ละครญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีแนวเอาใจมนุษย์เงินเดือนเยอะมาก เราลองมาดูละครที่มาเอาใจ “บอส” อย่างเรื่อง “Black President” กันบ้างค่ะ ละครที่จะทำให้เข้าใจมุมมองของบอสมากขึ้น และแนวคิดการทำงานบางอย่างที่เจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารควรเลียนแบบ!
ละครญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีละครแนวเอาใจมนุษย์เงินเดือนเยอะมาก คราวนี้เราลองมาดูละครที่มาเอาใจ “บอส” หรือ “เจ้านาย” อย่างเรื่อง “Black President” กันบ้างค่ะ ละครที่จะมาทำให้เข้าใจมุมมองของบอสมากขึ้น และแนวคิดการทำงานบางอย่างที่เจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารควรเลียนแบบ!

“Black President” เป็นละครที่เล่าถึง “มิตามูระ ยูกิโอะ” (รับบทโดย Sawamura Ikki )ประธานบริษัทคนหนึ่งที่ว่ากันว่าเป็นเจ้าของบริษัทที่เข้าข่ายเป็นองค์กร มืด หรือ “องค์กรสีดำ” บริษัทที่เอารัดเอาเปรียบพนักงาน ใช้งานหนักเกินควร อยู่มาวันหนึ่งมิตามูระตัดสินใจเข้าไปสมัครเรียนมหาวิทยาลัย คณะบริหารธุรกิจ ทั้งๆ ที่เป็นถึงประธานบริษัทแล้ว แต่ก็ยังมาเรียนคณะบริหารธุรกิจในช่วงวัยนี้

เขาก็ได้เข้าเรียนกับอาจารย์ “อากิยาม่า เคียวโกะ” (รับบทโดย Kuroki Meisa ) ครูสาวหน้าใหม่ ที่เพิ่งมาเป็นอาจารย์ได้ไม่นาน เธอต้องมาสอน “มิตามูระ” ที่มีอายุมากกว่าเธอหลายปี แถมมีความเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจอีกต่างหาก เธอและเขามีอุดมการณ์ด้านการบริหารที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง ด้วยรังสีออร่าความชั่วร้ายของมิตามูระที่แผ่ออกมา พร้อมกับเสียงหัวเราะอันร้ายกาจที่ดูเป็นคาแร็กเตอร์ประจำตัว ทำให้อาจารย์เคียวโกะ อยากเขียนหนังสือแฉความชั่วร้ายของเขาให้โลกรับรู้

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมิตามูระต้องเข้าเป็นนักศึกษาปี1 เข้าเรียนเหมือนเด็กทั่วๆ ไป แถมมีเพื่อนวัยใสเข้าชมรม “ภาพยนตร์” กับเพื่อนๆ และรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกิจกรรมของวัยรุ่นที่เขาไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน พร้อมสั่งสอนชีวิตของโลกจริงที่เด็กพวกนั้นไม่เคยได้เรียนรู้ แต่จุดประสงค์ของการกลับมาเรียนมหาวิทยาลัยของมิตามูระยังคงเป็นที่สงสัยของใครหลายคน
ความน่าสนใจของละครญี่ปุ่นเรื่องนี้ก็คือ การนำเสนอมุมมองที่ค่อนข้างขัดแย้งกับความเชื่อของคนในสังคมทั่วๆ ไป อุดมการณ์ของท่านประธานที่ใครได้รู้เข้าเป็นอันต้องปรี๊ดแตก แต่ก็เป็นสิ่งที่มีเหตุผลรองรับอยู่ ถ้าเพื่อนๆ เคยดูเรื่อง “Legal High” แล้วติดใจล่ะก็ เรื่องนี้จะเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรพลาดค่ะ
แม้มิตามูระจะถูกมองว่าเป็น “ประธานดำ” แต่ทุกการกระทำของเขากลับซ่อนเหตุผลบางอย่างที่ลูกจ้างอาจไม่เคยล่วงรู้ ความจริงอีกชุดที่ยังไม่มีใครนึกถึง และความจริงพวกนี้นี่เอง ที่จะมาทำให้เห็นแนวคิดที่น่าเอาอย่างจากท่านประธานคนนี้ค่ะ งั้น… เรามาเรียนรู้วิธีคิด (แบบแผลงๆ) ของประธานองค์กรมืดไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ
1. ประธานบริษัทที่ต่อต้านการสมัครงานที่ระเบียบจัด!
พอนักศึกษาเรียนจบ ต่างก็รีบกันหางานทำ เพื่อให้เจ้านายถูกใจตั้งแต่แรกพบ จึงต้องเตรียมตัวพร้อมกับติวกันให้ดี ทั้งเสื้อผ้า หน้าผม การพูดการจา และบุคลิกที่ต้องเรียบร้อย และถูกกาลเทศะ แต่สำหรับท่านประธานคนนี้พอมองเห็นพวกพนักงานมาสมัครด้วยการใส่สูท ผูกไทมาเหมือนกัน กล่าวคำทักทายที่สุภาพเหมือนกัน วางกระเป๋าในท่าเดียวกัน และต่อด้วยการนั่งลงบนเก้าอี้อย่างเรียบร้อยในแบบเดียวกัน มองดูผิวเผินก็เรียบร้อยดี

