Ashikaga Yoshiaki ได้รับถูกเรียกว่า “โชกุนผู้ยากจน” จากประชาชนคนธรรมดา ซึ่งนี่ก็คงเหมือนจะบอกเป็นนัยๆ ว่า Yoshiaki คงไม่ได้รับการเคารพนับถือสักเท่าใด
[box type=”custom” bg=”#F5F5F5″ radius=”10″ border=”#BEBEBE”]แปลโดย วสุ มารุมุระ
การสร้างเครือข่ายโจมตี Nobunaga โดยเหล่าไดเมียวนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ แม้นจะสร้างความเสียหายกับฝ่าย Nobunaga ได้มาก แต่ Nobunaga ก็สามารถตีกองกำลังหลักอย่าง Takeda Shingen ถึงแก่ชีวิต จนเครือข่ายสังหาร Nobunaga ต้องแตกพ่ายไป
ด้วยเหตุนี้ Yoshiaki ลนลานและพยายามระดมกองกำลังที่ปราสาทนิโจ แต่ทว่า Nobunaga กลับแสดงท่าทีนอบน้อม บอกว่าจะส่งตัวลูกสาวมาเป็นตัวประกันเพื่อขอเจรจาสงบศึก
Yoshiaki ยังไม่คงเชื่อใจจึงปฏิเสธข้อเสนอ ทำให้ Nobunaga ต้องบอกว่า “งั้นโอเคเนอะ ที่จะให้เผาเกียวโตะ” (ความรู้สึกประมาณนี้)
ท่าทีของ Nobunaga ถูกบอกต่อกันแพร่หลายในเกียวโตะด้วยเวลาอันรวดเร็ว มีบทบันทึกของบาทหลวง Luís Fróis ที่เล่าถึงสภาพความวุ่นวายของเกียวโตะในยุคสมัยนั้น ประชาชนชาวเกียวโตะต่างหอบข้าวของหลบหนีออกจากเมือง ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ผู้คนเกรงกลัว Nobunaga มากกว่าโชกุน Yoshiaki

ในปีเทนโชที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ Nobunaga ก็เริ่มเคลื่อนกองกำลังบุกเข้าโจมตี โดยเตรียมเส้นทางจากกิฟุ ไปยังทะเลสาบบิวาโกะ ส่วน Yoshiaki ก็พร้อมจะเปิดศึกสงครามจนถึงขั้นยอมไปจับมือกับ Matsunaga Hozahide เหล่ากลุ่มผู้ที่เคยสังหารพี่ชายของตนเอง
หนึ่งเดือนให้หลัง Nobunaga เตรียมยกทัพไปยังเกียวโตะ เพื่อจะถล่ม Yoshiaki เมื่อกองกำลังพร้อมแล้วก็ส่งจดหมายไปยังสำนักราชวัง พร้อมถวายเงิน โดยระบุในจดหมายว่า “จะมีความวุ่นวายนิดหนึ่ง แต่โปรดอย่าได้เป็นห่วงไป”
หากมองจากภายนอกนั้น Yoshiaki มียศตำแหน่งที่สูงกว่า Nobunaga
Nobunaga เลยแสร้งทำเป็นว่าจะขอเจรจาคืนดีกัน แน่นอนว่า Nobunaga คงจะอ่านเกมออกว่า Yoshiaki คงปฏิเสธเป็นแน่แท้
เหล่าราษฎรเมืองเกียวโตะ ผู้เกรงกลัวว่าบ้านเมืองจะถูกเผาจึงเข้าไปขอความเมตตาจาก Nobunaga ซึ่ง Nobunaga ก็ตกปากรับคำว่าจะละเว้นไม่แตะต้อง เกียวโตะตอนใต้
ในทางกลับกัน Nobunaga จะไม่ละเว้นเกียวโตะตอนเหนือที่ซึ่งเหล่าพ่อค้าผู้เป็นพันธมิตรกับรัฐบาลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บาทหลวง Luís Fróis ได้ระบุไว้ในจดหมายว่า “วันพิพากษาสุดท้ายคงได้มาเยือนแล้ว”
