้นยอดออกมาได้ การฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วง การปลูกฝังในวัยเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ใครๆ ก็รู้ … แต่ที่ผู้เขียนสนใจคือ เขาทำอย่างไรที่จะทำให้เหล่าเด็กๆ เหล่านี้อยู่ในเส้นทางพัฒนาตัวเอง โดยไม่ทิ้งฝันไปกลางทาง?
วินัยคือแกนกลาง
==================================================================
ไม่อยากยอมรับแต่ก็ต้องยอม… ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเจ้าตำรับการสร้างซิสเทมให้เหล่ายุวชนต้องอยู่ในโลกแห่งความเป็นระเบียบวินัย กฎ กติกามารยาท มากกกกกก เวลาผมเห็นเด็ก ๆ เดินทัศนศึกษาตามสถานที่ท่องเที่ยว เด็กคนหนึ่งที่เหมือนนายหมู่จะคอยบอกให้ทุกคนเดินอยู่ในแถว มีผู้หญิงสไตล์ชิซูกะจังคอยจับเวลาว่ากลุ่มเราเดินช้าไปไหม มีคนกางแผนที่ นอกจากนั้นพวกเขาจะไม่ลืมที่จะทักทายผู้คนที่เดินสวน ผ่านไปผ่านมาอย่างผมหรือคุณลุงคุณอาด้วยตามมารยาทเจแปน ทั้งหมดทำกันโดยไม่ได้มีคุณครูอยู่เลยด้วยซ้ำ ‼
หรือแม้แต่ตอนที่ผู้เขียนเอง อยู่ที่ญี่ปุ่นตอนวัยสิบแปด… ผมเข้าร่วมชมรมแบดมินตันของมหาวิทยาลัย… แทบทุกคนต้องมาให้ตรงเวลา เพื่อกระโดดตบ ยืดตัวเอี้ยวซ้ายเอี้ยวขวาก่อนตีแบดกว่าครึ่งชั่วโมง ขึงเน็ตเอง และตอนเล่นเสร็จก็ต้องเก็บอุปกรณ์ พร้อมกับทำความสะอาดโรงยิมเอง.. ทุกอย่างเป็นดั่งระบบเหมือนมีชิปอยู่ในสมองซีลีเบลลั่มอะไรประมาณนั้น มีนะครับคนญี่ปุ่นคิดนอกกรอบ บอกว่าอยากมาสาย ๆ ขี้เกียจบริหารร่างกาย หรืออยากกลับก่อนซ้อมเสร็จจะได้ไม่ต้องทำความสะอาด… แต่คนญี่ปุ่นแบบนี้จะโดนแบนและหายตัวไปอย่างรวดเร็ว
และสิ่งเหล่านี้ก็ยังติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิตด้วยซ้ำ… คนญี่ปุ่นรักษาเวลา ไม่ยอมแซงคิวใคร… ที่ผมทึ่งและชื่นชอบมากก็คือ พวกเขาสามารถสร้างวินัยขึ้นมาได้ และสร้างระบบพัฒนาตัวเองโดยที่ไม่ต้องมีโค้ชหรือผู้ใหญ่อะไรมาฝึกสอนเลย
ซึ่งเรื่องนี้เชื่อว่าคนไทยก็รู้ดีแน่นอน เพราะคำขวัญเด็กไทยตั้งแต่ปี 2499 จนถึงปัจจุบัน เราพูดถึงเรื่องวินัยถึง 18 ครั้งในหกสิบครั้งที่เริ่มมีการตั้งคำขวัญวันเด็ก
ดังนั้นผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่า เด็กไทยรู้เหมือนเด็กญี่ปุ่นว่าวินัยมันสำคัญ
ในสมองเด็กญี่ปุ่นมีคำสอนว่า… “他人に迷惑をかけないように”
==================================================================
แต่พอมองลึกต่อไป การเป็นบุคลากรเจ๋ง ๆ มีอีกหลายเรื่องที่สำคัญ หนึ่งในสิ่งที่สื่อของจีนยกย่องญี่ปุ่นหลายครั้งว่าพ่อแม่คนญี่ปุ่นเน้นสอนเด็กของเขาว่า “อย่าไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น” เราจะเห็นจนชินตาว่าเด็ก ๆ จะถือของเอง เวลาอาหารกลางวันที่โรงเรียน ก็ตักอาหารใส่ถาดหลุมกันเอง ไม่ต้องให้ผู้ใหญ่ดือดร้อนแบกงาน…