แต่ความจริงคือ… : มันเป็นเรื่องที่แปลกมาก! ถ้าเป็นบริษัททั่วๆ ไป คงจะชื่นชม ยินดีปรีดา ถ้าคนเข้ามาสัมภาษณ์งานมีความเรียบร้อยเช่นนี้ แต่ตาประธานมิตามูระกลับมองว่า…
เขาก็จะไม่แสดงธาตุแท้ออกมา ทำให้ไม่มีทางรู้ได้หรอกว่าเขาเป็นคนยังไง…
ถ้าเราทำตามบรรทัดฐานไปซะทุกอย่าง มันก็จะทำให้เราต่างไปจากตัวตนที่แท้จริง …
การเป็นตัวของตัวเอง ทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น!”
ด้วยเหตุนี้ทำให้ประธานคิตามูระต่อต้านพวกสถาบันอบรมเด็กเพื่อสมัครงานเอามากๆ !
2. ทำงานล่วงเวลา แต่ก็ไม่ให้เงินค่าโอที
ข้อนี้ดูจะโหดร้ายสำหรับมนุษย์เงินเดือนเลยนะคะ ทำงานก็เยอะ แต่ดันไม่ได้เงิน เขาว่ากันว่าประธานคนนี้ค่อนข้างเอาแต่ใจมากๆ อยากได้อะไรก็จะสั่งๆ แถมให้เดดไลน์งานที่กระชั้นชิด ทำให้พนักงานบางคนต้องอยู่ทำงานจนดึกดื่น แต่ก็ไม่ได้เงินค่าโอที พฤติกรรมแบบนี้ ทำให้เขาเข้าข่ายประธานดำทันที
แต่ความจริงคือ… : “การจ่ายโอทีเป็นเรื่องประหลาด” อ้าว! ยังไงเนี่ย ประธานมิตามูระบอกว่า การที่ต้องมาจ่ายเงินค่าล่วงเวลาน่ะมันแปลกมากเลย เพราะทำงานกันในเวลางานไม่ทันกันเอง แล้วยังจะมาเอาเงินเพิ่มอีก ทั้งๆ ที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานในเวลางานไม่ทัน แต่ยังได้เงินเพิ่ม มันแปลกไหมล่ะ! และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ…

แม้จะต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำก็ตาม”
สิ่งสำคัญในการทำงานอาจไม่ใช่แค่ผลกำไรอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าเราพร้อมที่จะเจองานหนัก แล้วทำให้มันสำเร็จหรือเปล่า ซึ่งข้อนี้จะตรงกับเรื่อง “Hakan no Hinkaku” ละครที่นำเสนอชีวิตของพนักงานชั่วคราว และมนุษย์เงินเดือนค่ะ ที่เคยบอกว่า “งานล่วงเวลาเป็นงานสำหรับคนที่ทำงานช้า และเงินเดือนไม่พอใช้ มันไม่ได้แสดงถึงความทุ่มเท แต่มันคือความไม่เอาใจใส่งานต่างหาก”
3. ทำงานเหนื่อยมาทั้งปี แต่ก็ไม่ให้โบนัสหรอกนะ
เคยเจอไหมคะ ทำงานหนักมาทั้งปี พอสิ้นปีกลับไม่ได้โบนัสอะไรเลย หรือได้แต่ก็น้อยมาก จนแทบอยากจะบริจาคคืนให้กับบริษัทเอาไปใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟซะดีกว่า พนักงานอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ช่างโหดร้ายเอามากๆ
แต่ความจริงคือ… : พวกคุณสร้างกำไรให้บริษัทได้ไม่ถึงเป้า บริษัทไม่ได้กำไรที่สูงปรี๊ด แล้วจะเอาเงินจากไหนมาให้พวกคุณได้ล่ะ!
4. ผิดนักหรือไงที่ประธานมีอีโก้สูง
เจ้าตาประธานมิตามูระเนี่ย ขึ้นชื่อว่าเป็นประธานที่อีโก้สูงสุดๆ ค่ะ ชอบชี้นิ้วสั่งคนอื่น มีความมั่นอกมั่นใจเกินหน้าเกินตา ไม่ว่าจะทำอะไรก็คิดว่าตัวเองถูกไปหมด เขาว่ากันว่า บริษัทไหนที่มีประธานแบบนี้ ให้ถือซะว่าเป็นบริษัทที่เข้าข่าย “บริษัทสีดำ”

