ระหว่างที่ปั่นต้นฉบับอยู่นี้ ผมได้อ่าน STATUS ใน facebook ของน้องคนหนึ่ง ที่มีอาชีพเป็น “Creative” จึงตัดสินใจว่าจะขอหยิบยกเอามาเล่า มาขยาย ให้คุณผู้อ่านได้อ่านกัน STATUS >>> “ในฐานะ แฟน UNIQLO อยากรู้ว่ารู้สึกอย่างไรกับกระแสคลั่งไคล้ในตอนนี้”
ระหว่างที่ปั่นต้นฉบับอยู่นี้ ผมได้อ่าน STATUS ใน facebook ของน้องคนหนึ่ง ที่มีอาชีพเป็น “Creative” จึงตัดสินใจว่าจะขอหยิบยกเอามาเล่า มาขยาย ให้คุณผู้อ่านได้อ่านกัน
STATUS “ในฐานะ แฟน UNIQLO อยากรู้ว่ารู้สึกอย่างไรกับกระแสคลั่งไคล้ในตอนนี้”
comment ที่ 1 :ไร้สาระ
comment ที่ 2 : ฐานะแฟน UNIQLO พี่ว่า ok นะ เขาน้อยดีเผื่อว่าน้อง 2 คน จะชอบ
comment ที่ 3 : ในฐานะแฟนหนัง AV ไม่ชอบใส่เสื้อผ้าอยู่แล้ว
comment ที่ 4 : สร้างกระแส คนไทยไม่ชอบเรียบขนาดนั้น
comment ที่ 5 : ผมแฟนแมนยูครับพี่

ผมรู้จัก UNIQLO จากน้องผู้หญิงคนหนึ่งที่รักการ Shopping ในต่างเเดนซื้อมาฝาก หลังจากนั้นก็เริ่มรู้จัก เเละอีกไม่นานก็เริ่มชอบพอ ขอให้ได้รู้เเค่ว่า ใครจะออกไปนอกประเทศ ก็มีอันได้ฝากซื้อกัน สาเหตุประการเเรก แรก ที่ทําให้ผมรู้สึกชอบ ไม่ใช่ความเรียบง่ายเเต่มันเป็น ความง่ายในการฝากซื้อ มันไม่ฉูดฉาด พลาดมาก็ไม่ผิดเเผกเเตกต่างจากจริตตนสักเท่าใด เเค่บอกเอาผ้ารุ่นบางนะ เพราะถ้าหนาใส่ไม่ได้จริง จริง มันไม่เหมาะกับอากาศบ้านเรา
กลับมาที่ STATUS ด้านบน ทําให้ผมย้อนคิดอะไร ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะ สร้างกระแสคนไทยไม่ชอบเรียบขนาดนั้น ผมว่าด่วนสรุปเกินไป เเต่ก็ต้องขอออกตัวว่าไม่ได้รัก UNIQLO มากมายอะไร เเต่เรื่องของเขาน่าสนใจจริง จริง

