เมื่อพูดถึงงานกีฬาสีแล้ว แต่ละโรงเรียน แต่ละสี ก็จะมีเพลงประกอบการเชียร์ที่ต่างกันออกไป แต่มีอยู่หนึ่งเพลง ที่สีไหนๆ โรงเรียนไหนๆ ก็ร้องกัน นั่นก็คือ เพลง สามัคคีชุมนุม นั่นเอง (ถึงแม้ส่วนใหญ่จะร้องกันได้แค่ท่อนฮุค กับท่อนฮื่อฮือฮือฮือฮื้อฮือก็เถอะ)
เรื่องโดย : เจ๊เอ๊ด www.marumura.com
“กีฬาสี” อีเวนท์ยอดฮิตในช่วงนี้ที่ใครๆ ก็ต้องพูดถึง! เจ๊เองก็อยากจะเกาะกระแสแอ๊บเด็กย้อนวัย ไปร่วมงานกีฬาสีกับน้องๆวัยใสบ้าง

กีฬาสี
เมื่อพูดถึงงานกีฬาสีแล้ว แต่ละโรงเรียน แต่ละสี ก็จะมีเพลงประกอบการเชียร์ที่ต่างกันออกไป แต่มีอยู่หนึ่งเพลง ที่สีไหนๆ โรงเรียนไหนๆ ก็ร้องกัน นั่นก็คือ เพลง สามัคคีชุมนุม นั่นเอง (ถึงแม้ส่วนใหญ่จะร้องกันได้แค่ท่อนฮุค กับท่อนฮื่อฮือฮือฮือฮื้อฮือก็เถอะ)
แต่เอ๊ะ คอลัมน์ของเจ๊เอ๊ดเนี่ย ก็ต้องพูดถึงญี่ปุ่นสิ ทำไมเล่ามาตั้งหลายบรรทัด ไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวกับญี่ปุ่นเลยล่ะคะ!!
แหมมม เกี่ยวสิคะ ก็จริงๆแล้ว ที่ญี่ปุ่น เค้าก็มีเพลงสามัคคีชุมนุมเหมือนกัน!!
แต่เพลงสามัคคีชุมนุมของญี่ปุ่น เค้าไม่ได้ใช้ในงานกีฬาสีเหมือนไทยเรานะ
ที่ญี่ปุ่น ถ้าเป็นน้องๆ ที่ทำไบต์ในห้าง หรือขาช้อปทั้งหลาย อาจจะได้ยินเพลง เพลงนี้บ่อยๆ ล่ะค่ะ เพราะที่ญี่ปุ่น เค้าเปิดเพลงสามัคคีชุมนุมเพื่อไล่ เอ้ย เพื่อแจ้งเราว่าเวลาช้อปของเรากำลังจดหมดลงแล้วล่ะค่ะ!
เจ๊ก็คิดนะ ว่าทำไมเค้าต้องใช้เพลงสามัคคีชุมนุมในการแจ้งว่าร้านกำลังจะปิดด้วย ก็เลยไปถามจากอากู๋กูเกิ้ลผู้รอบรู้มา ก็พบว่า คำตอบมีหลากหลายทฤษฎีมากๆ ค่ะ
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า เพลงสามัคคีชุมนุมนั้น จริงๆ แล้วมาจากเพลงต้นฉบับที่มีชื่อว่า “ออลด์แลงไซน์” (Auld Lang Syne) ค่ะ เจ้าเพลงออลด์แลงไซน์นี้ มักจะถูกเปิดในงานอำลาต่างๆ เช่น งานส่งท้ายปีเก่า พิธีจบการศึกษา งานอำลา งานเกษียณ หรือแม้กระทั่งงานศพ ในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่คนพูดภาษาอังกฤษ
และที่ประเทศญี่ปุ่น ก็ได้มีการใส่เนื้อร้องภาษาญี่ปุ่นให้กับเพลงออลด์แลงไซน์ และตั้งชื่อเพลงว่า โฮตารุ โนะ ฮิคาริ (แปลเป็นไทยได้ว่า แสงหิ่งห้อย ค่ะ) โดยเพลงโฮตารุ โนะ ฮิคาริ มักใช้เปิดในพิธีจบการศึกษาเช่นกันกับเพลงต้นฉบับ เลยทำให้ตัวเพลงมีภาพลักษณ์ของการจากลา เค้าก็เลยนำมาใช้เป็นสัญญาณในการจากลาคุณลูกค้าก่อนร้านปิด
(ในโรงเรียนภาษาบางโรงเรียน ก็มีสอนเพลงนี้ให้ร้องตอนวันเรียนจบเหมือนกันนะคะ)
แต่บางคนก็บอกว่า เพลงที่เอามาเปิดก่อนร้านปิดเนี่ย ไม่ใช่เพลง โฮตารุ โนะ ฮิคาริ ค่ะ แต่เป็นเพลง วากาเระ โนะ วอรุซึ (วอลซ์แห่งการจากลา) เพลงนี้ เป็นเพลงประกอบฉากหนึ่งที่ดังมากๆในหนังเรื่อง WATERLOO BRIDGE ก็เลยทำให้เพลงฮิตสุดๆ แล้วก็เลยถูกนำมาใช้เปิดเวลาจะปิดร้านค่ะ
และทฤษฎีสุดท้าย ก็ว่ากันง่ายๆว่าสมัยก่อน ร้านค้าต่างๆจะเปิดวิทยุเสียงตามสาย แล้วเจ้าเพลง วากาเระ โนะ วอรุซึ เนี่ย ก็กำลังฮิต เลยทำให้ถูกเอามาเปิดในเสียงตามสายอยู่บ่อยๆ แล้วก็ดั๊นเปิดเอาตอนช่วงจะปิดร้านด้วย เปิดไปเปิดมา คนก็เลยชินค่ะ
สาเหตุที่แท้จริงที่คนญี่ปุ่นเอาเจ้าเพลงสามัคคีชุมนุมมาเปิดตอนช่วงจะปิดร้านนั้นคืออะไร แท้จริงแล้วก็ไม่มีใครทราบแน่ชัดค่ะ เอาเป็นว่า ถ้าเราได้ยินเพลงนี้ตามร้านค้าที่ญี่ปุ่นล่ะก็ ต้องรีบช้อปแล้วล่ะค่ะ ร้านจะปิดแล้วววววววววววววววววววววววววววว
เรื่องโดย : เจ๊เอ๊ด www.marumura.com
พบปะ “เจ๊เอ๊ด” และ #ทีมเจ๊เอ๊ด ได้ที่ >>> www.facebook.com/jeducationfan
ข้อมูลเรียนต่อญี่ปุ่น-เรียนภาษาญี่ปุ่น >>> www.jeducation.com
เรื่องที่เกี่ยวข้อง >>
– บริจาคเลือดที่ญี่ปุ่น
– 5 ข้อแนะนำ ก่อนไปงานแนะแนวญี่ปุ่น
– เพื่อนบอกไปเรียนต่อญี่ปุ่น ไหงเฟสบุ้คมีแต่รูปเที่ยว
– ในวันที่ก๊งเหล้ากับพระ….ญี่ปุ่น
– แต่งกายไปเดินป่าชมใบไม้เปลี่ยนสี สไตล์สาวญี่ปุ่น