หลายๆ คนอาจจะไม่รู้คือผมพูดญี่ปุ่นหรืออ่านญี่ปุ่นไม่เก่งเอาซะเลย! (คืออาศัยจำเป็นคำๆ ผ่านการดูรายการแค่นั้นเอง) ดังนั้นจึงเกิดคำถามตามมาว่า “อ้าว! แล้วถ้าไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยจะไปทำงานกับคนญี่ปุ่นได้ไงล่ะ?”
หลังจากที่สัปดาห์ก่อนๆ เขียนเรื่องการทำงานกับคนญี่ปุ่นไปก็มีผลตอบรับกลับมาค่อนข้างดีครับ มีคนเข้ามาถามเป็นจำนวนมากว่าตัวเนื้องานเป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างไร ฯลฯ ผมก็ตอบไปเท่าที่จะตอบได้เพราะว่าเนื้องานที่ผมทำกับคนญี่ปุ่นก็อาจจะไม่ได้ แมสเหมือนสายงานด้านอื่นๆ ก็อาศัยบางเรื่องราวที่คนญี่ปุ่นรอบๆ ตัวเล่าให้ฟังบ้าง โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์หรือเป็นแนวคิดให้กับผู้ที่มาถาม
แต่สิ่งที่ทำให้ผมต้องกลับมานั่งคิดทบทวนที่สุดก็คือตอนที่มีคนเอาภาษาญี่ปุ่น มาให้ช่วยแปลนั่นล่ะครับ เพราะหลายๆ คนอาจจะไม่รู้คือผมพูดญี่ปุ่นหรืออ่านญี่ปุ่นไม่เก่งเอาซะเลย! (คืออาศัยจำเป็นคำๆ ผ่านการดูรายการแค่นั้นเอง) ดังนั้นจึงเกิดคำถามตามมาว่า “อ้าว! แล้วถ้าไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยจะไปทำงานกับคนญี่ปุ่นได้ไงล่ะ?”
นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาครับ อนึ่งตรงนี้ผมอาศัยประสบการณ์ของตนเองมาเล่าจึงอาจเป็นในสายบันเทิงเป็นหลัก หากใครอยากแบ่งปันข้อมูลทางด้านสายงานธุรกิจก็เข้ามาร่วมพูดคุยกันได้นะครับ ^^

ก่อนอื่นเราต้องมาสำรวจตัวเองก่อนครับว่ามีจุดเด่นในเรื่องไหน หรือมีเรื่องอะไรที่อยากจะไปทำกับคนญี่ปุ่น ตรงนี้สำคัญมากๆ คือเราต้องจำไว้เสมอว่าเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกๆเรื่อง เราหาแค่เรื่องเดียวแล้วพยายามศึกษาให้ชำนาญที่สุดไปเลยดีกว่า เราต้องเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนที่ขยันหาความรู้ ในสมัยที่ผมทำนั้น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์อะไรยังไม่มีเลยครับ ผมก็อาศัยเว็บบอร์ดเอานั่นล่ะ แล้วสิ่งที่จะบอกกับคุณว่าการเดินทางของคุณเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วก็คือ การที่คนในคอมมูนิตี้นั้นให้การยอมรับคุณนั่นล่ะ นั่นหมายความว่าสังคมก็เปิดโอกาสให้คุณได้มีทางเดินพอสมควรแล้ว เราต้องต่อยอดจากตรงนั้นให้ได้มากที่สุด คุณต้อง “ก้าวเร็วกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวขึ้นไปเสมอ” ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนคุณรู้สึกได้ว่า ถ้าวันหนึ่งคุณทำงานกับคนญี่ปุ่นได้จริงๆ ข้อมูลหรือความรู้ที่คุณมี จะไม่เป็นสองรองใครอย่างแน่นอน
