เมื่อปีที่แล้วข้อมูลทีมงานวิจัยบริษัทไมโครซอฟท์ แคนาดา เผยว่าจากเดิมในปี 2000 มนุษย์ (อาสาสมัครในการวิจัย) มีพลังในการจดจ่ออยู่ที่เฉลี่ย 12 วินาที แต่ในปัจจุบันพวกเรามีวิวัฒนาการจนเหลืออยู่ที่ 8 วินาที ซึ่งทำให้ถูกพิพากษ์วิจารณ์ว่ามนุษย์ในปัจจุบันสมาธิสั้นกว่าปลาทอง ที่ยังมีค่าในการจดจ่ออยู่ที่ 9 วินาที
จู่ ๆ ตั้งแต่เข้าปีนี้มา ประเทศญี่ปุ่นเหมือนเป็นคนกินยาผิดตัว หรือมีพลังที่มองไม่เห็นอะไรก็ไม่รู้.. จู่ ๆ เทรนด์การบูชา work hard ของคนญี่ปุ่นก็เหมือนกำลังถูกท้าทายว่าเป็นเรื่องที่ไม่เวิร์ก การกลับดึก ทุ่มเท ทำงานจนกระอักเลือด ไม่ได้เป็นทางออกของยุคดาต้าท่วมโลก แต่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่างหากล่ะ คือประเด็น
แต่สิ่งสำคัญที่สุด ที่ไม่ใช่แค่คนญี่ปุ่นที่ต้องการแต่มวลมนุษยชาติทั้งโลกก็ต้องการคือ work smart ใช้เวลาน้อย ๆ แต่ทำงานได้มาก ๆ… ซึ่งนำไปสู่เรื่องที่นิตยสารญี่ปุ่นฉบับหนึ่งเสนอว่าด้วยเรื่องการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น มันคือเรื่องของพลังในการจดจ่อตั้งใจ – เข้าใจว่าภาษาพุทธคงเรียกว่าพลังสมาธิ (ภาษาญี่ปุ่นเรียก ชูจูเรียวกุ 集中力) ผมอ่านแล้วรู้สึกชอบ เลยขอรวบรวม ตัดต่อเรื่องราวมาแชร์ให้กับผู้อ่านที่รักทุกท่านนะครับ

หนึ่ง โลกใบนี้เจริญมาก… มากจนเรามีเครื่องวัด ความมีสมาธิของมนุษย์ได้แล้ว
เมื่อไม่นานมานี้บริษัทแว่นตาญี่ปุ่นร่วมมือกับทางคณะแพทย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ขึ้นมา เพื่อวัดค่าสมาธิของคนออกมาเป็นตัวเลขได้ !!

สอง โลกตอนนี้มีข้อมูลมากมหาศาล โลกที่ IT ก้าวหน้ามาก… มากจนทำให้คนสมาธิสั้นกว่าปลาทอง‼
และด้วยความก้าวหน้าของโลกใบนี้ เมื่อปีที่แล้วข้อมูลทีมงานวิจัยบริษัทไมโครซอฟท์ แคนาดา เผยว่าจากเดิมในปี 2000 มนุษย์ (อาสาสมัครในการวิจัย) มีพลังในการจดจ่ออยู่ที่เฉลี่ย 12 วินาที แต่ในปัจจุบันพวกเรามีวิวัฒนาการจนเหลืออยู่ที่ 8 วินาที ซึ่งทำให้ถูกพิพากษ์วิจารณ์ว่า มนุษย์ในปัจจุบันสมาธิสั้นกว่าปลาทอง ที่ยังมีค่าในการจดจ่ออยู่ที่ 9 วินาที
ซึ่งทางทีมงานสรุปว่า “ปัญหานี้” ไม่สิ “สิ่งที่ทำให้เกิดสภาพแบบนี้” กับมนุษย์โลกก็คือ การมีข้อมูลหรือสิ่งดึงดูดความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นจากเน็ต Youtube หรือโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก มันทำให้พวกเราไม่สามารถจดจ่อกับอะไรนาน ๆ ได้นั่นเอง

