![]() |
พลเอกบัญชร ชวาลศิลป์ เป็นทหารอาชีพเต็มตัวที่เริ่มงานเขียนสู่สาธารณะตั้งแต่ปี 2524 ด้วยเรื่องราวของชีวิตนักเรียนนายร้อยในชุด “สอยดาวมาร้อยบ่า” ซึ่งต่อมากลายเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ “นายร้อยสอยดาว” ปัจจุบันมีงานเขียนประจำอยู่ในสยามรัฐทั้งรายวันและรายสัปดาห์ และยังเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์และวิทยุอีกด้วย
เกษียณอายุราชการได้หลายปีแล้ว เลือกที่จะใช้ชีวิตสบายๆ จึงมีเวลาเต็มที่สำหรับการใช้ชีวิตกลางแจ้งตามสไตล์ที่ชื่นชอบ รวมทั้งยังคงมีเวลาให้กับการอ่าน ดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งปฏิบัติมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ระยะหลังๆ ให้ความสนใจและค้นคว้าเรื่องราวในอดีตตามประสาคนสูงวัย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์สงครามจึงกลายเป็นวัตถุดิบที่อยากนำมาแลกเปลี่ยนแง่มุมความคิดกับทุกท่าน |
พบกันได้ทุกวันศุกร์เวลา 12.00 น.ถึง 13.30 น.ทาง FM 101 ในรายการ “เสธ.บัญชร ชวนคุย” ที่จัดคู่กับนฤนารท พระปัญญา
ติดตามคอลัมน์ รอยล้อประวัติศาสตร์ ได้ทุกเช้าวันพุธ ใน www.marumura.com

ในการประชุมวางแผนของรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ ได้กำหนดแผนการปฏิบัติต่อประเทศไทยดังนี้
ไทยรู้ตัวก่อนแล้ว
ค่ายวชิราวุธสมัยนั้นเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ ๖ ซึ่งรับผิดชอบภาคใต้ทั้งหมดตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมา มีพลตรี หลวงเสนาณรงค์ เป็นผู้บัญชาการ มีหน่วยรบหลัก ๒ กองพันคือ กองพันทหารราบที่ ๓๙ และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๕ ซึ่งปัจจุบันทั้งสองกองพันนี้ก็ยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมครั้งญี่ปุ่นบุกเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ คือกองพันทหารราบอยู่ด้านติดกับตัวเมือง และกองพันทหารปืนใหญ่อยู่ทางด้านติดกับคลองท่าแพ
๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นเคลื่อนย้ายกำลังทหารเข้ายึดฐานทัพเรือที่อ่าวคัมรานห์และสนามบินในอินโดจีนฝรั่งเศสตอนใต้ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองโกตาบารูของมลายูวัดทางตรงผ่านอ่าวไทยเพียง ๔๘๐ กิโลเมตรเท่านั้น ทำให้สถานการณ์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระหว่างญี่ปุ่นกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยขณะนั้นจึงคาดการณ์แบบฟันธงว่าญี่ปุ่นจะต้องเตรียมแผนบุกเข้ายึดมลายูและสิงคโปร์ต่อไปอย่างแน่นอน…ด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังผ่านดินแดนของไทย
คนไทยเตรียมสู้
เมื่อสถานการณ์ทวีความตึงเครียดอย่างถึงที่สุดเช่นนี้ รัฐบาลไทยจึงได้ออกพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่ของคนไทยในเวลารบขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญว่าคนไทยทุกคนต้องต่อสู้ข้าศึกทุกวิถีทางตามคำสั่งของทางราชการ หากตกอยู่ในฐานะที่ไม่อาจทราบคำสั่งของรัฐบาลได้ ก็ต้องต่อต้านศัตรูตามแต่จะทำได้จนถึงที่สุด ถ้าหมดหนทางต่อสู้ก็ให้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเป็นประโยชน์แก่ข้าศึก
ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันกองทัพบกได้เรียกประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงและแจ้งให้ทราบว่ากองทัพบกประมาณสถานการณ์แล้วเห็นว่า ประเทศไทยอาจจะถูกรุกรานจากข้าศึกในไม่ช้านี้ และข้าศึกดังกล่าวจะต้องเป็นญี่ปุ่นอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๖ จึงได้สั่งให้มีการตรวจภูมิประเทศพื้นที่ชายทะเลภาคใต้เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งมีหน่วยทหารตั้งอยู่ และได้แต่งตั้งคณะตรวจภูมิประเทศขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากกองพันต่างๆ โดยมี พันเอก หลวงสวัสดิกลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ ๖ เป็นหัวหน้าคณะ
ติดตามคอลัมน์ รอยล้อประวัติศาสตร์ ได้ทุกเช้าวันพฤหัสบดี ใน www.marumura.com