“อิงคัง” (印鑑) Inkan หรือ “ฮังโกะ” (はんこ) Hanko เป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นทุกคนและทุกบ้านต้องมี จะบอกว่ามันสำคัญกว่าลายเซ็นก็ไม่เว่อร์เกินไป เพราะคนญี่ปุ่นเขาคิดว่าลายเซ็นปลอมได้ แต่ตราประทับของแต่ละคนมันจะมีรายละเอียดที่ต่างกัน
วันก่อนหรูอี้ไปพิพิธภัณฑ์มา เห็นภาพวาดของจีนสวยมากกกก มากจนตกตะลึง แต่ที่ตะลึงกว่าคือจำนวนของตราประทับที่อยู่บนภาพ เพราะเยอะมากๆๆๆๆ
สืบได้ความมาว่า ใครที่เคยเห็นเจ้าของภาพวาด ก็จะเอาตราประทับชื่อตัวเองปั๊มลงไปบนภาพ มันก็เลยมีตราชื่อคนที่เคยเป็นเจ้าของยั้วเยี้ยไปหมด

พอเห็นตราประทับ หรูอี้เลยนึกถึงละครญี่ปุ่นขึ้นมาได้ เห็นเวลาที่มีคนมาส่งจดหมายหรือพัสดุ บรรดาแม่บ้านนางก็จะเอาตราประทับมาปั๊มแทนการเซ็นลายเซ็น นี่ก็เลยสงสัยว่า เฮ้ย ตราประทับในญี่ปุ่นมันสำคัญขนาดนี้เลยหรอ หรือพวกนางขี้เกียจเซ็น??? เลยต้องไปหาคำตอบจะได้นอนหลับ ฮาาาาา
“อิงคัง” (印鑑) Inkan หรือ “ฮังโกะ” (はんこ) Hanko เป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นทุกคนและทุกบ้านต้องมี จะบอกว่ามันสำคัญกว่าลายเซ็นก็ไม่เว่อร์เกินไป เพราะคนญี่ปุ่นเขาคิดว่าลายเซ็นปลอมได้ แต่ตราประทับของแต่ละคนมันจะมีรายละเอียดที่ต่างกัน
อีกอย่างเวลาที่เขาใช้เนี่ย เขาก็แบ่งประเภทด้วยนะ ไม่ใช่ว่ามีอันเดียวปั๊มมันได้หมด ก็ตามสไตล์คนญี่ปุ่นที่ต้องแบ่งระดับความสำคัญออกเป็นลำดับ จะเรียงความสำคัญจากน้อยไปหามากละกันเนอะ
อันดับแรกสุด ทุกคนต้องมี ก็คือตราชื่อของตัวเอง เอาไว้ใช้ปั๊มอะไรที่เบสิกทั่วไปไม่ซับซ้อน เช่น รับจดหมาย พัสดุ ครูลงคะแนนในใบเกรด รับทราบเอกสารทั่วไป แบบนี้เขาเรียกว่า “มิโตะเมะอิน” (認印)
อันดับต่อมาจะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะใช้เฉพาะกับการไปทำธุรกรรมทางธนาคาร ไม่ว่าจะเปิดบัญชี ฝาก ถอนโอนเงิน แม้แต่ชาวต่างชาติก็ต้องไปทำ เพราะบางธนาคารไม่ยอมให้ใช้ลายเซ็นแทน ตราประทับแบบนี้เรียกว่า “กิงโคอิน” (銀行印)
อันดับสุดท้ายนี่สำคัญสุดเลยจ้า เพราะเป็นตราที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการจดทะเบียนนั่นนู่นนี่ทางกฎหมาย ตราประทับแบบนี้ก็จะต้องเอาไปลงทะเบียนที่เขตก่อน พวกเอกสารกู้บ้าน แต่งงาน หย่า รับรองบุตร ฯลฯ พวกนี้ต้องใช้ตราประทับแบบนี้ เรียกว่า “จิซึอิน” ( 実印)

แบบแรกสุดที่เป็นของส่วนตัวจะทำที่ไหนก็ได้นะจ๊ะ แต่สองอันหลังที่ต้องทำร้านเฉพาะหน่อย เพราะเป็นของสำคัญ จะมาทำง่ายๆ ไม่ได้นะ ราคาค่าทำก็ตามวัสดุและลวดลายเลยจ้ะ
ทีนี้ขอวนกลับมาที่ตราประทับแบบจีนอีกที อันที่จริงสองประเทศนี้ก็มีวัฒนธรรมร่วมกันหลายสิ่ง จีนเองสมัยก่อนก็นิยมให้ตราประทับ แต่การสลักตราประทับของจีนหลักๆ จะแบ่งเป็น 2 แบบ
หนึ่งคือ 阳刻 “หยางเค่อ” คือตัวชื่อจะเป็นตัวนูน พื้นที่ส่วนที่เหลือจะถูกแกะออก สองคือ 阴刻 “อินเค่อ” คือตัวชื่อจะเป็นตัวเว้าเพราะถูกแกะลงไป พื้นที่โดยรอบจะถูกทิ้งไว้ สองแบบนี้เวลาปั๊มออกมา แบบแรกชื่อจะเป็นสีแดง ส่วนแบบหลังชื่อจะเป็นสีขาวแล้วโดยรอบเป็นสีแดงแทน สรุปง่ายๆ ถ้าเห็นสีแดงน้อยคือหยางเค่อ สีแดงเยอะคืออินเค่อ

ทั้งหมดที่ว่าทำให้เราเห็นเลยว่า ตราประทับของทั้งจีนและญี่ปุ่นล้วนแต่มีไว้ใช้ในเรื่องสำคัญ การแสดงตัวตน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ถึงแม้เทคโนโลยีจะก้าวไปไกลแค่ไหน แต่ตราประทับก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ ในจีนยังคงใช้ในงานศิลปะ
ส่วนในญี่ปุ่นยังคงถูกใช้เยอะและสำคัญในทุกๆ งาน เรียกได้ว่าบริการทุกระดับต้องประทับตรากันเลยทีเดียว
เรื่องแนะนำ :
– ทำความรู้จัก Omikuji เซียมซีในแบบฉบับของญี่ปุ่น
– ประกาศเปิดตัวรายการ PRODUCE 101 JAPAN ค้นหากลุ่มไอดอลชาย เจาะตลาดเพลงญี่ปุ่นเตรียมเดบิวต์ปี 2020 นี้!!
– มาทำความรู้จักมาสคอตประจำ Tokyo Olympic และ Paralympic 2020 กันเถอะ
– ทำความรู้จัก 5 เครื่องดนตรีโบราณของประเทศญี่ปุ่น
– 7 เหตุผลยอดฮิตที่ทำให้ไปเที่ยวญี่ปุ่นกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ
ขอบคุณภาพประกอบจาก:
http://www.baidu.com
https://hanko21-tomishiro.com/印鑑・はんこ/外国人印鑑(英語)/