แต่ความจริงคือ…: การมีอีโก้สูงของท่านประธานอาจไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะด้วยความอีโก้สูงของเขานี่แหละ ที่ทำให้สามารถสร้างบริษัทขนาดใหญ่ขึ้นมาได้
ประธานมิตามูระ: ประธานที่มีอีโก้สูงนี่มันผิดมากหรือไง
ผอ.อาเคชิ: มันบ่งบอกได้ว่าความพอใจของคุณสำคัญมากกว่ากว่าความสุขของพนักงานน่ะสิครับ
ประธานมิตามูระ: ถ้า ให้เทียบกับคนอื่น ฉันน่ะมีอีโก้สูงกว่าชาวบ้านเลยล่ะ มากๆ เลยด้วย และมันก็เป็นอีโก้ที่มีพลังมหาศาลมาก จนทำให้ฉันสร้างบริษัทนี้ขึ้นมาได้ยังไงล่ะ!!!
5. พูดจาเอาใจลูกน้องในบางครั้งบางคราว
แม้จะเป็นประธานปากร้าย แต่เขาก็ค้นพบความจริงบางอย่างค่ะว่า จริงๆ แล้ว การพูดจาดีๆ กับพนักงานนี่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเหมือนกัน อาจจะดูเหมือนอ่อนข้อให้ แต่มันดีสำหรับการบริหารบริษัทให้สำเร็จเลยล่ะ
แต่ความจริงก็คือ…

“ต้นทุนการพูดชมพนักงานเป็นศูนย์” การพูดจาดีๆ เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องเสียเงินค่ะ ฉะนั้นแล้วเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพียงแค่คุณรู้จักพูดจาดีๆ กับลูกน้อง ก็ทำให้เขามีกำลังใจในการทำงานให้เราต่อไป… (แต่จริงๆ แล้ว พนักงานอยากให้ประธานมิตามูระรู้จักพูดจาดีๆ ด้วยใจจริง แต่เจ้าตาประธานคนนี้กลับมองอย่างมีเลศนัยว่า ยอมๆ ทำไปเถอะ เพื่อผลกำไรของบริษัท แหม! )
6. มองปัญหาเป็นเรื่องสนุก

คงไม่ใครอยากเจอปัญหาที่ยุ่งยากในขณะทำงาน ปัญหาทำให้การทำงานมีอุปสรรค บางครั้งอาจนำมาซึ่งการขาดรายได้ หรือบางทีเราอาจจะมองคนที่สร้างปัญหาว่าคือคนที่ทำงานแย่
แต่ความจริงคือ… : อีกด้านหนึ่งของปัญหาคือ “ความสนุก” ลอง นึกถึงวันที่ทุกอย่างราบรื่นไปได้ด้วยดี ชีวิตคงจะราบเรียบน่าดู ประธานมิตามูระเลยมองว่า ปัญหาคือความสนุกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ชีวิตไม่น่าเบื่อ แล้วเป็นการท้าทายความสามารถตัวเอง ถ้าเราสามารถแก้ไขได้ เราอาจจะกลายเป็นคนที่มีความสามารถมากกว่าคนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลยก็ เป็นได้!
7. ไม่พอใจ หรือทนไม่ได้ ก็แค่ลาออกไป
พนักงานบางคนอาจเดินเข้ามาในบริษัทด้วยความปรารถนาที่ดี อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ของบริษัทให้ดีขึ้น แต่จริงๆ แล้วมันคงเป็นไปได้ยาก ในเมื่อคนขับเคลื่อนทุกอย่างคือประธานบริษัท หนทางที่ลูกจ้างทำได้คือ “เลือกบริษัทที่เหมาะสมกับเรา” เลือกบริษัทที่มี “อุดมการณ์เดียวกัน” แล้วร่วมกันพัฒนาต่อไป ถ้าเรามีจุดหมายที่ตรงข้ามกับบริษัท มันจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่เราจะทำงานที่นั้นต่อไปได้ ถ้าอยู่ไปแล้วรู้สึกไม่ชอบ ไม่สบายใจกับระบบ หรือรู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับหยาดเหงื่อที่เสียไปก็แค่ “ลาออก” และบริษัทก็ไม่มีสิทธิอะไรที่จะไปรั้งเขาไว้
เพราะความจริงก็คือ …
จนทำให้มีบาดแผลทางจิตใจแล้วลาออกไป
แต่ไม่ได้หมายความชีวิตของเขาจะจบสิ้นนะครับ”
8. เปิดบริษัทเองไม่ใช่เรื่องง่าย
ด้วยการกดขี่ เอารัดเอาเปรียบจากองค์กร และด้วยความฝันอันแรงกล้าของเด็กรุ่นใหม่ ทำให้ใครๆ ก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง บางครั้งเมื่อลองทำอะไรไปแล้วมันสนุก หรือออกมาได้ดี ก็ทำให้อยากจะลงมือสานฝันให้เป็นจริง แต่สำหรับมุมมองของประธานบริษัทแล้ว การจะสร้างบริษัทขึ้นมาเองไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ความสำเร็จแค่เพียงไม่กี่อย่าง และไม่กี่วัน ไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีถึงความสำเร็จตลอดไป
มันอาจสนุก แต่ไม่นานก็เริ่มเบื่อ”
แต่ความจริงอีกข้อก็คือ…:

