แมตช์สุดท้ายของเขาคือการขึ้นปล้ำใน Michinoku Pro ประเทศญี่ปุ่น จริงๆ จะเรียกว่าขึ้นปล้ำก็ไม่ได้ เพราะระหว่างการเดินทางไปที่เวทีเขาหมดสติอีกครั้ง และหมอบอกว่าเขาจะเดินไม่ได้อีกต่อไป
สวัสดีครับทุกคน พอดีวันนี้มีโอกาสได้อ่านหนังสือของ Dynamite Kid นักมวยปล้ำอังกฤษที่ดังมากๆ ในญี่ปุ่นจบ ตลอดจนได้ฟัง Shoot เก่าๆ ของนักมวยปล้ำในสายเดียวกันอย่าง Hart Family อีกหนึ่งตระกูลมวยปล้ำที่ประสบความสำเร็จไปทั่วโลกและมีจุดเริ่มต้นในญี่ปุ่น เหตุนี้ทำให้เราได้พบกับประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือประเด็นความ “หละหลวม” ในการตรวจสอบนักมวยปล้ำ

ในญี่ปุ่นสมัยก่อนวงการมวยปล้ำญี่ปุ่นนั้นแทบไม่แคร์ปัญหาลิขสิทธิ์กันเลย (แน่นอนว่าน้อยกว่าอเมริกาหรือชาติตะวันตก) ดังนั้นมีนักมวยปล้ำส่วนหนึ่งใช้การขึ้นปล้ำในญี่ปุ่นเป็น reference อ้างอิง เวลาแกไปจดทะเบียนชื่อตัวเองมาไม่ได้บอกใคร ฯลฯ กรณีนี้ทำให้ญี่ปุ่นต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพิ่ม ในกรณีที่แกทำสินค้าของคนนี้มาขายโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ และอีกกรณีสำคัญคือการ “ขโมยชื่อที่คนอื่นตั้ง” มาจดทะเบียน ! ข้อเสียคือสมัยก่อนระบบอินเตอร์เน็ทไม่แข็งแรง คนติดต่อกันยาก ดังนั้นญี่ปุ่นก็ไม่ทันได้ตรวจสอบ อนุญาตให้คนใช้ชื่อของคนอื่นขึ้นปล้ำ ทีนี้มันก็กลายเป็น reference ว่าเราเคยขึ้นงานด้วยชื่อนี้จริงๆ นะ ซึ่งในทางกฏหมายสมัยนั้นก็ต้องปล่อยไปโดยปริยาย
กรณีนี้ถือเป็นกรณีแรกๆ ที่ทำให้ WWE (ค่ายมวยปล้ำอันดับหนึ่งของโลก) หันมาตระหนักเรื่อง Trademark Rights อย่างจริงจัง โดยมี Dymanite Kid ผู้ให้กำเนิดตำนาน The British Bulldog ถือเป็นเหยื่อรายแรกของกรณี Trademark ดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผมขออธิบายกรณีนี้คร่าวๆดังนี้ครับ
ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยหากเด็กรุ่นใหม่จะติดเรียก Davey Boy Smith ว่า Bulldog นั่นเพราะเขาใช้เล่ห์เหลี่ยมและช่องโหว่ทางด้านมิตรภาพและกฏหมายจนได้ชื่อ นี้มาครอบครองอย่างถูกต้อง แต่อาจฟังดูไร้จริยธรรมในระดับหนึ่ง เรื่องราวเกิดขึ้นตั้งแต่ที่คัลแกรี่ ประเทศแคนาดา ที่นั่นไดนาไมท์ คิด เป็นนักมวยปล้ำชั้นนำของ Stampede Wrestling ที่ดำเนินการโดย Stu Hart วันหนึ่งไดนาไมท์ได้รับการติดต่อจากญาติที่อังกฤษ บอกว่าเดวี่ย์ บอย ญาติของเขาได้ฝึกฝนจนเป็นนักมวยปล้ำแล้ว แต่ฝีมือยังไม่เอาไหน (การปล้ำที่อังกฤษยุคนั้นก็ไม่ได้แข็งแรงอะไร ต่อยอดไม่ได้) จึงขอร้องให้ไดนาไมท์พาเดวี่ย์ไปออกทัวร์ด้วย
เหตุนี้เดวี่ย์จึงได้ขึ้นปล้ำที่แคนาดาและญี่ปุ่น แต่ด้วยความที่ฝีมือไม่เอาไหน การปล้ำจึงต้องออกมาในรูปของแทคทีม เดวี่ย์เป็นคนที่ใส่ใจเรื่อง “ความเท่” เป็นหลัก ในขณะที่ไดนาไมท์เป็นคนที่ใส่ใจ “คนดู” เป็นหลัก ดังนั้นเป็นเรื่องยากมากที่จะให้เดวี่ย์เป็นคนโดนกด นอกจากจะมีการพูดคุยในเรื่องส่วนแบ่งค่าเหนื่อย หรือมิฉะนั้นก็จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นการแพ้โดย count out หรือ DQ แทน