ทีนี้พอเรามีฐานที่มั่นคงแล้ว เราก็ต้องต่อยอดจากตรงนั้น ต้องเริ่มหูไวตาไวครับ มองดูอีเวนท์หรือประกาศรับสมัครฟรีแลนซ์อะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น ตรงนี้เหมือนการต่อยอดฐานตัวเองให้กว้างมากขึ้น ตรงนี้คือช่วงที่ยากที่สุดครับ เพราะเป็นช่วงที่คุณต้องกล้า ต้องบ้า และต้องเหนื่อยจริงๆ เพราะคุณจะต้องโดดเด่นกว่าคนอื่นให้ได้ อย่างเช่นคุณอาจจะไปประกวดโคฟเวอร์ ประกวดคอสเพลย์จนได้รางวัล หากคุณอยากทำงานสายบันเทิง (แน่นอนต้องเป็นงานใหญ่ๆ) หรือหากเป็นสายงานอื่นๆ เช่นธุรกิจ คุณก็ต้องพยายามหางานฟรีแลนซ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ Portfolio ของเราดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำตรงส่วนนี้ให้มากที่สุด
อย่าลืมว่าคุณต้องเปิดรับและเข้าหาทุกโอกาสที่ผ่านเข้ามา ที่สำคัญ “อย่ากลัวว่ามันจะไม่สำเร็จ” ต่อให้มีโอกาสเพียงแค่นิดเดียวก็ตาม ลองทำงานพวกนี้ให้ได้ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ เพราะตอนนี้คือช่วงที่เราต้องขาย “ความพิเศษของตนเอง” เราไม่รู้ว่าโอกาสสำคัญจะเข้ามาเมื่อไหร่ แต่ขอให้เชื่อว่าถ้าเราทำตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอและเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูก ต้อง โอกาสต้องเข้ามาถึงเราอย่างแน่นอนครับ
ยกตัวอย่างกรณีของตัวผม เอง ผมอยากทำงานในสายมวยปล้ำที่ญี่ปุ่นครับ ผมก็เลยทำอย่างที่ว่ามาเนี่ยแหละ จนกระทั่งมีโอกาสได้รับเลือกให้เป็นผู้บรรยายมวยปล้ำญี่ปุ่น (โดยใช้ความน่าเชื่อถือจากคอมมูนิตี้ที่ว่านั่นเอง) ตอนนั้นเรียนอยู่ปี 2 เรียนหนักมากๆ แต่ผมคิดว่าต้องใช้โอกาสนี้แหละสร้างชื่อให้คนญี่ปุ่นรู้จัก ก็เลยต้องอดทนเพราะมันอาจเป็นโอกาสเดียวของชีวิตก็ได้ (คือถึงเขาจะไม่รู้จัก เราก็สามารถเอาไปใช้อ้างอิงในการสมัครงานได้) แต่ละวันก็ต้องมานั่งทำสคริปต์ และนั่งรถไปบริษัท เป็นแบบนี้ประมาณปีกว่าๆ จนจับพลัดจับพลู ได้ไปติดต่อนำรายการของเขามาออกอากาศในเมืองไทย นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ผมได้ติดต่องานกับคนญี่ปุ่นจนเกิดการทำงานร่วมกันใน ที่สุดครับ

และช่องทางติดต่อที่ผมว่าเวิร์คที่สุดก็คือทวิตเตอร์เนี่ยแหละคือเทพสำหรับการ ติดต่อพูดคุยกับคนญี่ปุ่นเลยครับ เชื่อว่าคนญี่ปุ่นหลายต่อหลายคนจะมีแอคเคาท์เป็นของตนเอง และนั่นแหละ เราต้องใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์ จาก 2 ข้อก่อนหน้านี้
เมื่อเรามีฐานที่สมบูรณ์แล้ว เราต้องเริ่มบุกทะลวงทวิตเตอร์อย่างพองาม โดยในแต่ละบริษัทเนี่ยมันจะมีทวิตเตอร์อยู่หลายอัน อาจจะเป็นตัวออฟฟิเชียลของบริษัทที่เราอยากทำเอง หรืออาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ในนั้น เราต้องใช้เวลาสำรวจสักพักหนึ่งว่ามีแอคเคาท์ไหนบ้างที่มีปฏิสัมพันธ์กับ ประชาชน เราต้องเริ่มจากการบุกตะลุยแอคเคาท์นั้นครับ โดยพื้นฐานแล้วคนญี่ปุ่นจะยินดีหากได้รับการติดต่อจากต่างประเทศ (ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน เวลาคุยในทวิตเตอร์เค้าจะใส่ใจกับพวกต่างประเทศพอสมควร ต่างกับเวลาไปคุยธุรกิจแบบจริงๆ จังๆ ซึ่งเค้าจะเอาต่างประเทศไว้เป็นเรื่องรองๆ)
