ที่ญี่ปุ่นมีการใช้อำนาจในลักษณะนี้ให้ได้ยินอยู่เสมอ เรียกว่า “การใช้อำนาจข่มเหงรังแกในที่ทำงาน” ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “พาวเวอร์ฮาราสเมนต์” ซึ่งที่ผ่านมาเหยื่อที่ได้รับความกดดันดังกล่าวมีการฆ่าตัวตายเป็นข่าวดังหลายครั้ง ได้แก่
ช่วงนี้มีเพื่อนคนญี่ปุ่นของดิฉันเล่าให้ฟังบ่อยๆ ว่ามีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ และผู้บริหารใหม่มักจะตะโกนใส่ลูกน้อง หรือไม่ก็ใช้ถ้อยคำรุนแรงดุด่าอยู่เสมอ ทำให้บรรยากาศในออฟฟิศอึมครึมและมีพนักงานลาออกเป็นจำนวนมาก
ที่ญี่ปุ่นมีการใช้อำนาจในลักษณะนี้ให้ได้ยินอยู่เสมอ เรียกว่า “การใช้อำนาจข่มเหงรังแกในที่ทำงาน” ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “พาวเวอร์ฮาราสเมนต์” หรือที่บางครั้งจะย่อสั้นๆ ว่า “พาวะฮาระ” ซึ่งที่ผ่านมาเหยื่อที่ได้รับความกดดันดังกล่าวมีการฆ่าตัวตายเป็นข่าวดังหลายครั้ง ได้แก่
มัตสึริ ทาคาฮาชิ อายุ 24 ปี ที่เพิ่งเข้าทำงานในบริษัทโฆษณาชื่อดัง เดนสึ เดือนเมษายนปี 2015 หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียวและเปี่ยมไปด้วยความหวังในการทำงาน แต่เธอถูกบังคับให้ต้องทำงานล่วงเวลาถึง 100 ชั่วโมงต่อเดือนและต้องเผชิญความกดดันกดขี่จากเจ้านาย ทำให้ตัดสินใจจบชีวิตด้วยการกระโดดตึกฆ่าตัวตาย คำพูดที่เธอได้รับฟังได้แก่
“การทำงานล่วงเวลายี่สิบกว่าชั่วโมงของเธอไร้ค่าสำหรับบริษัทมาก”
“หน้าตาที่สลึมสลือของเธอในที่ประชุมแสดงให้เห็นว่าเธอจัดการงานไม่ได้”
“อย่ามาทำงานทั้ง ๆ ที่หัวยุ่งและตาแดงก่ำแบบนั้น
มาเอดะ ฮายาโตะ อายุเพียง 20 ปี เพิ่งเข้าทำงานให้กับบริษัทกอนชารอฟฟ์ช็อกโกแล็ต บริษัทผลิตช็อกโกแล็ตท้องถิ่นชื่อดังของโกเบที่มีร้านขายตามสถานีรถไฟของเมืองนี้ เขาถูกเพิ่มชั่วโมงทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ และยังถูกข่มเหงรังแกด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการเพิกเฉยไม่สนใจ หรือการถูกเจ้านายตะคอกใส่ บางครั้งเขาถูกเพิ่มชั่วโมงทำงานมากจนกลายเป็นต้องทำโอทีรวมสูงสุด 105 ชั่วโมงต่อเดือน ในที่สุดมาเอดะก็ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดให้รถไฟทับที่สถานีรถไฟเจอาร์ในโกเบ คำพูดที่เขาโดนพูดบ่อยๆได้แก่
“เธอมันคนไร้ค่า”
“เธอจบแค่มัธยม ไม่มีใครเขาอยากจ้างเธอหรอก”
พาวะฮาระมีทั้งการข่มเหงแบบตรงไปตรงมาและการข่มเหงรังแกทางอารมณ์ความรู้สึก ตัวอย่างของพาวะฮาระ ได้แก่ การตะคอกใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือแสดงอาการรุนแรง เช่น ทุบกำแพง ขว้างปากกา กระชากคอเสื้อ การดูถูกเหยียดหยาม เช่น ใช้ให้เก็บขยะ หรือทำงานสกปรกๆ การว่ากล่าวอย่างรุนแรงต่อหน้าบุคคลอื่นๆ เช่น โง่ อีเดียท ห่วย การจ่ายงานที่ไม่น่าพึงประสงค์หรืองานน่าเบื่อให้ หรือการตัดพวกเขาออกจากกิจกรรมกลุ่มหรือการประชุมต่างๆ
กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2018 มีการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้อำนาจข่มเหงจากผู้บังคับบัญชาถึงกว่า 72,000 เคส
ซึ่งการใช้อำนาจข่มเหงก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมอง และจิตใจ เช่น หลายๆ คนกลายเป็นโรคซึมเศร้า จนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย จึงได้เตรียมการยื่นร่างพระราชบัญญัติการต่อต้านการใช้อำนาจข่มเหงในที่ทำงานต่อรัฐสภาในเร็วๆ นี้ค่ะ
ติดตามอ่านเรื่องราวการทำธุรกิจด้วยใจรักจนประสบความสำเร็จได้ในหนังสือ “Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก” และ หนังสือจิตวิทยาความรักความสัมพันธ์ “เมื่อจิตวิทยา ทำให้คนรักกัน” สามารถพูดคุยสื่อสารกับพิชชารัศมิ์ได้ที่ FB: Life Inspired by พิชชารัศมิ์
เรื่องแนะนำ :
– การจัดการที่ดีของบริการอาหารเช้า ณ โรงแรมญี่ปุ่น
– ซื้อครบ ที่เดียวจบ ซุปเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่น
– ภรรยาญี่ปุ่น ผู้จัดการเงินทั้งหมดในบ้าน
– Omotenashi จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น
– คนแก่ญี่ปุ่นที่ยอมติดคุก ดีกว่าเหงาตาย
– Kamikatsu เมืองปราศจากขยะ