มวยปล้ำในสมัยก่อนไม่ใช่แบบปัจจุบัน พวกเขาจะไม่มีทางรู้เลยว่าจะต้องปล้ำกับใคร จนกว่าจะเดินทางมาถึงสนามแข่ง ที่นั่นจะมีบอร์ดแปะไว้ว่าใครจะต้องเจอกับใคร และนักมวยปล้ำจะแทบไม่ได้เตรียมตัวจนกว่าจะขึ้นเวที เขาอาจจะตกลงกันคร่าวๆ ว่าจะให้แมตช์จบอย่างไร แต่ระหว่างแมตช์พวกเขาจะคิดกันสดๆ บนเวทีเลย ดังนั้นถ้าเราดูแมตช์สมัยก่อนอย่างละเอียด จะได้ยินคำพูดระหว่างแมตช์บ่อยๆ เช่นทุ่มสิ ศอกสิ ฯลฯ
อนึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะสมัยก่อนนานมาแล้ว มวยปล้ำจะมีภาษาเฉพาะที่ทำให้พูดแล้วคนดูไม่เข้าใจ แต่เวลาผ่านไปก็ไม่ได้มีการสอน ทำให้นักมวยปล้ำก็พูดภาษาอังกฤษปกติเนี่ยแหละ ดีที่มันไม่ค่อยถ่ายทอดทางทีวี ก็เลยไม่ถูกจับผิดเท่าไหร่
ในที่นี้ เดวี่ย์จะไม่เป็นคนคิดแมตช์เลย เขาจะปล่อยตัวเองสบายๆ แล้วให้ไดนาไมท์คิดอยู่เสมอ โดยมีข้อแม้ต่างๆ มากมาย เป็นเรื่องเศร้าที่สุดท้ายคนที่คิดถึงความเท่ ย่อมได้รับเสียงเชียร์มากกว่าคนที่ทำเพื่อคนดู

ในช่วงแรกที่เดวี่ย์ยังต้องพึ่งพาเขาอยู่ เขาเป็นเด็กที่ไม่เลวเลย ถึงจะไม่ออกความเห็น แต่ก็ไม่สร้างความยากลำบากอะไร แต่พอตนเองเริ่มมีชื่อเสียงขึ้น สิ่งที่เขาทำคือขอแยกห้อง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับไดนาไมท์นอกจากเวลาขึ้นปล้ำเท่านั้น เขายังมักไปเสนอไอเดียประหลาดๆให้วินซ์ (เจ้าของสมาคม WWE ที่มีอำนาจตัดสินใจทุกอย่าง) ด้วย เช่นจะให้ไดนาไมท์โกนหัวแล้วทำแทททูรูปหมาบนหัว ซึ่งแน่นอนว่าวินซ์ชอบอะไรประหลาดๆ แบบนี้ และแน่นอนอีกว่าไดนาไมท์จะไม่ทำ พอไดนาไมท์ปฏิเสธก็จะเกิดความไม่พอใจกับวินซ์และเดวี่ย์ก็จะเข้าไปเห็นด้วย กับวินซ์ เป็นการกีดกันไดนาไมท์ออกไปโดยปริยาย
ความตะขิดตะขวงใจเกิดขึ้นหลังจากไดนาไมท์ติดสเตรอยด์อย่างหนักจนร่างกายแย่ วันหนึ่งเขาเบลอหมดสติและตกจากบันไดชั้นบนสุดไปนอนบาดเจ็บอยู่ข้างล่าง เดวี่ย์ที่อยู่ด้วยกันกลับยืนมองเฉยๆ ไม่ทำอะไรเลยจนคนรอบข้างต้องมาช่วย และเมื่อถึงโรงพยาบาลเดวี่ย์ก็มาหาเขาเพียงครั้งเดียว ครั้งนั้นเขามาพร้อมดอกไม้ช่อโตและสื่อคับคั่ง เขามายืนยิ้มอยู่ข้างเตียงกอดคอถ่ายภาพอย่างอบอุ่น
วันรุ่งขึ้นภาพนี้ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วอเมริกา… และไดนาไมท์ไม่เคยเห็นเขาอีกเลย
ในตอนนั้น The British Bulldog เป็นแชมป์ และวินซ์ต้องการให้ทีมเสียแชมป์ซึ่งไดนาไมท์ขอปฏิเสธ เพราะว่าใช้เวลาไม่นานในการรักษาตัว แต่เดวี่ย์ซึ่งในใจอยากจะปล้ำเดี่ยวอยู่แล้วก็แอบไปคุยกับวินซ์จนวินซ์ ตัดสินใจจัดแมตช์ขึ้น ในวันนั้นไดนาไมท์เดินแทบไม่ได้และบทก็คือเขาจะโดนกระทืบตั้งแต่ตอนเปิดตัว ทำให้เดวี่ย์สู้คนเดียว และแน่นอนทีมแพ้เสียแชมป์ แต่ที่แย่สุดคือการบาดเจ็บสะสมในวันนั้นทำให้เขาเป็นอัมพาตในเวลาต่อมา
สุดท้ายไดนาไมท์ตัดสินใจออกจาก WWF เพื่อย้ายกลับไปปล้ำที่ All Japan ประเทศญี่ปุ่น ตอนนั้นเดวี่ย์ตัดสินใจออกมาด้วยท่ามกลางความสงสัยของไดนาไมท์ที่คิดว่าเด วี่ย์จะต้องโวย เพราะเขาต้องเสียทั้งเงินจำนวนมาก เสียโอกาสออกทีวี เสียชีวิตที่เป็นเหมือนดารา ทุกอย่างที่เดวี่ย์ต้องการ… เพราะอะไรกัน?
