しょうがない [โชกะไน] ช่วยไม่ได้
บางครั้งก็รู้สึกว่า “ช่วยไม่ได้”
คำนี้ในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า
しょうがない
[โชกะไน]ช่วยไม่ได้
ที่มาของคำนี้ มาจากคำว่า
仕様がない
しようがない
[ชิโยกะไน] [ชิโยกะไน] เวลาเป็นภาษาพูดมีหลายพยางค์ ออกเสียงยากเลยรวบเสียงเป็น [โชกะไน]คำว่า 仕様 [ชิโย] แปลว่า “วิธีการ” หรือ “specification”
ในสถานการณ์ที่เราพูดว่า “ช่วยไม่ได้”
เราก็อาจจะใช้คำว่า “ไม่มีหนทาง”
ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า
仕方ない
しかたない
[ชิคะตะไน]ไม่มีหนทาง
仕方 [ชิคะตะ] ก็แปลได้ว่า “หนทาง” “วิธีการ”
ดังนั้นแล้ว
คำว่า 仕様 [ชิโย] = วิธีการ
มีความคล้ายๆกับ
คำว่า 仕方 [ชิคะตะ] = “หนทาง” “วิธีการ”
しょうがない [โชกะไน] ช่วยไม่ได้
“เป็นการพูดรวบๆ” เพื่อบอกว่า “ช่วยไม่ได้”
仕方ない [ชิคะตะไน] ไม่มีหนทาง
เป็นการเน้นว่า ไม่มี”หนทาง”
ตรงนี้เป็นความรู้สึกของผมเองล้วนๆ
ถ้าเป็นสำเนียงคันไซ เขาก็มีการรวบรัดคำว่า
しょうがない [โชกะไน] ช่วยไม่ได้
ให้กลายเป็น
しゃーない [ช้าไน] ช่วยบ่ได้, ช่วยไม่ได้
しゃーない [ช้าไน] เอาไว้ให้เพื่อนคุยกัน หรือ ผู้ใหญ่คุยกับเด็ก นะครับ
เมื่อมีการลองยกสถานการณ์ “ผู้ใหญ่คุยกับเด็ก” เราก็จะเห็นได้ว่า ภาษาญี่ปุ่น หรือ สังคมญี่ปุ่นนั้น ก็ยังมองลำดับความอาวุโสแฝงอยู่ในวิธีการใช้ประโยค
ในฉากหนึ่ง ของการ์ตูนเรื่อง ดาบพิฆาตอสูร ชิโนะบุ บอกกับ อิโนะสุเกะ ว่า
“โชกะไน, โชกะไน”
คงน่าจะแปลได้ว่า
“ช่วยไม่ได้เนอะ, ช่วยไม่ได้เนอะ”
การจะมีคำว่า “เนอะ” ต่อท้ายก็มาจากน้ำเสียงของ ชิโนะบุ
และแฝงความกัดจิกเล็กๆ หรือ การพูดจาแดกดัน ประชดประชัน
ท่านผู้อ่านสามารถชมฉากนี้ได้ในราวๆตั้งแต่เวลาที่ 0:50 ของวิดีโอข้างล่างนี้ แต่แนะนำให้เปิดตั้งแต่แรกเพื่อให้รับรู้ถึงบริบทของเนื้อเรื่อง น้ำเสียงของตัวละครอย่าง ชิโนะบุ https://www.nicovideo.jp/watch/sm35714059
บางครั้งก็รู้สึก และ ปากอยากจะพูดออกมาว่า
“โชกะไน”
“ชิคะตะไน”
“ช้าไน”
แต่นั่นก็คือชีวิตที่ก็ต้องฝ่าฟันกันต่อไป
ทักทายพูดคุยกับวสุ ได้ที่ >>> Facebook Wasu’s thought on Japan
เรื่องแนะนำ :
– エース [เอส] Ace
– 文明 (บุนเม) อารยธรรม
– ความเรียงเรื่องอาจารย์อารากิ
– เกี่ยวกับชื่อภาษาญี่ปุ่นของ “ดาบพิฆาตอสูร”
– 動物農場 [โดบุซึโนโจ] Animal Farm ที่ผู้กำกับ Ghibli ได้รับอิทธิพลจากอนิเมชั่น
#しょうがない [โชกะไน] ช่วยไม่ได้