UNIQLO เริ่มในปี 1984 และ ค้าค้า ขายขาย มาเรื่อย จนมีร้านค้าไม่มากไม่มายอะไร ก็เเค่ 700 แห่งเห็นจะได้ จนถึงปี 2001 Tadashi Yanaii ประธานบริหารของ UNIQLO ได้ตัดสินใจไปเปิดตลาดใหม่ในทวีปยุโรป แต่ผลลัพธ์ของการตัดสินใจครั้งนี้ UNIQLO เกือบต้องล้มละลาย… ในยุโรปรู้สึกว่า UNIQLO ไม่มีอะไร…….จนกระทั่งในปี 2008 Kashiwa Sato เสนอแผน วัฒนธรรมเจแปนป๊อป UNIQLO จะต้องสะท้อนวัฒนธรรมไฮบริดของญี่ปุ่น มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ไม่จืดชืดหรือ มีคุณภาพแบบอนุรักษ์นิยม อีกต่อไป
เพื่อการเดินทางครั้งใหม่ที่ New York UNIQLO แอบเปิดร้านทดลองสองสามแห่งในนิวเจอร์ซีย์ก่อน เพื่อศึกษาทำความเข้าใจตลาดอเมริกัน และปลุกปั้นทีมครีเอทีฟท้องถิ่นขึ้น รวมถึงขั้นเข้าซื้อกิจการของ Helmut Lang เพื่อผลพวงทางด้าน Creative หรือเเม้กระทั่ง วิธีการ Collaboration กับแบรนด์ดังที่เป็นที่รู้จัก คาแร็กเตอร์การ์ตูน ภาพยนตร์ ศิลปิน เป็นเสื้อ T-Shirt ในร้าน UT หรือ UNIQLO T-Shirt
หลักการสำคัญที่ใช้ก็คือ การเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก โดยใช้เเนวคิดที่ว่าเสื้อยืดก็เป็นสื่ออย่างหนึ่ง แล้วให้โลโก้สินค้าหรือเครื่องหมายของบริษัทมาเป็นส่วนหนึ่งบนเสื้อยืด โดยไม่มีการจ่าย License Fee สำหรับการนำเอาโลโก้หรือโปรดักท์ของบริษัทมาใช้ เพราะถือว่าเป็น Win-Win Situation นักออกแบบชื่อดังที่มาร่วมงานด้วยแล้วมากมาย Terry Richardson, Nobuyoshi Araki, Kai Khüne, Bjorn Copeland จาก Black Dice, Kim Jones, Peter Saville, Gareth Pugh, Solve Sundsbo ..แล้วเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมยังไม่ได้เห็นกับตานะครับ UNIQLO ก็เคย Collaborate กับแบรนด์ ช้าง เหตุผลที่ UNIQLO เลือกแบรนด์ช้างมาอยู่บนเสื้อ ก็เพราะเป็นแบรนด์ที่แสดงออกถึงความเป็นไทยได้ชัดเจน

รวมถึงอินเตอร์แอคทีฟของ Yugo Nakamura (http://yugop.net/info/ นี่เป็นอีกคนที่เราจะกล่าวถึง อดใจรอนะครับ) มาพัฒนาเว็ปไซต์ เป้าหมายของโปรเจ็กท์ คือ การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นทั้งเครื่องมือการตลาดแบบ Viral Marketing ลองเข้าไปชม www.uniqlo.jp/uniqlock/ ที่ใช้ชื่อว่า “Uniqlock” มีคนเข้าดูแล้ว ไม่ตํ่ากว่า 549 ล้านครั้ง และได้พัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ๆ รวมทั้งสิ้น 328 ฉาก ด้วยการใช้ LOCATION 140 แห่งกระจายไปทั่ว 47 จังหวัดของญี่ปุ่น และ 10 เดือนหลังจากปฏิทินดิจิทัลนี้เปิดตัว มีผู้ใช้ดาวน์โหลดลงบน iPhone แล้ว 476,000 ครั้ง และดาวน์โหลดลง iPad 234,800 ครั้ง

ผมว่าสาระขนาดนี้น่าจะเพียงพอที่เราควรจะให้ความสนใจว่าการทําเสื้อผ้าที่ดี ก็สามารถช่วยเหลือประเทศชาติ ในทางเศรษฐกิจได้ขนาดไหน ลองหลับตานึกภาพดูเสื้อผ้าเเบรนด์ไทยมีกี่ยี่ห้อ ให้เราจดจําเเละซื้อใส่ได้ ไม่ติดในราคา ดีไซน์ไม่อ่อนไม่เเก่ ไม่เเย่เกินไป ผมไม่เชื่อว่าคนไทยทําไม่ได้ คิดไม่ได้ ยิ่งในช่วงสอง สามปีที่ผ่านมา การตลาดแบบ Viral Marketing หรือ การตลาดเเบบบอกต่อ เป็นสิ่งที่เราถนัดมาก การพูดไปเรื่อย เรื่อย เเละด่วนสรุป ได้ชักพาเรามาถึงจุดนี้ หรือคุณว่าไม่จริง
เชื่อไหมว่าในซอยบ้านคุณน่าจะมีคนเชื่อ เชื่ออออออออออ ข่าวบอกต่อที่ไม่ได้มีเรื่องจริงอยู่เลย จนกล้า “ล้มอะไรก็ได้” จนลืมไปว่ากําลังล้มเเผ่นดิน ที่เราใช้ “ยืน”
บทความโดย : บำรุงเมือง เฟื่องนคร www.marumura.com