ทวิตเป็นภาษาอังกฤษ “ด้วยคำง่ายๆ” นะครับ อาจเป็นการแนะนำติชม หรือเล่าให้เขาฟังถึงเรื่องราวของประเด็นนั้นๆ ของประเทศไทย เหมือนแลกเปลี่ยนข้อมูลอะไรกันไป แน่นอนในโปรไฟล์ทวิตเตอร์ของคุณต้องมีข้อมูลอวยตัวเองอยู่ครบนะครับ ตรงนี้ต้องใช้เวลามากๆ (โดยที่ข้อก่อนหน้านี้ก็ต้องทำไปเรื่อยๆนะ) เราอาจเริ่มโดยการเสนอเขาว่า อยากเอาข้อมูลงานของคุณมาแปลไทยจังเลย หรืออะไรเทือกนั้นที่ทำให้เขารู้สึกว่าเราพยายามช่วยเขา (นี่คือเหตุผลที่คุณต้องมี community ที่แข็งแรงเป็นของตนเอง) เราต้องพยายามเกาะสถานการณ์ไปเรื่อยๆ ให้เขารู้สึกว่าเรามีตัวตนอยู่ที่ไทย จากนั้นก็พยายามเสนอตัวเข้าไปเรื่อยๆแต่พองาม มันคงไม่ถึงขนาดต้องด้านได้อายอด แต่มันเหมือนกับว่าเรามั่นใจในศักยภาพของตนเองจริงๆ และคิดว่าจะทำประโยชน์ให้เขาได้ เราเอาตรงนั้นไปเสนอดีกว่า ไม่งั้นจะดูเราเป็นพวกก่อกวนไปเสียเอง
ต่อมาคือการลงทุนขั้นสูง ซึ่งต้องใช้สกิลในการเข้าหาอยู่พอสมควร คือไปบุกในสาขาญี่ปุ่นสมัครงานดื้อๆ หรือเริ่มจากบริษัทสาขาในละแวกใกล้เคียงก่อนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้มาก ขึ้น เพื่อนผมเป็นนักมวยปล้ำและเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยครับ เขาใช้วิธีนี้ เดินทางไปทำธุรกิจในสาขาย่อยก่อน เพราะเขามองว่าการเข้าไปถึงสาขาญี่ปุ่นเลยนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเขาสามารถทำธุรกิจกับสาขาย่อยได้ นั่นหมายความว่าเขาจะอยู่ในสายตาของคนญี่ปุ่นแน่นอน และตอนนี้เขาก็ได้ทำงานกับคนญี่ปุ่นสมใจ โดยที่ยังพูดญี่ปุ่นไม่ได้นั่นแหละ

คือตัวช่วยสำคัญที่สุดของการติดต่อสื่อสารหากคุณพูดญี่ปุ่นไม่ได้ก็คือการคุย ผ่าน LINE ครับ ให้กดแอด account ในรูปด้านบน มันจะอยู่ในหมวดของ official account อันนี้จะเป็นตัวแปลอัตโนมัติ คือเราพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและมันจะแปลเป็นญี่ปุ่น เขาพิมพ์ญี่ปุ่นมันก็จะแปลเป็นอังกฤษ แนะนำให้ใช้คำง่ายๆ ครับเพราะมันก็จะแปลคล้ายๆ google translate น่ะ เอาเป็นว่าพอคุยติดต่อสื่อสารกันรู้เรื่องครับ
นอกจากนี้อย่าลืมที่ จะต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นควบคู่กันไปด้วย เพราะสุดท้ายแล้วการพูดญี่ปุ่นได้ย่อมมีประโยชน์มากกว่าครับ ในญี่ปุ่นมีอยู่หลายสายงานที่ใช้ภาษาอังกฤษคุยกัน แต่สำคัญกว่าคือ “การเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร” อย่างที่เคยเขียนไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะพูดภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นเราต้องทำลายกำแพงความอึดอัดที่อาจเกิดขึ้นรอบๆตัวเราออกไปครับ
สุดท้ายนี้เหนือสิ่งอื่นใดผมขอสรุปว่าโอกาสในการทำงานกับคนญี่ปุ่นโดยที่พูดภาษาของ เขาไม่ได้นั้น เราจำเป็นต้อง “พร้อมทางด้านอื่น” เพื่อนำมาหักล้างกับเรื่องการสื่อสารไป และโอกาสไม่ได้เข้ามาง่ายๆ เราจึงต้องแอคทีฟและพร้อมตลอดเวลาเพื่อที่จะได้ตอบรับทุกข้อเสนออย่างทัน ท่วงทีครับ
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าหรือพูดคุยกันทางทวิตเตอร์ @pumiiiiiiiiii ครับ
#อยากทำงานกับคนญี่ปุ่น แต่พูดญี่ปุ่นไม่ได้ ทำไงดี?