ตอนที่เธอไม่รู้อะไรเลย การที่เราตื่นเต้นที่ได้ทำอะไรแบบนั้น
ก็สนุกดีไม่ใช่เหรอ…”
การเปิดบริษัทเองก็อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างหนึ่ง และเราต้องมีความกล้ามากพอที่จะประคับประคองสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาให้อยู่ต่อไป
9. หัวหน้า หรือประธานบริษัทคือคนที่เหนื่อยกว่าใคร
แม้เขาจะมีอำนาจในการชี้นิ้วสั่งใครก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาต้องเป็นคนที่สบายกว่าใคร ตัวละครประธานมิตะมูระสะท้อนให้เห็นอีกด้านหนึ่งว่า เขาเป็นประธานที่ทำงานหนัก แม้จะมีอำนาจ ทรัพย์สินเงินทอง แต่ความเสี่ยง ความรับผิดชอบตกอยู่ที่เขาทั้งหมดเช่นกัน พอเลิกงานเสร็จ ก็ไม่ได้เที่ยวเล่น หรือไปสังสรรค์อย่างเดียว แต่เขากลับมาบ้านทำงานต่อ เป็นประธานที่พร้อมจะเหนื่อยไปกับลูกน้อง และบริษัทที่บริหารอยู่ก็เป็นบริษัทที่เขาสร้างมาเองกับมือ (ไม่ใช่ประธานบริษัทที่รับช่วงต่อ) พร้อมทั้งให้ผลตอบแทนลูกน้องอย่างคุ้มค่า (ในเรื่องนี้ บริษัทที่ประธานมิตามูระบริหารอยู่ค่อนข้างให้เงินเดือนสูงค่ะ แม้พนักงานจะไม่พอใจ แต่ก็ไม่ค่อยลาออกกัน เพราะผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง)
เหตุผลของความโหดของประธานคนนี้ ไม่ใช่การเอาแต่ใจ แต่ทำเพื่อการอยู่รอดของบริษัท ถ้าวันไหนที่บริษัทล้มละลาย ไม่ใช่แค่ประธานบริษัทที่สูญเสีย แต่รวมถึงพนักงานทุกคนด้วยที่อาจจะต้องถูกลอยแพ
สิ่งที่จะมาตัดสินว่าบริษัทไหนเป็นบริษัทสีดำ หรือสีขาวนั้นมองได้ยากมาก บางทีความโหดร้ายของประธานบริษัทก็นำมาซึ่งความอยู่รอดก็ได้ แต่บางบริษัทก็อาจจะเป็นการเอาเปรียบพนักงานจริงๆ ก็เลยทำให้อาจารย์เคียวโกะเกิดความไม่แน่ใจเสียแล้วว่า จะเขียนหนังสือแฉเบื้องลึกเบื้องหลังของ “ประธานดำ” คนนี้ต่อหรือไม่ เพราะยิ่งเข้าใกล้ก็เริ่มรู้สึกว่า เขาห่างไกลจากการเป็น “ประธานดำ” มากขึ้นทุกที สุดท้าย ขอปิดท้ายด้วยคำพูดดีๆ จากประธานมิตามูระค่ะ

“อนาคตของพวกนายก็จะเป็นเหมือนปากกาลูกลื่นอยู่ดี เจ้านี่นะ ถูกคาดหวังว่าจะต้องมีหมึกให้เขียนลงบนแผ่นกระดาษ พอหมึกหมดก็จะถูกโยนทิ้งไป พวกนายมีคุณค่ามากกว่าปากกาด้ามนี้ไหม ไม่ว่าหมาหรือแมวต่างก็มีราคากันทั้งนั้น แล้วอะไรคือราคาของพวกนาย ลองเอากลับไปคิดกันดูนะ”
เรื่องแนะนำ :
– ว่าด้วยเรื่องบทคนรับใช้ในละครญี่ปุ่น
– เหตุผลที่ทำให้ Live Action ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
– 7 สาเหตุที่ควรชวนคนสำคัญดู “อามะจัง”
– ความจริง 20 ข้อ เกี่ยวกับละครญี่ปุ่น
– นักแสดงสาวญี่ปุ่นสไตล์แก้มป่อง ไม่วีเชฟก็เป็นนางเอกได้!