สาม และนี่คือสิ่งที่เราต้องระวัง หากไม่ต้องการให้สมาธิในการจดจ่อของเราแย่ลง
ที่ผมชอบบทความนี้ที่สุดคือ มีพฤติกรรมบางอย่าง ที่บทความบอกว่าอย่าทำถ้าไม่อยากสมาธิสั้น ซึ่งมีหลายข้อที่ทำให้ผมแปลกใจ และเชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ ท่านคงสะดุดเช่นกัน อาทิเช่น
“การเอา to do list มาอยู่ในที่ที่เราเห็นตลอดเวลา”
เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านมักจะทำแบบนี้ เอาโพสต์อิท งานที่จะทำมาแปะไว้รอบๆ หน้าจอคอมตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ดูน่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่งานวิจัยญี่ปุ่นกับบอกว่า จริง ๆ แล้วสมองของเราจดจ่องานได้ทีละเรื่อง ดังนั้นการทำแบบนี้คือจะทำให้พลังสมาธิของเราโดนดึงไป วิธีที่ดีกว่านี้คือ แปะพวก list งานไว้ในลิ้นชัก ที่เราเปิดมาเห็นง่าย ๆ แทน
“เช็คเมล์ตอนเช้าเป็นงานแรก”
เพราะจากงานวิจัยพลังสมองและความจำของเราจะพีคสุดตอนตื่นนอนสามชั่วโมง ดังนั้นงานแรก ๆ ที่ควรทำตอนนั้นควรจะเป็นงานที่ต้องเอาความรู้ ความคิดมาก ๆ การเอาทรัพยากรสมองที่แทบจะดีที่สุดมาเช็คเมล์ถือว่าไม่คุ้ม ซึ่งบทความแนะนำว่า ลองทำงานที่ใช้พลังสมองมาก ๆ ก่อนสักงานหนึ่ง แล้วมาเช็คเมล์สักสาย ๆ ก็น่าจะไม่เลว
“การอ่านหนังสือบนเตียง”
ข้อนี้น่าสนใจ เพราะงานวิจัยพบว่า สมองคนเรามีมีความมหัศจรรย์อย่างนึง สมองมักจะจดจำสถานที่ คู่กับกิจกรรมหนึ่ง ๆ เป็นหลักไว้ก่อนเสมอ เช่น โต๊ะอาหาร =การกินข้าว สนาม=ที่ออกกำลังกาย โรงพยาบาล =ที่รักษาคนป่วย (ถึงเป็นที่มาของปัญหาเชาว์ว่า ทำไมชายคนนึงโทรศัพท์ไปหาคุณแม่ ปลายสายบอกว่าอยู่ในห้องผ่าตัด แต่ชายคนนั้นไม่ตกใจเลย คำตอบคือ เพราะแม่เขาเป็นหมอ … นี่เป็นตัวอย่างว่าสมองจะจำสถานที่นึงผูกกับ กิจกรรมหนึ่ง ๆ ไว้ก่อนเสมอ)
ซึ่งเป็นสาเหตุว่าสมองจะเซตไว้ก่อนว่าเตียงคือไว้นอน การอ่านหนังสือที่เตียงคือการทำกิจกรรมที่ขัดแย้งกับสิ่งที่สมองเคยเซตไว้ ดังนั้นจะทำให้พลังสมาธิไม่ได้ดีเท่ากับ หันหน้าไปที่โต๊ะทำงาน แล้วอ่านจริง ๆ จัง ๆ
เอาล่ะครับวันนี้เอาประมาณนี้ละกัน หวังว่าผู้อ่านชอบและหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ทำให้พลังสมาธิของผู้อ่าน มวลมนุษยชาติกลับมาเข้มแข็งชนะปลาทองอีกครั้ง!
เรื่องแนะนำ :
– Quiz เด็กประถมฮาเฮ (มีรางวัล)
– ข้อคิดกับสถิติมาราธอนที่ช้าที่สุดในโลก
– สามเรื่องที่น่าจะมีสาระ (แต่ไม่ต้องรู้ก็ได้แค่อยากบอก) เกี่ยวกับหนัง AV ญี่ปุ่น Part 2.9
– สามเรื่องที่น่าจะมีสาระ (แต่ไม่ต้องรู้ก็ได้แค่อยากบอก) เกี่ยวกับหนัง AV ญี่ปุ่น Part2
– สามเรื่องที่น่าจะมีสาระ (แต่ไม่ต้องรู้ก็ได้แค่อยากบอก) เกี่ยวกับหนัง AV ญี่ปุ่น Part1