วันต่อมาเดวี่ย์บอกว่า “ไม่ต้องห่วง ไดนาไมท์ ! ฉันจดลิขสิทธิ์ชื่อบูลด็อกไว้แล้ว เราใช้ชื่อนี้ได้แม้อยู่นอก WWF” … ตอนนั้นไดนาไมท์ดีใจมากโดยไม่คิดว่าเรื่องจะกลับมาทำร้ายตนเองในอนาคต

เรื่องดำเนินไปด้วยดีจนกระทั่งไดนาไมท์ประสบเหตุการณ์เดิมอีกครั้ง สเตรอยด์ทำให้เขาหมดสภาพและหมดสติจนต้องเข้าโรงพยาบาล ตอนนั้นหมอให้เขาเลิกสเตรอยด์อย่างเด็ดขาด เขาซูบผอมลงมากหายใจไม่ปกติ แต่ก็ต้องขึ้นปล้ำ เขาปล้ำ ALL JAPAN ไม่ได้แล้ว เขาต้องไปปล้ำที่อังกฤษสมาคมเล็กๆ ที่ได้เงินแค่ 500 ดอลลาร์ต่อหนึ่งแมตช์ (สมัย WWF ได้สองหมื่นเลย) และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็คือ
เดวี่ย์ บอย แอบกลับไปเซ็นสัญญากับ WWF ทิ้งไดนาไมท์ไว้เบื้องหลังและ “แจ้งตำรวจจับไดนาไมท์ญาติของตนเอง ข้อหาใช้ชื่อ British Bulldog…”
ไดนาไมท์คิดที่หมดสภาพไปแล้วเพราะร่างกายย่ำแย่ถึงขีดสุดต้องโดนตำรวจจับ ถึงแม้เขาจะแก้ตัวว่าตนเองคือคนสร้าง Bulldog และใช้ชื่อนี้มาทั้งชีวิต แต่มันก็ต้องใช้เงินในการสู้คดี ต้องใช้เวลาในการพยานหลักฐานที่ไม่น่าจำเป็น ทุกคนรู้กันว่าเขาคือ Bulldog แต่กฏหมายบอกว่าเขาเป็นไม่ได้
เงินเก็บเกือบทั้งหมดกลายเป็นรายจ่าย ร่วมกับค่ารักษาพยาบาล ไดนาไมท์มีงานน้อยลงเรื่อยๆ คนเริ่มจ้างเขาเพราะสงสาร เขาเจ็บปวดที่สุดเมื่อต้องคิดว่า “มันถึงเวลาแล้วที่คนมาจ้างเขาเพราะชื่อในอดีต ไม่ใช่เพราะฝีมืออีกต่อไป”…
แมตช์สุดท้ายของเขาคือการขึ้นปล้ำใน Michinoku Pro ประเทศญี่ปุ่น จริงๆ จะเรียกว่าขึ้นปล้ำก็ไม่ได้ เพราะระหว่างการเดินทางไปที่เวทีเขาหมดสติอีกครั้ง และหมอบอกว่าเขาจะเดินไม่ได้อีกต่อไป
ไดนาไมท์ที่ไม่เหลืออะไรต้องเฝ้าดูคนที่เขาสร้างมาทั้งชีวิตอย่างเดวี่ย์บอย เติบโตเป็นนักมวยปล้ำชื่อดัง ต้องดูชื่อ Bulldog ของตัวเองกลายเป็นของคนอื่น
อย่างไรก็ตามวันที่เดวี่ย์เสียชีวิต คนไปร่วมงานก็ไม่ได้เยอะมาก ราวกับทุกคนรู้เรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี และสุดท้ายถึงแม้ทุกอย่างจะจบลงอย่างไม่มีใครคิดว่า Bulldog ที่เจิดจรัสในวันวานจะตายไปหนึ่ง อัมพาตไปหนึ่ง
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า กรณีของสองคนนี้ เป็นบทเรียนของวงการมวยปล้ำทั้งในญี่ปุ่นและอเมริกา ที่แต่ละสมาคมต้องทบทวนกันให้รอบคอบและชัดเจนครับ