เราไม่เคยเห็นเด็กญี่ปุ่นชักดิ้นชักงอที่พื้นเวลาไม่พอใจ และเมื่อพวกเขาเข้ามหาวิทยาลัย ก็ไม่แบมือขอตังค์พ่อแม่ พวกเขาจะพยายามทำงานพิเศษเลี้ยงชีวิตตัวเอง… รบกวนคนอื่น (รวมถึงพ่อแม่ตัวเอง) ให้น้อยที่สุด ความคิดแบบนี้ทำให้พอกลายเป็นผู้ใหญ่… เขาก็จะพยายามรบกวนขอความช่วยเหลือคนให้น้อยที่สุด จะทำเองก่อน
ความคิดที่ถูกปลูกฝังแบบนี้ ทำให้เราจะเห็นคนญี่ปุ่นที่ทำตัวเป็นปัญหาน้อยมาก… พอสังเกตดี ๆ ทำให้ผมคิดได้ว่าเราเห็นมนุษย์ป้าในประเทศญี่ปุ่นน้อยมากกกก เพราะดูท่าแล้วมนุษย์ป้าไม่ได้เกิดจากการกลายร่างตามอายุ แต่น่าจะเกิดจากการถูกสอนมาแต่เด็กมากกว่า !?
ซึ่งผมค่อนข้างเห็นด้วย… เพราะเอาอย่างง่าย ๆ ตั้งแต่เรามีคำขวัญวันเด็กมีเพียงแค่ปี 2554 เท่านั้นที่เรามีการกล่าวถึง การคิดถึงคนอื่นอย่างจริงจัง (คำขวัญวันเด็กปี 2554 โดย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ)
แต่หัวใจที่แท้จริง ที่ทำให้เด็กในวันนี้ ไม่เลิกทำอะไรครึ่ง ๆ กลาง ๆ ..
==================================================================
คือความสนุก !! คนจัดรายการวิทยุพูดถูก… สิ่งสำคัญเหนือวินัย ความฝันหรือการนึกถึงผู้อื่น… คือต้องให้เกิดความสนุก หากใครเคยได้ไปดูเวลาเขาเปิดกิจกรรมคลีนิคฟุตบอลของญี่ปุ่นเขา นักเตะระดับเวิร์ลคลาสจะเล่มเกมส์หยอกล้อกับเด็ก เรียกว่าเน้นฮามากกว่าเน้นบอล หรือหากดูหนังสือเรียน หนังสือของญี่ปุ่น… เขาทำได้ค่อนข้างให้น่าสนใจ ไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกตกอยู่ในห้วงเวลาและบรรยากาศที่จริงจังเกินไป
ซึ่งน่าสนใจมาก… เพราะพวกเราไม่ค่อยมีความคิดว่าการเรียนเป็นเรื่องน่าสนุก… หนังสือเรียนของเราก็ค่อนข้างน่าอ่านมากกกก และที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ…มีเพียงคำขวัญเดียวตลอดกว่าหกสิบปี ที่อยากให้เด็กไทยเรียนให้สนุก !!
ปี 2545 โดย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร – เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
เขียนมาซะเยอะ… แต่ทั้งหมดนี้ผมแค่อยากจะให้ผู้อ่านที่รักทุกท่านจะสนุกกับเรื่องใด ๆ ที่อยากทำตลอดปี 2017นะครับ ขอให้เด็กไทยเก่งวันเก่งคืน !!!
เรื่องแนะนำ :
– LET NENGAJOU GREAT AGAIN!
– ไดอารี่ 2017 คุณค่าที่คุณคู่ควร
– ศิลปะขั้นเทพกับเว็บ Pantip ญี่ปุ่น
– The Meigen คำคม คนทำงานญี่ปุ่น (เท่าที่เจอเอง)
– มารู้จัก บริษัทญี่ปุ่นสีดำกันเถอะ…
อ้างอิง
http://hilight.kapook.com/
https://matome.naver.jp/