ในยุคสมัยนั้น ที่ตั้งราชสำนักอยู่ค่อนไปทางเกียวโตะตอนเหนือ แต่กลับรอดพ้นจากการโดนเผามาได้ นับว่าโชคดีมากๆ ทางจักรพรรดิ Ogimachi (正親町天皇 : おおぎまちてんのう) ได้มีคำสั่งไปทั้งสองฝ่าย (Yoshiaki และ Nobunaga) สงบศึกต่อกัน
แม้นจะหยุดรบไปแล้วก็ตาม แต่ความสงบในบ้านเมืองนั้นก็ไม่ได้ยาวนานสักเท่าใด เพราะรากลึกของปัญหามิได้ถูกแก้ไข
Nobunaga ได้โค่นล้มไดเมียวที่อยู่ฝั่งเดียวกับ Yoshiaki จนทำให้ Yoshiaki ต้องละทิ้งปราสาทนิโจไปกบดานอยู่ที่ปราสาทมะคิชิมะโจ (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมือง Uji) เพื่อที่จะปกป้องตนเอง ทั้งๆ ที่ปราสาทมะคิชิมะโจ ไม่มีความแข็งแรงมากพอที่จะต้านทานการจู่โจมอย่างต่อเนื่องได้
สุดท้ายแล้วปราสาทมะคิชิมะโจก็มิอาจต้านทานการโจมตีของ Nobunaga เหล่าทหารถูกตีพ่าย รอบทิศสี่ด้านถูกเปลวเพลิงกระหน่ำใส่ จนทำให้ Yoshiaki ต้องยกธงขาวและหยิบยื่น Gishin (義尋) ทายาทของตนให้ แต่ด้วยอายุที่ยังเพียงแค่ 1 ขวบเอง Nobunaga ก็ไม่ได้ฆ่าทิ้ง แล้วนำไปฝากไว้กับที่วัดแทน
สำหรับตัว Yoshiaki นั้น Nobunaga ไม่ได้ฆ่าทิ้งเพราะเกรงว่าชาวบ้านจะครหาว่า “Nobunaga เป็นคนต่ำช้าที่ฆ่าโชกุนเพื่อแย่งชิงอำนาจ” จึงนำเอาตัวไปฝากไว้กับไดเมียว Miyoshi Yoshitsugu ที่สนิทชิดเชื้อกัน
ในบทบันทึกได้ระบุอย่างเรียบง่ายไว้ว่า “จะให้คว้านท้องก็คงได้ แต่ขอมอบให้คนอื่นในโลกใบนี้เป็นผู้ตัดสินแล้วกัน” ซึ่งถือเป็นการขับไล่ Yoshiaki ออกจากเกียวโตะ
Yoshiaki ได้รับถูกเรียกว่า “โชกุนผู้ยากจน” จากประชาชนคนธรรมดา ซึ่งนี่ก็คงเหมือนจะบอกเป็นนัยๆ ว่า Yoshiaki คงไม่ได้รับการเคารพนับถือสักเท่าใด
โชกุน Yoshiaki พำนักอาศัยอยู่นอกเมืองเกียวโตะ อยู่อย่างเงียบๆ จนท้ายที่สุดเสียชีวิตในวัย 61 ปี (ปีค.ศ. 1588) ที่เมือง Tomo no ura (鞆の浦) ซึ่งถือว่าอายุยืนพอควรสำหรับคนสมัยนั้น
[box type=”custom” bg=”#F5F5F5″ radius=”10″ border=”#BEBEBE”]แปลโดย วสุ มารุมุระทักทายพูดคุยกับ Wasu ได้ที่ >>> Facebook Wasu’s thought on Japan
เรื่องแนะนำ :
– โชกุน Ashikaga Yoshiaki ตอนที่ 5 : จับมือกับ Nobunaga สู่เกียวโตะ
– โชกุน Ashikaga Yoshiaki ตอนที่ 4: การสร้าง “ถนนสู่เกียวโตะ”
– โชกุน Ashikaga Yoshiaki ตอนที่ 3 : คะคุเค ลาสิกขาเพื่อทวงอำนาจ
– โชกุน Ashikaga Yoshiaki ตอนที่ 2 : หลบหนีไปตั้งหลักที่อิกะ
– โชกุน Ashikaga Yoshiaki ตอนที่ 1 : นักบวชผู้มีนามว่า คะคุเค
– ยุคเทนโชที่บันดาลโดยโนะบุนะกะ
แปลจาก
https://ja.m.wikipedia.org/wiki/足利義昭
https://bushoojapan.com/tomorrow/2015/07/18/54811#i