เวลาไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นหลายคนอยากไปสัมผัสรสชาติของขาปูยักษ์ฮอกไกโด เจ้าปูยักษ์ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมทานกันในมื้อสุดหรูหรา เรามาทำความรู้จักกับเจ้าปูยักษ์กันดีกว่า
ไปเที่ยวญี่ปุ่นไปดูอะไร ไปกินอะไร ไปเที่ยวที่ไหน ใครๆ ก็สามารถค้นหาข้อมูลทั่วไปในอินเตอร์เนทได้โดยแบบสบายๆ ฤดูหนาวที่ประเทศญี่ปุ่นอากาศหนาวจัดเลยทีเดียว ยิ่งทางตอนเหนือของประเทศยิ่งหนาวมาก แต่ในความหนาวจัดก็มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อย อากาศหนาวก็หาอะไรอร่อยๆ ใส่ท้องกันดีกว่า เวลาไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นหลายคนอยากไปสัมผัสรสชาติของขาปูยักษ์ฮอกไกโด เจ้าปูยักษ์ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมทานกันในมื้อสุดหรูหรา เรามาทำความรู้จักกับเจ้าปูยักษ์กันดีกว่า
King Crab มีสามสายพันธุ์ สามารถจับได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม เจ้าปูยักษ์พวกนี้จะถูกพบในพื้นที่ต่างๆ ในแถบอลาสก้า สามสายพันธุ์ที่ว่าก็คือ Red King Crab , Blue King Crab และ Brown King Crab (Golden King Crab) นั่นเอง แต่ที่ญี่ปุ่นจะนิยมแค่สองสายพันธุ์ คือ Red King Crab タラバガニ (ทะระบะกานิ) และ Blue King Crab アブラガニ (อะบุระกานิ) โดยที่ ทะระบะกานิ จะเป็นที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งและรองลงมาคือ อะบุระกานิ สองสายพันธุ์นี้มีลักษณะภายนอกคล้ายกันมาก ถ้าไม่สังเกตดีๆ ก็จะไม่รู้เลย สาเหตุที่จำเป็นต้องสังเกตนั้น ก็เพราะว่าด้วยราคาของเจ้าทะระบะกานิ นั้นมันแพงกว่าอะบุระกานินั่นเอง ไม่อย่างนั้นจะโดนหลอกขายเอาง่ายๆ มาดูกันว่าเราควรจะสังเกตความแตกต่างตรงไหนของเจ้าปูยักษ์กันบ้าง

อย่างแรกเลยเวลายังไม่ได้นำมาประกอบอาหาร ทะระบะกานิ ตัวของปูจะมีสีออกน้ำตาลเข้มๆ เกือบดำ ส่วนอะบุระกานิจะมีกระดองและขาสีออกสีน้ำทะเล ก็เลยได้รับฉายา Blue King Crab

จุดที่สองเวลาต้มแล้วสีของ ทะระบะกานิ จะมีสีแดงชัดเจน ก็เลยได้ฉายาว่า Red King Crab ส่วน อะบุระกานิ จะมีสีออกส้มๆ แดงอ่อนๆ ช่วงหน้าของปูก็สั้นยาวไม่เท่ากัน แต่อันนี้ดูยากนะ และจุดที่สังเกตได้ง่ายที่สุด คือ บนส่วนกลางกระดองของเจ้าปูยักษ์มีจุดไม่เหมือนกัน ทะระบะกานิ มี 6 จุด ส่วนอะบุระกานิ มีเพียง 4 จุดเท่านั้น

สุดท้ายก็สังเกตที่ปลายขาปู ทะระบะกานิ จะมีสีแดง ส่วน อะบุระกานิจะมี สีขาว แบบนี้สังเกตได้ง่ายเลยล่ะ
ส่วนนี้สำคัญเลย ราคาของทะระบะกานิ จะแพงกว่าถ้ายังไม่ลดราคา ก็ประมาณตัวละ เจ็ดพันเยนขึ้นไป ส่วนอะบุระกานิ ก็ราคาประมาณ สามพันเยนขึ้นไป ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลย ทางด้านรสชาติเนื้อปูนั้นถ้าสดมากๆ จะมีรสหวานกลมกล่อม ที่นิยมกันก็จะเป็นส่วนของขาปูจะนำไปทำเมนูย่างบ้าง ทำหม้อไฟบ้าง ทำซูชิ ทำซาชิมิ ทำซุปมิโสะราคาจะถูกจะแพงก็ขึ้นอยู่กับร้านอาหารว่าเค้าใช้ ทะระบะกานิ หรือ อะบุระกานิ มาเป็นส่วนประกอบ ถ้าอยากทานปูฮอกไกโดสดๆ ต้องไปที่ เมือง Kushiro ไปหาซื้อที่ตลาดหรือกับชาวประมงที่เมืองนั้นได้ มาดูกันดีกว่าเมื่อนำเจ้าปูยักษ์มาประกอบอาหารแล้วหน้าตาจะน่ารับประทานกันขนาดไหน

ทีนี้ได้ทราบกันแล้ว ก็เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยของเจ้าปูยักษ์ที่ไม่ควรมองข้าม จะได้แยกออกว่าเรากำลังกินเจ้าตัวไหนอยู่ ไม่ต้องมานั่งผิดหวังว่ามาถึงที่แล้วแต่กินผิดตัว น่าเสียดายแย่เลย !!
เกร็ดเล็กเกล็ดน้อย : หลาย คนคงอาจสงสัยว่า ในภาษาญี่ปุ่น Kani ( かに ) แปลว่า ปู ไม่ใช่เหรอ ทำไมถึงเรียกว่า ___Gani ( ガニ) ล่ะ นั่นก็เพราะว่าถ้าหากเป็นปูทั้งหมดโดยรวมไม่ระบุชื่อสายพันธุ์จะใช้คำว่า Kani ( かに ) แต่ถ้าหากกล่าวแยกย่อยไปถึงชื่อสายพันธ์ของปูก็ให้ ใช้ ___ Gani ( ガニ ) ต่อท้ายแทนลงไป อย่างเช่น TarabaGani , AburaGani เป็นต้น ^^
เรื่องแนะนำ :
– สุกี้ยากี้ vs ชาบูชาบู 1 [Sukiyaki vs Shabushabu V.1]
– Okonomiyaki & Monjyayaki
– รีวิวร้านอาหารญี่ปุ่น Nanjya Monjya
– เคล็ด (ไม่) ลับทำงานกับญี่ปุ่น ตอนที่ 9 การรับประทานอาหาร Kaiseki อย่างถูกต้อง